สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เผยแพร่สาระน่ารู้การเลือกสมาชิกวุฒิสภา “20 กลุ่มอาชีพร่วมใจ ขับเคลื่อนประเทศไทยไปพร้อมกัน” ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2567 นี้ มาจากการเลือกกันเองของบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงาน หรือเคยทำงานด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม จาก 20 กลุ่มอาชีพ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 

สำหรับขั้นตอนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา มีดังนี้

ขั้นที่ 1
ประกาศให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา มีผลบังคับใช้ กกต.ประกาศ กำหนดวันเลือกระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศ

ขั้นที่ 2
การสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา เริ่มรับสมัครไมเกิน 15 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือก สมาชิกวุฒิสภา มีผลบังคับใช้ และกำหนดวันรับสมัคร 5 - 7 วัน

ขั้นที่ 3
ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ผู้อำนวยการเลือกระดับอำเภอประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็น สมาชิกวุฒิสภา ภายใน 5 วัน นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร

ขั้นที่ 4
การเลือกสมาชิกวุฒิสภา 3 ระดับ การเลือกสมาชิกวุฒิสภา มี 3 ระดับ คือ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ

ขั้นที่ 5
ประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา เมื่อ กกต. ไดรับรายงานจากผู้อำนวยการเลือกระดับประเทศแล้ว ให้รอไว้ไม่น้อยกว่า 5 วัน เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ถ้า กกต. เห็นวาเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
ให้ประกาศผลการเลือกในราชกิจจานุเบกษา

ในขั้นที่ 4 การเลือกสมาชิกวุฒิสภามี 3 ระดับด้วยกัน คือ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการเลือกกันเองในกลุ่ม และการเลือกแบบไขว้ ดังนี้
ระดับอำเภอ 

รอบที่ 1 เลือกกันเองในกลุ่ม เลือกผู้สมัครในกลุ่มเดียวกัน เลือกกันเองในกลุ่มเดียวกันไม่เกิน 2 คน
เลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้ผู้ใดเกิน 1 คะแนนไม่ได้ ผู้ได้คะแนนสูงสุด 5 ลำดับแรกเป็นผู้ได้รับเลือกไปสู่รอบที่ 2 ต่อไป (เหลือกลุ่มละ 5 คน)

รอบที่ 2 เลือกแบบไขว้ เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่สายเดียวกัน แบ่งสายไม่เกิน 4 สาย โดยการจับสลากประกอบด้วยจำนวนกลุ่มเท่ากันเลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นในสายเดียวกันกลุ่มละ 1 คน แต่จะเลือกกลุ่มเดียวกันหรือตนเองไม่ได้ผู้ได้คะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก ของแต่ละกลุ่ม เป็นผู้ได้รับเลือกในระดับอำเภอของกลุ่มนั้น เพื่อไปสู่ระดับจังหวัดต่อไป

ระดับจังหวัด

รอบที่ 1 เลือกกันเองในกลุ่ม เลือกผู้สมัครในกลุ่มเดียวกัน เลือกกันเองในกลุ่มเดียวกันไม่เกิน 2 คน
เลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้ผู้ใดเกิน 1 คะแนนไม่ได้ ผู้ได้คะแนนสูงสุด 5 ลำดับแรกเป็นผู้ได้รับเลือกไปสู่รอบที่ 2 ต่อไป (เหลือกลุ่มละ 5 คน)

รอบที่ 2 เลือกแบบไขว้ เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่สายเดียวกัน แบ่งสายไม่เกิน 4 สาย โดยการจับสลากประกอบด้วยจำนวนกลุ่มเท่ากันเลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นในสายเดียวกันกลุ่มละ 1 คน แต่จะเลือกกลุ่มเดียวกันหรือตนเองไม่ได้ผู้ได้คะแนนสูงสุด2 ลำดับแรก ของแต่ละกลุ่ม เป็นผู้ได้รับเลือกในระดับอำเภอของกลุ่มนั้น เพื่อไปสู่ระดับประเทศต่อไป

ระดับประเทศ

รอบที่ 1 เลือกกันเองในกลุ่ม เลือกผู้สมัครในกลุ่มเดียวกัน เลือกกันเองในกลุ่มเดียวกันไม่เกิน 10 คน 
เลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้ผู้ใดเกิน 1 คะแนนไม่ได้ ผู้ได้คะแนนสูงสุด 40 ลำดับแรกเป็นผู้ได้รับเลือกไปสู่รอบที่ 2 ต่อไป (เหลือกลุ่มละ 40 คน)

รอบที่ 2 เลือกแบบไขว้ เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่สายเดียวกัน แบ่งสายไม่เกิน 4 สาย โดยการจับสลากประกอบด้วยจำนวนกลุ่มเท่ากันเลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นในสายเดียวกันกลุ่มละ 5 คน แต่จะเลือกกลุ่มเดียวกันหรือตนเองไม่ได้ ผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1-10 ของแต่ละกลุ่มเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และผู้ได้รับคะแนนลำดับที่ 11-15 อยู่ในบัญชีสำรองของกลุ่มนั้น 

สำหรับในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาครั้งนี้  เราจะมีสมาชิกวุฒิสภา (สว.) รวมทั้งสิ้น 200 คน และมีบัญชีสำรอง จำนวน 100 คน ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560


ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ect.go.th แอปพลิเคชัน Smart Vote สายด่วน 1444 หรือขอรับคำปรึกษาได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทุกจังหวัด