ในวงการเกษตร หลายท่านคงคุ้นเคยกับ "ไตรโคเดอร์มา" เชื้อราชนิดพิเศษที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมโรคพืชชนิดต่าง ๆ  บล็อกนี้เราจะมาไขข้อข้องใจว่า ไตรโคเดอร์มาผงคืออะไร ใช้งานอย่างไร เหมาะกับพืชแบบไหน และมีข้อดีอะไรบ้าง 

ไตรโคเดอร์มาผงคืออะไร ?

ไตรโคเดอร์มาผง คือ เชื้อราชนิดไตรโคเดอร์มา  ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นผงละเอียด สะดวกต่อการใช้งาน โดยเชื้อราชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มเชื้อราปฏิปักษ์ ทำหน้าที่เป็น ศัตรูธรรมชาติ ของเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ช่วยป้องกันและควบคุมโรคพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับเกษตรกรที่ต้องการลดการใช้สารเคมี และต้องการทำเกษตรอินทรีย์ การใช้ไตรโคเดอร์มาผง เป็นตัวเลือกที่ดีในการกำจัดเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของโรคพืช ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี เป็นการทำการเกษตรที่ปลอดภัย ทั้งต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภค 

วิธีการใช้งานไตรโคเดอร์มาผง

ไตรโคเดอร์มาผงมีวิธีการใช้งานที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและโรคที่ต้องการป้องกัน โดยทั่วไปแล้วนิยมใช้วิธีดังต่อไปนี้

  • ผสมน้ำรดราด ผสมกับน้ำในอัตราส่วนที่แนะนำบนฉลาก รดราดบริเวณโคนต้น ลำต้น ใบ หรือดินรอบ ๆ ต้น
  • แช่เมล็ดพัน ผสมกับน้ำ แช่เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง
  • ผสมกับปุ๋ยคอก ผสมกับปุ๋ยคอกก่อนนำไปใส่ดิน ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน และป้องกันเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืช 
  • รองก้นหลุมก่อนปลูก โดยผสมกับปุ๋ยคอกในอัตราส่วนที่กำหนด

ไตรโคเดอร์มาผง เหมาะกับพืชแบบไหน?

ไตรโคเดอร์มาผงสามารถใช้ได้กับพืชหลายชนิด  โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง  พืชผักสวนครัว ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ฯลฯ  ประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น โรครากเน่า โรคโคนเน่า โรคใบจุด โรคราสนิม โรคแอนแทรคโนส ฯลฯ

ข้อดีของการใช้ไตรโคเดอร์มาผง 

สำหรับการใช้ไตรโคเดอร์มา มีข้อดีหลายประการ ดังต่อไปนี้ 

  • ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเชื้อราชนิดธรรมชาติ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
  • ช่วยลดการใช้สารเคมี ช่วยลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของพืช ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารของพืช ช่วยให้พืชเจริญเติบโตแข็งแรง
  • ช่วยเพิ่มผลผลิต ช่วยลดการสูญเสียจากโรคพืช ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น

การใช้ไตรโคเดอร์มาผง เป็นอีกหนึ่งวิธีในการกำจัดโรคพืชอย่างปลอดภัย เหมาะกับผู้ที่ต้องการทำเกษตรอินทรีย์ หรือต้องลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร นอกจากนี้ยังปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ และช่วยให้พืชเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