ชาวหมู่บ้านพิบูลย์บางซื่อ สวดยับเจ้าหน้าที่ไฟเขียวย้ายป้าย-ศาลาที่พักผู้โดยสาร อ้างมติอนุกรรมการฯ ให้รื้อย้ายตามที่มีผู้ร้องเรียน อ้างที่ตั้งเก่าทำจราจรติดขัด
จากกรณีที่ชาวหมู่บ้านพิบูลย์ บางซื่อ ถนนพิบูลย์สงคราม เขตบางซื่อ กทม. แจ้งร้องทุกข์ผ่านสำนักจราจรขนส่ง หว้า ชาวบ้านได้รับการร้องทุกข์ จัดการ ย้ายป้ายหยุดรถโดยสาร และศาลาที่พักผู้โดยสารบริเวณหน้าหมู่บ้านพิบูลย์ บางซื่อ ทำให้ประชาชน ผู้ใช้รถ หรือสร้าง หรือเป็นประจำ ได้รับความ เดือดร้อน ไม่สะดวกต่อการเดินทาง ในการสัญจรไปมา ในการทำงานในแต่ละวัน ซึ่งป้ายและศาลที่พักผู้โดยสารมีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และอำนวยความสะดวกต่อประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ที่สัญจรไปมา ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 ส.ค.67 นางธนัญชิดา นุชเสริม อายุ 35 ปี อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว ที่พักอาศัยในหมู่บ้านพิบูลย์ บางซื่อ เปิดเผยว่า เรื่องเกิดขึ้นประมาณเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ตอนเช้าออกมารอขึ้นรถเมล์ พบว่ามีการเอาเชือกสีขาว-แดงมาขึงไว้ ทีแรกนึกว่าประปาจะมาซ่อมท่อประปาแตก แต่ไม่ได้ทำอะไร แต่ปรากฏว่าพอเวลาผ่านไป 3 วัน ป้ายรถเมล์ได้ย้ายมาอยู่ที่ใหม่ ทาง กทม.ก็ไม่ได้ทำมีการจ้างบริษัทเอกชนมาย้าย เขาทำเฉพาะแต่ช่วงกลางคืน ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน นักเรียนกับคนทำงานตอนเช้า ออกมายืนรอรถเมล์ ก็ต้องมายืนขอบฟุตบาท เกรงว่าจะได้รับอันตราย ส่วนตอนเย็นชาวบ้านมายืนรอรถเมล์ก็อันตราย เพราะจุดที่ยืนรอมีเสาตอม่อของสะพานลอยคนข้ามบัง หากเกิดมีเหตุการณ์อันตราย ก็ไม่มีใครเห็นหรือช่วยได้
นาวาเอกยงยุทธ เกื้อกิจ กล่าวว่า วันนั้นได้กลับจากไปธุระและเดินทางกลับที่พักภายในหมู่บ้านพิบูลย์พบว่าบริเวณป้ายรถประจำทางและศาลาที่พักผู้โดยสารหน้าหมู่บ้าน มีการนำแถบที่ใช้ในการกั้นพื้นที่มากั้นไว้โดยรอบ ที่แรกคิดว่ากรุงเทพมหานครคงจะดำเนินการปรับปรุงทางเท้าในบริเวณดังกล่าว แต่ต่อมาในไลน์กลุ่มของหมู่บ้านฯ สมาชิกหมู่บ้านที่อยู่ในกลุ่มไลน์ ได้มีการสอบถามเป็นวงกว้าง ถึงเหตุการณ์ที่มีการนำแถบมากั้นที่บริเวณป้ายหยุดรถประจำทางดังกล่าว
ต่อมาวันที่ 20 พ.ค. ได้รับแจ้งจากในกลุ่มไลน์ว่าศาลาที่พักผู้โดยสารได้ถูกย้ายไปยังจุดใหม่ ด้านหน้าตอม่อสะพานลอย ซึ่งเป็นด้านหลังของบันไดทางลงสะพานลอย ห่างจากที่เก่าออกไปประมาณ 30-40 เมตร จากตำแหน่งเดิม ทั้งนี้ตำแหน่งเดิมบันไดสะพานลอย จะลงมาที่ป้ายหยุดรถและศาลารอรถประจำทางพอดี ไม่ต้องเดินอ้อมบันไดและตอม่อ เพื่อไปยังป้ายหยุดรถและศาลารอรถ และในวันเดียวกันแฟนของตนขับรถไปส่งบุตรชายที่สถานีรถไฟฟ้าบางอ้อและกลับเข้าหมู่บ้าน ก็ได้บอกกับตนว่าศาลาที่พักผู้โดยสารถูกย้ายออกจากตำแหน่งเดิม