วันที่ 27 กรกฎาคม 2567 นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร ได้ขอให้ประชาชนช่วยทางราชการในการไม่เพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ หากฝ่าฝืนมีโทษตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 144 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์ไปปล่อยในที่จับสัตว์ฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แค่ไม่เลี้ยงก็เท่ากับช่วยเรากำจัดปลาหมอคางดำแล้ว ถ้าเจอ ให้แจ้งประมงจังหวัด ประมงอำเภอ ในท้องที่ เพื่อจับปลาหมอคางดำไปกำจัด เท่านี้ก็จบแล้วครับ “ เจอ แจ้ง จับ จบ”
นายเผดิม ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางประมงจังหวัดสมุทรสาครร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ โดย นายนิรุจน์ แก้วนิล. นายก อบต.นางบังอร กุลนิล ประธาน.ส.อบต.และประชาชนนำโดย นายวิลาภคงเกิด ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 ปล่อยปลานักล่า กะพงขาวตัวที่9หมื่นล็อตสุดท้ายปล่อยลงไปอีก2หมื่นตัวที่คลองพิทยาลงกรณ์เพื่ลงไปช่วยกำจัดลูกปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศของพื้นที่หลังจากที่ได้มีการกำจัดปลาหมอคางดำตัวใหญ่ออกไปเป็นจำนวนมากแล้ว
ซึ่งจากการสอบถามชาวประมงเรือรุนที่ออกไปจับปลาหมอคางดำต่างพูดเหมือนกันว่า ปลาหมอคางดำที่สมุทรสาครเหลือน้อยลงแล้วถึงกับบอกว่าอาจจะต้องไปช่วยล่าปลาหมอคางดำที่จังหวัดอื่นต่อไป
ทีมข่าวสมุทรสาคร