จุฬาฯ จับมือ ที.เอ็ม.ซี. อุตสาหกรรม ทรัพย์ถาวร ไบโอแมส ดึงงานวิจัยจุฬาฯ เปิดมิติใหม่แปรรูปใบอ้อยเป็น ใบอ้อยอัดเม็ด-อัดก้อน รายแรกของเมืองไทย ด้วยเครื่องจักรสัญชาติไทย ราคาเอื้อมถึง ตอบโจทย์อุตสาหกรรมบีซีจี นอกจากลดการเผาอ้อย ลดมลพิษ PM 2.5 ยังช่วยลดการตัดไม้นำไปทำเป็นเชื้อเพลิง
             

วันที่ 25 มิถุนายน 2567 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ในการพัฒนาเครื่องจักรผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ระหว่าง บริษัท ที.เอ็ม.ซี. อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทรัพย์ถาวร ไบโอแมส จำกัด ณ ศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจากชีวมวล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มีศาสตร์ตราจารย์ ดร.ธราพงษ์ วิทิตศานต์ ผู้อำนวยการศูนย์เชื้อเพลิงและ พลังงานจากชีวมวล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี นายณัฏฐ์พงษ์ ปัญจวรญาณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.เอ็ม.ซี อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)นายอภิวัฒน์ ถาวรแท้ ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท ทรัพย์ถาวร ไบโอแมส จำกัด ร่วมลงนาม                 
             

นายณัฏฐ์พงษ์ ปัญจวญาณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.เอ็ม.ซี.อุตสาหกรรม จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า "การลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาเครื่องจักรผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ระหว่าง บริษัท ที.เอ็ม.ซี. อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทรัพย์ถาวร ไบโอแมส จำกัด และ ศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจากชีวมวล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี" ว่าปัจจุบันปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมรุนแรงมากขึ้น ในฐานะที่ บริษัท ที.เอ็ม.ชี.อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) มีความชำนาญในเรื่องของเทคโนโลยีการผลิตเครื่องจักรระบบไฮดรอลิก สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ จึงถือโอกาสใช้ความชำนาญในอุตสาหกรรม มาพัฒนาเครื่องจักรที่มีอยู่ในปัจจุบัน มาช่วยในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยเฉพาะการเผาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ใบอ้อย ต้นข้าวโพดทางปาล์ม ฯลฯ โดยได้เข้าไปทำการศึกษาว่ามีงานวิจัยทางวิชาการเกี่ยวกับการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ที่สามารถแปรูปวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมชั้นสูง  และพบว่าศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจากชีวมวล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี ทำเรื่องนี้มาหลายปีแล้วมีการตั้งศูนย์สระบุรีขึ้นมา เพื่อการวิจัยด้านการเกษตรเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงรูปแบบต่างๆ บริษัท ที.เอ็ม.ซี.จึงเข้าไปขอใช้บริการทางวิชาการ โดยให้จุฬาฯช่วยถ่ายทอดงานวิจัย เพื่อผลิตเป็นเครื่องจักรกลการเกษตรแบบต่างๆ พร้อมกันนี้ ผู้อำนวยการศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจากชีวมวล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี ได้แนะนำให้รู้จักกับผู้บริหาร บริษัท ทรัพย์ถาวร ไบโอแมส จำกัด ซึ่งมีความต้องการเครื่องจักรกลการเกษตรที่ผลิตโดยคนไทย มีนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากบริษัท ทรัพย์ถาวร ไบโอแมสจำกัด มีพื้นที่ปลูกอ้อยในจังหวัดเพชรบูรณ์จำนวนมาก พร้อมทั้งส่งเสริมชาวไร่ให้ร่วมปลูก โดยทางบริษัทฯก็ทำงานวิจัยร่วมกับจุฬฯในการแปรรูปใบอ้อยเป็นผลิตภัณฑ์ใบอ้อยอัดเม็ด-อัดก้อน จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ทั้งสองบริษัทมีความร่วมมือกัน 
         

