วันที่ 12 เมษายน 2567 นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย พร้อมด้วยผู้บริหารเทศบาลนครเชียงราย รวมทั้งทุกส่วนงานราชการของเทศบาลนครเชียราย ชาวชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงราย 4 เขต 65 ชุมชน ร่วมจัดขบวนแห่ไม้ค้ำสรี หรือไม้ค้ำโพธิ์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเพณีล้านนา ในช่วงสงกรานต์ หรือป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ปี 2567 โดยขึ้นที่ พุทธสถานพระธาตุวังซาง ชุมชนน้ำลัด ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ทั้งนี้ทางเทศบาลนครเชียงรายได้สืบสานอนุรักษ์ประเพณีดังกล่าว ร่วมกับคณะศรัทธาชุมชนของเขตเทศบานครเชียงราย ซึ่งไม้ค้ำสรี ที่ชาวบ้านนำมาประดับตกแต่งทั้งหมด จะนำไปประกอบพิธีค้ำผยุงต้นโพธิ์ ที่ได้รับมาจากประเทศศรีลังกา เมื่อ 23 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันต้นโพธิ์ดังกล่าวเติบโตให้ร่มเงาที่สวยงามอย่างมาก
ทั้งนี้พิธีไม้ค้ำสรี และเป็นไปตามความเชื่อของชาวล้านนาที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนานและให้คงอยู่สืบต่อไป
ประวัติ ไม้ค้ำสรี หรือเรียกว่า ไม้ค้ำสรี มหาโพธิ์ (ต้นโพธิ์) คำว่า สะหลี เป็นภาษาพื้นเมือง มาจากคำว่า ศรี โดยมีเรืองเล่าว่า สมัยเมื่ออดีตกาลนั้นได้เกิดลมพายุใหญ่พัดเอากิ่งไม้สะหลี หรือต้นโพธิ์ ภายในวัดหักลงมา จึงทำให้ชาวบ้านช่วยกันทำไม้ค้ำสรี มาถวายยังวัดเพื่อช่วยผยุงต้นโพธิ์ไม่ให้หักโค่นลงมาได้ง่ายอีก ซึ่งนอกจากจะช่วยค้ำต้นโพธิ์ไว้แล้ว ประเพณีดังกล่าว ยังเป็นการช่วยสร้างความสามัคคีให้เกิดกับคนในชุมนม ซึ่งหากผู้ใดได้ร่วมในพิธี หรือ นำไม้ค้ำต้นสรี ก็จะมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตตลอดไป เหมือนได้ค้ำชูพระพุทธศาสนาด้วย