ตามนโยบายของรัฐบาลให้เจ้าหน้าที่ของภาครัฐป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในปัจจุบันปัญหา ดังกล่าวยิ่งทวีความรุนแรงและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น โดยให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดด้านการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผช.ผบ.ตร.ได้มอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งรัดติดตามจับกุมขบวนการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง
กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดย พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา รอง.ผบช.น.,พล.ต.ต.วรวิทย์ ญาณจินดา ผบก.สปพ., พ.ต.อ.พิทักษ์ สุทธิกุล, พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร, พ.ต.ท.กรกฎ โปชยะวณิช, พ.ต.อ.เด่นหล้า รัตนกิจ, พ.ต.อ.อาวุธ อุดมรัตน์, พ.ต.อ.อภิฌาน สวัสดิบุตร, พ.ต.อ.ธนากร อ่อนทองคำ รอง ผบก.สปพ., พ.ต.อ.วสันต์ ธวัชชัยวิรุตษ์ ผกก.สายตรวจ, พ.ต.ท.คงศักดิ์ ศรีโหร,พ.ต.ท.วสุเทพ ใจอินทร์, พ.ต.ท.ศตวรรษ คนชุม, พ.ต.ท.ไพบูลย์ สอโส รอง ผกก.สายตรวจฯ พ.ต.ต.ณัฐดนัย บำรุงศรี สว.งานสายตรวจ 2 กก.สายตรวจ ร่วมกันแถลงผลการปฏิบัติการ “191 ร่วมกับ สืบบก.น.8 รวบแม่เล้าสาวสอง ค้ากามเด็ก” จับกุมผู้ต้องหา 1 ราย คือ นายเอ (นามสมมุติ) อายุ 17 ปี ซึ่งเป็นสาวประเภทสอง กพร้อมของกลาง ได้แก่
1.ธนบัตรที่ใช้ในการล่อซื้อ 2.โทรศัพท์มือถือ จำนวน 1 เครื่อง โดยแจ้งข้อกล่าวหา 1.ค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการค้าประเวณี โดยได้กระทำแก่บุคคลอายุสิบห้าปีแต่ไม่ถึงสิบแปดปีหรือผู้มีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 4, 6(2) และมาตรา 52 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6(2) ตาม พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พุทธศักราช 2551 พุทธศักราช 2562,มาตรา 52 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเดิม ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ฉบับที่ 3 พุทธศักราช 2560,
2.เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิงแม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม โดยกระทำแก่บุคคลอายุสิบห้าปีแต่ไม่ถึงสิบแปดปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 วรรคแรก,วรรคสอง, แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 มาตรา 4 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540 มาตรา 4 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 12,
3. รับประโยชน์ไม่ว่ารูปแบบใดจากการค้าประเวณีของผู้อื่นหรือจากผู้ซึ่งค้าประเวณี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286(2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 มาตรา 14
พฤติการณ์กล่าวคือ วันที่ 16 ก.ค.67 เวลาประมาณ 11.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจงานสายตรวจ 2 กก.สายตรวจ ได้รับแจ้งจากสายลับว่าสามารถติดต่อล่อซื้อหญิงบริการทางเพศอายุต่ำกว่า 18 ปี ส่งให้กับลูกค้าเพื่อการค้าประเวณีตามสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ โดยติดต่อผ่านทางแชทไลน์ชื่อ “ศรี สะบึ้ม” จากนั้นสายลับได้ติดต่อแชทไลน์ชื่อ “ศรี สะบึ้ม” จัดหาหญิงอายุต่ำกว่า 18 ปี ให้สายลับเพื่อร่วมประเวณีกับเพื่อนของสายลับ และให้มาพบกับสายลับที่อพาร์ทเม้นท์ ย่านถนนราษฎร์บูรณะ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร และแจ้งว่าค่าตัวเด็ก 5,000 บาท และจะนำเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มาส่งให้ช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
ต่อมาเวลาประมาณ 13.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมด้วยสายลับเดินทางมาถึงบริเวณที่นัดหมายและได้เปิดห้องพักเลขที่ 805 อพาร์ทเม้นท์ย่านถนนราษฎร์บูรณะ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จากนั้นจึงให้สายลับติดต่อกลับไปหาผู้ใช้แชทไลน์ชื่อ “ศรี สะบึ้ม” แจ้งว่าเปิดห้องเรียบร้อยแล้ว และสายลับแจ้งว่าหญิงอายุต่ำกว่าสิบแปดปีจะเดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าวโดยรถยนต์แกร๊ป ยี่ห้อโตโยต้ายาริส สีเทาฯ เจ้าเหน้าที่ตำรวจจึงกระจายกำลังกันเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ที่บริเวณดังกล่าว
จนกระทั้งเวลาประมาณ 15.30 น. พบรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นยาริส สีเทาฯ ขับเข้ามายังอพาร์ทเม้นท์ ดังกล่าว จากนั้นนายเอ (ผู้ถูกจับ) และน.ส.บี (เหยื่อจากการค้ามนุษย์) ลงมาจากรถยนต์ ต่อมาทั้งสองคนเดินเข้าไปยังอาคาร จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปลอมตัวเป็นลูกค้ารับทั้งสองคนขึ้นไปยังห้องเลขที่ 805 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปลอมตัวเป็นลูกค้าขึ้นไปถึงห้องพักแล้ว ได้ส่งเงินล่อซื้อจำนวน 5,000 บาท โดยมีนายเอ (ผู้ถูกจับ) รับเงินจำนวนดังกล่าว จากนั้นเอ (ผู้ถูกจับ) จึงออกจากห้องพักและลงไปยังชั้นล่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปลอมตัวเป็นลูกค้าจึงส่งสัญญาณให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เฝ้าสังเกตการณ์อยู่ทราบ เมื่อนายเอ (ผู้ถูกจับ) ลงมาถึงชั้นล่างเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขอตรวจค้นผลการตรวจค้นพบธนบัตรอยู่ในมือซ้าย สอบถามนายเอ (ผู้ถูกจับ) ให้การรับว่าเป็นธนบัตรที่ได้มาจากการพา น.ส.บี (เหยื่อจากการค้ามนุษย์) มาส่งให้กับลูกค้า ส่วนเงินจำนวน 5,000 บาท นั้น จะแบ่งให้ น.ส.บี (เหยื่อจากการค้ามนุษย์) จำนวน 4,000 บาท ตนเองจะได้ 1,000 บาท
เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงแจ้งแก่นายเอ (ผู้ถูกจับ) ว่าเขาต้องถูกจับกุมพร้อมแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิให้ทราบ จากนั้นจึงนำตัวนายเอ (ผู้ถูกจับ) มาจัดทำประวัติและบันทึกการจับกุมที่ งานสายตรวจ 2 กก.สายตรวจ บก.สปพ. ส่วน น.ส.บี(เหยื่อจากการค้ามนุษย์) ซึ่งพบว่ามีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้ร่วมคัดแยกเหยื่อกับนักสังคมสงเคราะห์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผลการคัดแยกปรากฏว่า น.ส.บี เป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ จึงได้ส่งตัวไปรับการคุ้มครองที่สถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์(บ้านเกร็ดตระการ) จังหวัดนนทบุรี
หากประชาชนท่านใด พบเห็นหรือมีเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำความผิด เกี่ยวกับการค้ามนุษย์หรือสิ่งผิดกฎหมายทางโซเชียลมีเดีย สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ สายด่วน 191, เพจสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