เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนเม.ย.67 มีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวในหลายภูมิภาค และการบริโภคอุปโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะในภาคใต้ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวในบางภูมิภาค
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2567 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนเมษายน 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวในหลายภูมิภาค และการบริโภคอุปโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะในภาคใต้ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวในบางภูมิภาค” โดยมีรายละเอียดดังนี้
เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนเมษายน 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวชะลอลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 14.1 และ 37.7 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -19.8 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 59.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.1 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -23.8 และ -20.3 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 และ 8.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.0 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 30.2 และ 22.3 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนเมษายน 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวชะลอลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 และ 5.3 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -10.9 และ -4.4 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 20.1 และ 2.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 60.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 61.3 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -15.8 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -21.5 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 96.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 98.4 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 12.9 และ 24.4 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนเมษายน 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวชะลอลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 และ 6.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -21.8 และ -7.3 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.2 และ 14.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 61.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 62.7 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -5.1 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -42.7 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 96.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 98.4 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 และ 10.6 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนในเดือนเมษายน 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวชะลอลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 และ 3.3 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -14.1 และ -1.6 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.3 และ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 62.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 63.4 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -22.4 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -20.4 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัวด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 91.9 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 และ 14.9 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนในเดือนเมษายน 2567 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ ขณะที่ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวชะลอลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 และ 2.4 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -28.2 และ -25.7 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.9 และ 38.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 64.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 65.7 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -27.5 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -5.8 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 170.6 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูป ในจังหวัดสระแก้ว เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 88.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.9 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 16.9 และ 17.1 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนเมษายน 2567 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ ขณะที่ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวชะลอลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 และ 1.7 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -11.8 และ -0.4 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 12.6 และ 10.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 64.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 65.4 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -21.0 และ -4.6 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.4 และ 13.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 1,042.2 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตแผงวงจรอิเล็คทรอนิกส์ ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นสำคัญด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 76.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 77.6 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 19.1 และ 22.6 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนเมษายน 2567 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกร และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ ขณะที่ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวชะลอลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 10.3 ต่อปี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -10.8 และ -16.5 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.3 และ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่หดตัวที่ร้อยละ -10.0 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 60.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 61.3 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -25.4 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ หดตัวที่ร้อยละ -22.0 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการยังมีอัตราขยายตัวต่อเนื่อง ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 96.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 98.4 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 และ 22.3 ต่อปี ตามลำดับ
#เศรษฐกิจภูมิภาค #ข่าววันนี้ #ลงทุน #ท่องเที่ยว