เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567 ที่ห้องประชุมสวางคบุรี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์  นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ปี 2566 ถึงปี 2567 และ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรการ ป้องกันและแก้ไขปัญหา ฝุ่น PM 2.5 ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะที่จังหวัดอุตรดิตถ์ สถิติช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2567 มีจุดความร้อน เกิดขึ้น 2,217 จุดและมีค่าฝุ่น pm2.5 สะสมเกินมาตรฐาน จำนวน 67 วัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นออกขนาดเล็ก PM 2.5 ของจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงได้ยกระดับ  เพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งเรื่องการเน้นย้ำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนให้ความร่วมมือ จัดตั้งจุดตรวจเวรยาม เข้มข้นมากขึ้น รวมทั้งมาตรการ จับปรับ และจับกุมผู้กระทำผิดในการเผาป่า ในขณะเดียวกัน ดำเนินการสร้าง ห้องปลอดฝุ่นในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์เพิ่มขึ้นด้วย มาตรการดังกล่าวของจังหวัดอุตรดิตถ์ สอดคล้องกับการประกาศยกระดับของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติซึ่งสั่งการให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ทั้ง 17 จังหวัดในภาคเหนือ ยกระดับการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าหมอกควันและผู้ลงขนาดเล็ก pm2.5

ทั้งนี้  สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 9 เมษายน นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ได้กำชับให้ยกระดับมาตรการปฏิบัติการ แก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน ฝุ่นละออง PM2.5 ในช่วงสถานการณ์วิกฤต โดยให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงานผ่าน 9 มาตรการ ประกอบด้วย 1.ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานทหารระดมลาดตระเวนพื้นที่เสี่ยงรวมถึงบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้ลักลอบเผาป่าทุกกรณี ย้ำทุกกรณีไม่มีการละเว้น 2.ให้กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำกับดูแลบังคับกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด 3.ให้กระทรวงมหาดไทย สั่งการจังหวัด กำนันผู้ใหญ่บ้านร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดชุดปฏิบัติการลาดตระเวนเฝ้าระวังเสี่ยงต่อการเผา 4.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศ เขตความร่วมมือช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน และ  ให้ประกาศเวิร์คฟอร์มโฮม(Work from Home) ตามความจำเป็น เพื่อผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน 5.ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาตัดสินการรับความช่วยเหลือ การชดเชยต่างๆ จากรัฐหากพบว่ามีการเผาในพื้นที่เกษตรกรเอง 6.ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิ่มความถี่ ปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อป้องกันและบรรเทาสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน ฝุ่นละอองอย่างเร่งด่วน และร่วมกับรายงานความมั่นคงในจัดหาเฮลิคอปเตอร์ให้เพียงพอต่อการช่วยเหลือการดับไฟป่า 7.ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดชุดเคลื่อนที่ลงเยี่ยมบ้านดูแลสุขภาพประชาชนอย่างทั่วถึง ทันท่วงทีและสนับสนุนอุปกรณ์ส่วนบุคคล สำหรับกลุ่มเสี่ยง 8.ให้สำนักงานงบประมาณ พิจารณางบกลางให้จังหวัดเพื่อให้ทันต่อการแก้ไขปัญหาในช่วงสถานการณ์วิกฤต ตามความเหมาะสมและจำเป็นเร่งด่วน  และ  9.กรณีหมอกควันข้ามแดนให้กระทรวงการต่างประเทศยกระดับการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งพม่าและลาว ให้ลดการเผาป่าอย่างทันทีและตั้ง KPI ให้ชัดเจน


นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า  ตามข้อสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์  ได้วางมาตราการคุมเข้มมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน pm เนื่องจากสถานการณ์จุดความร้อนและค่าpmสูงขึ้นติดต่อกันหลายวันในช่วงเดือนมีค-เมย  จึงยกระดับมาตรการการเพื่อแก้ไขปัญหามีดังนี้ คือ 1.ต้นน้ำการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนลด ละ เลิก การเผา และการก่อให้เกิดฝุ่นละอง  2. กลางน้ำ จัดชุดเฝ้าระวัง เวรยาม ชุดปฏิบัติการดับไฟ ทั้งภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ 3. ปลายน้ำ บังคับใช้กฎหมายกับผู้เผาป่า ก่อให้เกิดฝุ่นละอองpm อย่างเคร่งครัด  4. กำหนดเป้าหมาย ผู้มีพฤติกรรมเผาป่าและพื้นที่เป้าหมายที่เสี่ยงการเผา แล้วดำเนินการควบคุมมิให้มีการเผา 5. กำหนดพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งด้านการปกครอง หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และพื้นที่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน เช่น พทป่า พทเกษตร ให้มีเจ้าภาพรับผิดชอบทุกพื้นที่ 6. กำหนดผู้ปฎิบัติงานในการดับไฟป่า ทั้งภาคประชาชน(ชุดเฝ้าระวัง/ดับไฟป่าหมู่บ้านชุมชน) และ ภาครัฐ(จนทดับไฟป่า จนทป่าไม้อุทยาน)โดยประสานการทำงานร่วมกัน  7. ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวของดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตนเองในการป้องกันแก้ไขปันหาแหล่งกำเนิดมลพิษ เช่น ขนส่ง อุตสาหกรรม อปท สาธารณสุข  8.หน่วยงานสาธารณสุข ดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันฝุ่นpm 9.หน่วยงานประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน รณรงค์ให้ประชาชนลดละเลิกการเผาและเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการเผาและก่อมลพิษในหมู่บ้านชุมชนตนเอง