ประเดิม! เทศกาล The ICONiC Run Fest Thailand Series ChiangRai 2024 เดิน วิ่ง กิน เที่ยวเพื่อสุขภาพ ดัน Soft Power จ.เชียงราย สร้างเสริมสุขภาพ-ขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศ สสส.-ภาคี ชง “พิเชษฐ์” หนุนพัฒนาแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสร้างเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน-คู่มือจัดเทศกาลสร้างเสริมสุขภาพ มุ่งลดเสี่ยงโรค NCDs

วันที่ 30 มิ.ย. 2567 ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเก่า อ.เมือง จ.เชียงรายสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) องค์การบริหาร
การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (องค์การมหาชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมการค้าผู้จัดกีฬามวลชน สมาพันธ์เดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทย สมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย และภาคีเครือข่าย จ.เชียงราย จัดเทศกาลงานวิ่ง The ICONiC Run Fest
Thailand Series ChiangRai 2024 กิจกรรม เดิน วิ่ง กิน เที่ยว เพื่อสุขภาพ ภายใต้แนวคิด รวมพลังสร้างสุขภาพดี เศรษฐกิจดี สร้างเมืองสู่ความยั่งยืน ต้นแบบกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับประเทศ ปลูกฝังค่านิยมลดพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ (NCDs) และส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้กับชุมชน



โดย นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เป็นประธานเปิดงานว่า The ICONiC Run Fest Thailand Series ChiangRai 2024 ถือเป็นมิติใหม่ในการบูรณาการ
แนวคิดทั้งการเดิน-วิ่ง และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเชิงเศรษฐกิจ นอกจากช่วยสร้างกระแสส่งเสริมสุขภาพ เพิ่มอัตราการมีกิจกรรมทางกาย ส่งต่อองค์ความรู้การบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ ยังทำให้เกิดประโยชน์กับ จ.เชียงราย โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว จ.เชียงราย เป็น 1 ในจังหวัดท่องเที่ยว สำคัญและเป็นที่นิยมของคนไทยและนานาชาติ ทำให้มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานกว่า 2,000 คนในเวลาที่รวดเร็ว คาดการณ์ว่าจะมีเงินสะพัดหลายล้านบาท ซึ่งความสำเร็จการจัดงานครั้งนี้ มาจากการสานพลังความร่วมมือ ทั้งจากหน่วยงานระดับท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม โดยเฉพาะคนในชุมชน ช่วยยกระดับ จ.เชียงราย เป็นต้นแบบสร้างเสริมสุขภาพจุดประกายให้เกิดการงานเทศกาลเดิน-วิ่งกิน เที่ยว เพื่อสุขภาพในพื้นที่อื่นๆ และส่งต่อความสำคัญขยายผลไปในระดับประเทศ ถือเป็นก้าวส าคัญสู่เป้าหมายการจัดทำ “แผนยุทธศาสตร์จังหวัดในการสร้างเศรษฐกิจชุมชนจากการสร้างงานเทศกาลแบบยั่งยืน” ต่อไป


นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเด็นสุขภาพให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีทุกมิติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งเสริมกิจกรรมทาง
กายที่เพียงพอกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 Actives 1.Active People ส่งเสริมให้คนกระฉับกระเฉง 2.Active Environment ส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย 3.ActiveSociety สร้างค่านิยมให้สังคมกระฉับกระเฉง ผ่านนวัตกรรม องค์ความรู้ งานวิชาการ จากรายงาน
สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2566 โดยศูนย์พัฒนาความรู้ด้านกิจกรรมทางกาย
ประเทศไทย พบว่า โควิด-19 ทำให้อัตราการมีกิจกรรมทางกายลดลงจาก 74.6% ในปี 2562 เหลือ 54.3%
ในปี 2563 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 62.0% ในปี 2565 และ 68.1% ในปี 2566 การจัดงานครั้งนี้ ถือเป็น
การสร้างแนวทางและโอกาสเพิ่มอัตราของกิจกรรมทางกายในรูปแบบเทศกาล รวมถึงเป็นพื้นที่ต้นแบบสร้างมาตรฐานและขยายผลสู่การพัฒนาคู่มือการจัดงานในรูปแบบของเทศกาลสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ลดความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต

“The ICONiC Run Fest Thailand Series 2024 ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมโอกาสสร้างรายได้
เชิงเศรษฐกิจท่องเที่ยวจากการมีส่วนร่วมของชุมชน ประเดิมสนามแรกที่ จ.เชียงราย สนามต่อไปที่ จ.
สุโขทัย วันที่ 24-25 ส.ค. 2567 จ.นครราชสีมา วันที่ 7-8 ก.ย. 2567 จ.มุกดาหาร วันที่ 5-6 ต.ค. และ จ.
นครศรีธรรมราช วันที่ 26-27 ต.ค. 2567 ระยะทาง 10 กม. และ 5 กม. เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วม 2,000 คนต่อ
จังหวัด โดยนักวิ่งจะได้รับเสื้อ BIB และกระเป๋าสะท้อนอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดเป็นของที่ระลึก สามารถ
สมัครร่วมกิจกรรมได้ที่ http://thai.fit ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ theiconicrunfest”
ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว



ว่าที่ ร.ต.ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นการนำเสนอศิลปวัฒนธรรมของ จ.เชียงราย ในรูปแบบตลาดนัด Healthy Community ที่รวบรวมผลิตภัณฑ์ ออร์แกนิกเพื่อสุขภาพ หมอนใบชา ข้าวอินทรีย์ นมงาขาว ผักและผลไม้ปลอดสาร ซึ่งภายในงานมีการ สาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพในท้องถิ่น “อ๊อกปลานิลสมุนไพร” และ “แกงแคไก่” ที่มีผักและสมุนไพรไฟ
เบอร์สูง ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีปริมาณไขมันต่ำช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอด
เลือด รวมถึงเส้นทางวิ่งที่ผ่านสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่สักการะ สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีตอกย้ำ
ความเป็นเมืองสุขภาวะ (Wellness City) ช่วยเปิดโอกาสเสริมสร้างเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว และเป็น
ประโยชน์ต่อชุมชนในทุกด้านอย่างมหาศาล

​​​​​​​