ตนจึงได้โทรศัพท์สอบถามไปยังสำนักเลขาฯ ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร และได้แจ้งให้ทางสำนักเลขาฯ ทราบว่าศาลาพักผู้โดยสารซึ่งเป็นสมบัติและทรัพย์สินของ กทม. ถูกย้ายออกไปว่าได้ทราบหรือไม่ และได้มีการสอบถามประชาชนหรือไม่ เจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาฯ รับเรื่องไว้ และได้แจ้งว่าจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโทรกลับมาชี้แจงตน
ต่อมา ได้มีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานจราจรและขนส่ง (สจส.)ทราบชื่อว่านายจรัสพงษ์ได้โทรมาชี้แจงว่าได้มีผู้ร้องเรียนจำนวน 1 ราย แจ้งว่าศาลาที่พักผู้โดยสารและป้ายรถประจำทาง ปิดบังการจราจรทำให้ติดขัด มีรถขวางทางประตูเข้า-ออกของผู้ร้อง ตนจึงได้สอบถามว่าได้มีการมาดูพื้นที่จริงหรือไม่ เจ้าหน้าที่ตอบว่าไม่ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจแต่อย่างใด โดยแจ้งว่าไม่มีความจำเป็น เป็นการย้ายตามคำร้องของผู้ร้อง และเป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการขนส่ง ปีพ.ศ.2525 ตนจึงได้ชี้แจงว่าป้ายหยุดรถโดยสารประจำทางและศาลาพักผู้โดยสาร ไม่เกี่ยวข้องกับการจราจรติดขัดและไม่ได้ขวางทางเข้า-ออก เพราะประตูทางเข้าของผู้ร้องถึงก่อนป้ายหยุดรถโดยสาร ตนจึงชี้แจงเพิ่มเติมไปว่าถนนพิบูลสงครามเชื่อมต่อความรับผิดชอบ ระหว่างเขตพื้นที่รับผิดชอบการจราจรของ สน.ประชาชื่น และงานจราจรเขตภูธรนนทบุรี การระบายรถเป็นไปตามหลักการและวิธีการระบายรถของเจ้าหน้าที่จราจร เมื่อถึงเวลาประมาณ 09.30 น. สภาพการจราจรก็จะคล่องตัว ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือสถานศึกษาปิดเทอม ถนนเส้นนี้ก็ไม่มีการจราจรติดขัดแต่อย่างใด
จากนั้นเจ้าหน้าที่จาก สจส. จึงให้ข้าพเจ้าสอบถามไปยังกรมการขนส่งทางบก โดยให้เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และแจ้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบให้ ต่อมาตนจึงได้โทรศัพท์ไปประสาน เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงกับเจ้าหน้าที่ชื่อนายบรรหาร ซึ่งก็ได้รับการชี้แจงว่าย้ายตามมติคณะอนุกรรมการฯ ตนจึงสอบถามต่อว่าแล้วเหตุใดจึงมาย้ายป้ายโดยสารรถประจำทางตอนนี้ ซึ่งมีผู้ร้องจำนวน 1 ราย เจ้าหน้าที่ตอบกับตนโดยอ้างแต่เพียงว่าย้ายตามมติของคณะอนุกรรมการฯ ตนจึงได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ขนส่งว่า ได้ลงมาสำรวจพื้นที่จริงหรือไม่ นายบรรหาร แจ้งว่าไม่ได้มีการสำรวจ ไม่มีความจำเป็น เพราะย้ายตามมติคณะอนุกรรมการฯ
