ชาวหมู่บ้านพิบูลย์เดือด! เจอลูกเล่นเจ้าหน้าที่ยื้อเวลา ถูกบีบหนักถึงยอมให้เขตทำประชาพิจารณ์ ก่อนนำเรื่องกลับทบทวนการย้ายป้ายและศาลาที่พักรถผู้โดยสาร ทั้งที่เสียงคัดค้านมีมากกว่าเสียงสนับสนุน เข้าข่ายละเว้นปฏิบัติหน้าที่

เมื่อวันที่ 8 ส.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงาน จากกรณีที่ชาวบ้านพิบูลย์ บางซื่อ ถนนพิบูลย์สงคราม เขตบางซื่อ แจ้งร้องทุกข์ผ่านสำนักจราจรขนส่ง จากการ ย้ายป้ายหยุดรถโดยสาร และศาลาที่พักผู้โดยสารบริเวณหน้าหมู่บ้านพิบูลย์ บางซื่อ ทำให้ประชาชน ผู้ใช้รถ หรือสร้าง หรือเป็นประจำ ได้รับความ เดือดร้อน ไม่สะดวกต่อการเดินทาง ในการสัญจรไปมา ในการทำงานในแต่ละวัน ซึ่งป้าย และศาลที่พักผู้โดยสารนั้นมีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และอำนวยความสะดวกต่อประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ที่สัญจรไปมา กระทั่งชาวหมู่บ้านพิบูลย์ บางซื่อ นอกจากนี้ยังได้ประสานขอความช่วยเหลือจากส.ส.และสก.ในพื้นที่ โดยได้มีการนัดหมายตัวแทนหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องลงไปดูพื้นที่ผ่านนายบรรหารเจ้าหน้าที่กรมขนส่งทางบกที่อ้างว่าการย้ายป้ายและศาลาที่พักดำเนินการตามมติคณะอนุกรรมการฯ

ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 8 ส.ค.67 นาวาเอกยงยุทธ เกื้อกิจ  ตัวแทนหมู่บ้านพิบูลย์ บางซื่อ กล่าวว่า ในวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา นายบรรหารเจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งทางบก  เจ้าหน้าที่จากสำนักงานจราจรและขนส่งกรุงเทพฯ  เจ้าหน้าที่จาก สน.ประชาชื่น (สารวัตรจราจร) เจ้าหน้าที่จากสำนักงานฝ่ายโยธา เขตบางซื่อ ส.ส.พัชรินทร์ งามวงศ์ และทีมงาน สก.ภัทราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย และทีมงานคณะกรรมการหมู่บ้าน พร้อมด้วยสมาชิกหมู่บ้านพิบูลย์ บางซื่อ จำนวนมาก ได้ร่วมกันรับฟังคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ได้รับฟังความคิดเห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องความปลอดภัย จุดอับ และสถานที่เสี่ยงในการใช้เป็นพื้นที่ก่อเหตุอาชญากรรม ส.ส.และสก. ได้ร่วมกันตรวจสอบสถานที่จริง  ซึ่งมีความเห็นพ้องกับประชาชนว่าสถานที่ป้ายรถประจำทางและศาลาพักผู้โดยสาร ณ จุดใหม่ ไม่มีความปลอดภัยจริง

ทางตัวแทนชาวบ้านจึงขอให้กรมการขนส่งทางบกย้ายป้ายหยุดรถประจำทางกลับที่เดิม ซึ่งเจ้าหน้าที่โดยนายบรรหารรับปากกับชาวบ้านต่อหน้าส.ส.  ,สก. และคณะกรรมการหมู่บ้าน ว่าจะดำเนินการภายใน 3 วัน ประชาชนมีความพอใจในการให้ความช่วยเหลือและเข้าใจความเดือดร้อนของประชาชนจึงสลายตัวและเดินทางกลับ ตนจึงมอบหนังสือคัดค้านการย้ายป้ายรถโดยสารประจำทางแห่งใหม่กลับมาที่เดิม พร้อมรายชื่อผู้คัดค้านจำนวน 279 ราย และเอกสารประกอบให้กับผู้แทนหน่วยงาน 3 หน่วยงาน คือ 1. กองขนส่ง กรมการขนส่งทางบก  2. สำนักงานจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร 3. ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตบางซื่อ 

