ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ฝ่ายค้าน จริงหรือเปล่า?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-8 มีนาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการทำงานของฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสาเหตุที่ฝ่ายค้านไม่ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลพบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.75 ระบุว่า ควรให้โอกาสรัฐบาลได้บริหารงบประมาณปี 2567 ก่อน รองลงมา ร้อยละ 23.74 ระบุว่า รัฐบาลเพิ่งบริหารประเทศได้แค่หกเดือนจึงยังไม่ถึงเวลาขอเปิดซักฟอกเพื่อล้มรัฐบาล ร้อยละ 23.51 ระบุว่า ฝ่ายค้านไม่มีข้อมูลใด ๆ ในเชิงลึกพอที่จะล้มรัฐบาลได้ ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ฝ่ายค้านเกี้ยเซี้ย (ประนีประนอม) กับรัฐบาล ร้อยละ 5.42 ระบุว่า ฝ่ายค้านอยากร่วมรัฐบาล ร้อยละ 5.34 ระบุว่า ฝ่ายค้านบางพรรคมัวแต่หมกมุ่นอยู่กับประเด็น มาตรา 112 ร้อยละ 4.05 ระบุว่า รัฐบาลบริหารแบบไม่มีช่องโหว่ให้ฝ่ายค้านขอเปิดซักฟอกเพื่อล้มรัฐบาล ร้อยละ 3.05 ระบุว่า ฝ่ายค้านทำงานไม่เป็น และร้อยละ 11.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมติของฝ่ายค้านที่จะขอเปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.09 ระบุว่า เห็นด้วยกับมติของฝ่ายค้านจะขอเปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ รองลงมา ร้อยละ 28.24 ระบุว่า ฝ่ายค้านไม่ควรขอเปิดอภิปายใด ๆ ในเวลานี้ ร้อยละ 26.72 ระบุว่า ฝ่ายค้านควรขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล มากกว่า และร้อยละ 6.95 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำงานของฝ่ายค้าน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.49 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 28.39 ระบุว่า พอใจมาก ร้อยละ 20.84 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 10.84 ระบุว่า ไม่พอใจเลย และร้อยละ 3.44 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบุกทำเนียบรัฐบาลของนายปดิพัทธ์ สันติภาดา เพื่อทวงถามร่างกฎหมายที่ค้างจากฝ่ายบริหาร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 27.25 ระบุว่า เห็นด้วยกับการทวงถาม แต่ไม่ควรบุกทำเนียบรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 25.19 ระบุว่า เห็นด้วยกับการบุกทำเนียบรัฐบาล เพื่อทวงถาม ร้อยละ 22.06 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยทั้งการทวงถามและบุกทำเนียบรัฐบาล ร้อยละ 12.44 ระบุว่า ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน ร้อยละ 9.92 ระบุว่า เป็นเรื่องสมควรแล้วในการติดตามตรวจสอบโดยชอบและเป็นสิ่งที่พึงกระทำ ร้อยละ 8.85 ระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่มีมารยาท ร้อยละ 8.63 ระบุว่า เป็นการก้าวล่วงอำนาจและไม่ให้เกียรติฝ่ายบริหาร ร้อยละ 6.03 ระบุว่า แค่ต้องการให้เป็นข่าว และร้อยละ 3.36 ระบุว่า เป็นการทำตามขั้นตอนของทางราชการ และร้อยละ 9.92 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.18 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.05 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.76 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.58 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.37 สมรส และร้อยละ 3.05 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 23.82 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.95 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.63 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.56 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.04 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.77 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.86 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.37 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.83 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.89 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.39 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.89 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.15 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.37 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.24 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 8.85 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.97 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.20 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.22 ไม่ระบุรายได้