วันที่ 21 พ.ค. ตนได้ประสานกับนายบรรหาร โดยขอให้นายจรัสพงษ์ ได้ยุติการย้ายศาลาที่พักผู้โดยสารและป้ายรถประจำทางไว้ก่อน และขอคุ้มครองสิทธิ์การย้ายนี้ไว้ก่อน นายจรัสพงษ์ ให้ตนประสานเรื่องนี้กับนายบรรหารโดยตรง ตนจึงได้ประสานกับนายบรรหาร ขอคุ้มครองสิทธิ์การย้ายป้ายรถโดยสารประจำทางและยุติการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการย้ายป้ายและศาลาที่พักผู้โดยสาร โดยขอให้ระงับไว้ก่อนเพราะมีประชาชนคัดค้าน นายบรรหารแจ้งว่าจะดำเนินการให้ ต่อมาในช่วงบ่ายวันที่ 21 พ.ค. ตนได้ประสานกลับไปยังนายบรรหารอีกครั้ง เพื่อขอทราบผลการสั่งระงับการย้ายศาลาที่พักผู้โดยสารและป้ายรถโดยสารประจำทาง นายบรรหารแจ้งว่าไม่สามารถสั่งระงับการดำเนินการได้ เนื่องจากในครั้งนี้ผู้ร้องได้ออกค่าใช้จ่ายในการย้ายและเป็นผู้จ้างบริษัทผู้รับเหมาเอกชน เข้ามาดำเนินการย้ายป้ายโดยสารรถประจำทางและศาลาที่พักผู้โดยสารเอง โดยกรมการขนส่งไม่ได้เป็นคู่สัญญากับบริษัทที่รับจ้างแต่อย่างใด
จากนั้นจึงได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษากับ น.ส.พัชราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย สก. เขตบางซื่อ โดยท่าน สก.ก็ได้ให้ความสนใจและสอบถามรายละเอียดตั้งแต่เริ่มต้น ตนได้แจ้ง สก.ว่ากรมขนส่งทางบก สจส. กทม.จะลงพื้นที่สำรวจและรับฟังความคิดเห็น ทาง สก.แจ้งว่าจะลงพื้นที่พร้อมไปฟังความคิดเห็นด้วยตนเองพร้อมกับทีมงานในวันที่ทางกรมขนส่งแจ้งมา ขอให้แจ้งให้ท่านทราบด้วย แต่ตนมีความกังวลใจในเรื่องการย้ายป้ายและศาลานี้เป็นอย่างมาก จึงนำเรียน สก.ว่าควรแจ้งเรื่องนี้กับส.ส.เขตบางซื่อ ด้วยหรือไม่ ท่าน สก.ให้ความเห็นว่าควรแจ้งให้ท่าน ส.ส.รับทราบด้วย ตนจึงได้ติดต่อประสานงานไปยังผู้ช่วย ส.ส.ก็รับเรื่องไว้และจะแจ้งให้ท่าน ส.ส.รับทราบ โดยเมื่อตนได้วัน-เวลาว่าเจ้าหน้าที่จะมาเมื่อใด จะแจ้งให้ทางผู้ช่วย ส.ส.ทราบทันที
เมื่อช่วงเย็นวันที่ 21 พ.ค. ตนได้รับแจ้งจากนายบรรหาร ว่ากำหนดวันรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 28 พ.ค. ประมาณ 09.30 ถึง 10.00 น. จึงได้แจ้งกำหนดวันเวลานัดหมายจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่ง ไปให้ทีมงานท่าน ส.ส.และทีมงานท่าน สก.ทราบ กระทั่งวันที่ 24 พ.ค. ได้มีการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้านพิบูลย์ บางซื่อ โครงการ 2 เพื่อดำเนินการในเรื่องการร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 28 พ.ค.ตามที่นายบรรหาร นัดหมาย สรุปมติที่ประชุมว่าจะจัดทำป้ายคัดค้านการย้ายป้ายและศาลาพักรอรถประจำทาง และนัดประชุมลูกบ้านทั้งโครงการ 1 และโครงการ 2
กระทั่งถึงวันนัดหมาย คณะกรรมการหมู่บ้านพิบูลย์ บางซื่อ ได้มีการลงชื่อคัดค้านการย้ายป้ายหยุดรถและศาลาพักรอรถโดยสาร พร้อมนำป้ายคัดค้านการย้ายป้ายและศาลาพักผู้โดยสาร ร่วมเดินขบวนออกไปยังบริเวณป้ายหยุดรถโดยสารประจำทางและศาลาที่พักผู้โดยสารที่ย้ายไปแห่งใหม่ ในการนี้มีสมาชิกหมู่บ้านทั้งโครงการ 1 และโครงการ 2 ร่วมกันทำกิจกรรม เดินขบวนไปติดป้ายคัดค้านในบริเวณดังกล่าว