 เนื่องจากบริษัท ที.เอ็ม.ซี.มีความชำนาญในด้านการผลิตเครื่องจักรกล ส่วนบริษัท ทรัพย์ถาวร ไบโอแมส มีวัตถุดิบที่เป็นใบอ้อยที่ต้องการแปรรูป"จุดเด่นของเครื่องจักรที่ผลิตจาก บริษัท ทีเอ็ม.ซี. คือผลิตขึ้นจากงานวิจัยให้เหมาะสมกับวัสดุทางการเกษตรของไทย ด้วยการออกแบบเครื่องจักรให้เหมาะกับลักษณะและพฤติกรรมการเก็บเกี่ยวของบ้านเรา เพื่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ราคาถูกกว่าการนำเข้า และสามารถบริการหลังการขายด้านการบำรุงรักษาได้อย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทได้ทำงานวิจัยร่วมกับจุฬาฯมาปีเศษ เกี่ยวกับการผลิตเครื่องอัดเม็ดและอัดก้อนจากใบอ้อย มีการพัฒนาแก้ไขข้อบกพร่อง จนปัจจุบันถือว่าสมบูรณ์ 100% นำไปใช้แปรรูปใบอ้อยอัดเม็ด-อัดก้อนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้เป็นพลังงานทางเลือกสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมต่างๆ ลดปัญหามลพิษจากการเผาอ้อย ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อยมากกว่า 20 ล้านไร่ ถ้าสามารถแปรูรูปใบอ้อยโดยไม่มีการเผาได้ ปัญหา PM 2.5 ก็จะลดไปได้อย่างมาก ซึ่งจะเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรกลุ่มอื่น เช่น ข้าว ข้าวโพด นำไปเป็นแนวทางปรับใช้ได้ด้วย ซึ่งจะเป็นคุณอนันต์ต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศและของโลก" นายณัฏฐ์พงษ์ กล่าว
             

ด้านนายอภิวัฒน์ ถาวรแท้ ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท ทรัพย์ถาวร ไบโอแมส จำกัด กล่าวว่า ปัญหาของการปลูกอ้อยในปัจจุบันคือการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวอ้อยถ้าใช้คนเก็บเกี่ยวก็จะมีเรื่องการเผาเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีรถตัดอ้อย ต้องใช้คนเก็บเกี่ยว จึงจำเป็นต้องเผา บริษัท ทรัพย์ถาวรฯ เป็นหนึ่งในกลุ่มชาวไร่ มีพื้นที่ปลูกอ้อยหลายพันไร่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ทางบริษัทมีรถตัดอ้อยเก็บเกี่ยว จึงไม่ได้มีการเผาอ้อย และยังสามารถนำใบอ้อยที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวขายให้กับโรงงานไฟฟ้าชีวมวล อีกสวนหนึ่งบริษัทก็รับซื้อใบอ้อยจากเกษตรกรในเครือข่ายด้วย แต่ปัญหาคือการขนใบอ้อยเป็นฟ่อนๆ ไม่คุ้มกับต้นทุนการขนส่ง เนื่องจากรถบรรทุกน้ำหนัก 25 ตัน ใช้ขนใบอ้อยได้แค่ 17-18 ตันก็เต็มคันรถ ทางบริษัทจึงคิดว่าทำอย่างไรจึงจะแปรรูปใบอ้อยก่อนส่งขายให้โรงงานไฟฟ้าชีวมวล เพื่อสะดวกในการขนส่งและใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆได้ด้วย บริษัทได้รับคำแนะนำจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ให้ไปดูงานวิจัยของศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจากชีวมวล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ. สระบุรี ซึ่งศูนย์วิจัยจุฬาฯได้ให้การบริการวิชาการและวิจัยในการแปรูรูปชีวมวลเหลือทิ้ง มาเป็นเชื้อเพลิงรูปแบบต่างๆ ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล งานวิจัยของจุฬาทำให้เราได้ผลิตภัณฑ์ใหม่คือ แปรรูปใบอ้อยเป็น ใบอ้อยอัดเม็ดและอัดก้อน ถือเป็นรายแรกของประเทศไทย ที่ทำผลิตภัณฑ์รูปแบบนี้ แม้การนำใบอ้อยไปผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีมานานแล้ว แต่รูปแบบการใช้เป็นการนำใบอ้อยไปปนก่อนทำเป็นเชื้อเพลิง แต่ของทางบริษัทเป็นรูปแบบการอัดเม็ดหรืออัดก้อน ขนส่งสะดวก เก็บไว้ได้นาน มีความชื้นต่ำและมีความหนาแน่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้หลายประเภท ขณะที่ทาง บริษัท ทรัพย์ถาวร ไบโอแมส จำกัด ได้มีความร่วมมือกับ บริษัท ที.เอ็ม.ชี. ทำให้บริษัททรัพย์ถาวรได้เครื่องจักรสำหรับแปรรูปใบอ้อยที่มีมาตรฐานจากงานวิจัย ราคาถูกกว่าการนำเข้าา มีการบำรุงรักษาที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง บริษัทที.เอ็ม.ซี.เป็นบริษัทที่มีความสามารถในการสร้างและซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลได้ดีและเป็นมาตรฐานสากล ถ้าบริษัท ที่.เอ็ม.ซี. สามารถพัฒนาเครื่องจักรที่มีคุณภาพได้ทุกขนาดกำลังผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ราคาถูกลง  คนไทยก็จะได้ประโยชน์ เพราะถ้าเครื่องอัดใบอ้อยมีมากขึ้น คนรับซื้อใบอ้อยมากขึ้น ก็ทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์จากการขายใบอ้อย มีรายได้เพิ่มขึ้น และไม่ต้องเผาอ้อยให้เกิดเป็นมลพิษในอากาศ"เราอยากให้มีโรงงานแบบบริษัททรัพย์ถาวรฯมากๆในประเทศ เพราะใบอ้อยเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ถ้านำมาทำประโยชน์ด้านพลังงานทางเลือกได้ ก็ช่วยลดการเผา ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ไม่ใช่ได้ประโยชน์เฉพาะชาวไร่ แต่ได้ทุกฝ่าย แม้กระทั่งประเทศชาติก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาทุกปีนอกเหนือจากไร่อ้อย ยังสามารถนำไปปรับใช้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอย่างอื่น เช่น ข้าว ข้าวโพด ถ้ารัฐบาลสนับสนุนการซื้อเครื่องจักรเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ดีมาก" 
         

ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.ธราพงษ์ วิทิตศานต์ ผู้อำนวยการศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจากชีวมวลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ. สระบุรี กล่าวปิดท้ายว่า ศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจากชีวมวล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ. สระบุรี ให้บริการวิชาการและวิจัยในการแปรรูปชีวมวลเหลือทิ้ง มาเป็นเชื้อเพลิงรูปแบบต่างๆเพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำงานวิจัยเกี่ยวกับซีวมวลหลากหลาย โดยได้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งปัญหาของชีวมวลประเภทหนึ่งเรียกว่า ซีวมวลเบา' เช่น ใบอ้อย ฟางข้าว ถ้าขนย้ายเพื่อนำไปทำพลังงานทางเลือกจะมีปัญหาค่ขนส่งแพง คนนำไปใช้ไม่คุ้มโดยเฉพาะ 'ใบอ้อย' เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลเบาชนิดหนึ่งที่มีการศึกษาที่ศูนย์วิจัยจุฬาฯที่สระบุรี มีแนวทางการแปรรูปอย่างไรเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและช่วยส่งเสริมเกษตรกรไม่ให้เผาอ้อย ซึ่งสุดท้ายได้แนวคิดที่ว่า ชีวมวลเบาทุกชนิดจำเป็นจะต้องทำให้เป็นชีวมวลหนาแน่นก่อน จึงได้มีการทดลองผลิตเป็นเชื้อเพลิงแข็งหนาแน่นประเภทอัดเป็นเม็ด อีกประเภทคืออัดเป็นก้อน ทางศูนย์วิจัยจุฬาฯศึกษาเรื่องนี้เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว สุดท้ายเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ไบโอชาร์และถ่านกัมมันต์ สำหรับการนำใบอ้อยมาดเป็นเม็ดและเป็นก้อนได้ ที่มีความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้ได้ประโยชน์ในการขนส่งในรูปอัดเม็ดและอัดก้อนเพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัว ที่สำคัญเชื้อเพลิงนี้มีความชื้นต่ำ เก็บรักษาได้นาน การป้อนเชื้อเพลิงเข้าห้องเผาไหม้ทำได้ง่าย ไม่เกิดฝุ่นขณะการป้อน นอกจากนี้ใบอ้อยอัดเม็ดหรืออัดก้อน ยังสามารถเผาเป็นถ่านที่เรียกว่าไบโอชาร์ สามารถนำไปใช้เพื่อคิดเป็นคาร์บอนเครดิตได้ นี่คือปลายทางที่จะได้จากการแปรรูปดังกล่าว"ศูนย์วิจัยจุฬาที่สระบุรี วิจัยเรื่องนี้อยู่แล้ว เมื่อบริษัท ทรัพย์ถาวร มาดูโครงการที่สระบุรีก็สนใจมากเนื่องจากบริษัททรัพย์ถาวรฯมีใบอ้อยประมาณ 1 แสนตันต่อปี ซึ่งปกติบริษัทฯขายเป็นพ่อน ยิ่งไกลค่าขนส่งยิ่งแพง บริษัทจึงต้องการแปรรูป ซึ่งการอัดเม็ดหรืออัดก้อนจะทำให้ชีวมวลมีความหนาแน่นคงทนกว่าเป็นฟ่อน และเก็บได้นาน ขณะเดียวกัน บริษัท ที่.เอ็ม.ซี. ก็มาดูโครงการผลิตเครื่องจักรกลในรูปแบบที่ใช้กับโครงการบีซีจีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลายเป็นว่าบริษัทหนึ่งต้องการแปรรูปใบอ้อย อีกบริษัทสามารถผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร มาเจอกัน จึงนำความต้องการและจุดแข็งมาร่วมมือกัน ด้วยวัตถุประสงค์คือการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อผลิตเชื้อเพลิงจากชีวมวลนั่นเอง"