# นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากบ้านจันทร์ส่องหล้า ด้วยรถเมอร์เซเดสเบนซ์ ไปรายการตัวที่สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อนำตัวส่งฟ้องศาลอาญา รัชดาภิเษก หลังจากที่อัยการสูงสุดได้มีคำสั่งฟ้องนายทักษิณ ตาม มาตรา 112 และ ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
จากนั้น นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ เป็นเงิน ขอปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณา ทั้งนี้ศาลอาญาให้ประกันตัว ตีราคาหลักประกัน 500,000 บาท กับให้จำเลยวางหนังสือเดินทางยึดหนังสือเดินทางและหลักประกันทำสัญญาห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลแจ้งสตม.ทราบ
# ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยว่า พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 36 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง (3) มาตรา 41 วรรคหนึ่ง (3) และมาตรา 42 ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 107
# ศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมพิจารณา คดีที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่
โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว ให้หน่วยงาน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นและจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานตามประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดนัดพิจารณาต่อไปในวันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567
# ศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมพิจารณาคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล กรณีมีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ให้บุคคลเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นล่วงหน้าต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ , กำหนดนัดพิจารณาต่อไปในวันพุธที่ 3 กรกฎาคม 67 และกำหนดให้คู่กรณีเข้ามาตรวจพยานหลักฐานในวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 67
# ที่ประชุมวุฒิสภา ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ...หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฯ ที่มี นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สว.เป็นประธาน และพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยที่ประชุมลงมติเห็นชอบกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม ด้วยคะแนน 130 ไม่เห็นด้วย 4 และงดออกเสียง 18 เสียง และมีมติให้ส่งไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยต้องรอประกาศในราชกิจจานุเบกษาอีกครั้ง เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้สามารถใช้บังคับได้หลังประกาศในราชกิจจาฯ 120 วัน