ต่อมา วันที่ 30 พ.ค. นายบรรหารได้โทร.ประสานกับตนว่าได้นำเรื่องร้องเรียนปรึกษากับทางผู้อำนวยการกองขนส่งและแจ้งว่า ผอ.ให้เชิญคณะอนุกรรมการประชุม ในวันที่ 6 มิ.ย.ก่อน เพื่อให้คณะอนุกรรมการฯตัดสินใจ ต่อมาได้มีป้ายสีแดงมาติดข้างป้ายคัดค้านของหมู่บ้านว่า มีผู้ขอบคุณในการย้ายป้ายโดยสารรถประจำทาง เพื่อสร้างสถานการณ์ให้เห็นว่ามีผู้เห็นด้วยจะได้เกิดเป็นข้อขัดแย้งและมีการล่ารายชื่อประชาชน เพื่อให้เห็นว่ามีผู้สนับสนุนการย้ายป้ายรถประจำทาง ทำให้เกิดความสับสนของคนในชุมชนและเป็นการสร้างกลยุทธ์ ในเรื่องการแย่งชิงมวลชน คณะกรรมการหมู่บ้านจึงมีการประชุมและจัดทำป้ายยืนยันการคัดค้านอีก 1 ป้าย เพื่อเป็นการแสดงเจตนาว่าคนในหมู่บ้านคัดค้านและเพื่อไม่ให้สมาชิกในหมู่บ้านเกิดความสับสน และจากสถานการณ์ดังกล่าว

จากนั้นวันที่ 6 มิ.ย. นายบรรหารได้โทรศัพท์มาแจ้งตนว่าคณะอนุกรรมการฯ มีมติให้เขตบางซื่อรับไปทำประชาพิจารณ์ ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของตน  ในที่ประชุม ผอ.กองขนส่ง  เป็นประธาน ในที่ประชุมทราบชื่อ นายปิยะโยมา นายบรรหารได้มีการเสนอรายชื่อผู้คัดค้านการย้ายป้ายหยุดรถโดยสารประจำทางและศาลาพักผู้โดยสาร จำนวน 277 ราย  และมีรายชื่อจากฝั่งผู้ร้องสนับสนุนการย้ายจำนวน 42 ราย ตามระบอบประชาธิปไตย เสียงคัดค้านการย้ายป้ายรถประจำทางและศาลาพักผู้โดยสาร มีมากกว่าเสียงสนับสนุน  คณะอนุกรรมการฯ สามารถมีมติให้เสียงข้างมากเป็นข้อยุติให้ย้ายป้ายรถโดยสารประจำทางและศาลาพักผู้โดยสารกลับมายังที่เดิมได้

อีกทั้งยังลดความเสี่ยงของการเกิดอาชญากรรมให้กับประชาชน แล้วค่อยให้เขตบางซื่อ ดำเนินการทำประชาพิจารณ์แบบคู่ขนานก็สามารถจะทำได้ แต่ประธานและคณะอนุกรรมการฯ มิได้ใส่ใจเรื่องของประชาชนและความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก โดยละเลยการทำประชาพิจารณ์และขอความเห็นของประชาชนก่อนทำการย้าย  แต่พอมีผู้คัดค้านและได้ย้ายป้ายรถโดยสารประจำทางและศาลาที่พักผู้โดยสารกลับที่เดิมกลับมีมติให้มีการทำประชาพิจารณ์ก่อน 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่และหน่วยงานจงใจละเลยการปฏิบัติหน้าที่และไม่เห็นความสำคัญของประชาชน ในเรื่องความเดือดร้อนและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตนจึงขอให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคุ้มครองสิทธิ์ในการย้ายป้ายรถโดยสารประจำทางหน้าหมู่บ้านพิบูลย์บางซื่อ ให้กลับมาอยู่ที่เดิม