วันที่ 7 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 25-29 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อ “ผู้เสพยาเสพติด” พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.09 ระบุว่า เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายที่ภัยต่อสังคม ควรถูกจับและลงโทษอย่างจริงจัง รองลงมา ร้อยละ 25.50 ระบุว่า เป็นผู้ป่วยที่ควรได้รับการบำบัดรักษา ร้อยละ 23.28 ระบุว่า เป็นผู้ป่วยที่ควรถูกจับเข้าสู่ระบบบำบัดรักษา ร้อยละ 12.67 ระบุว่า เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายที่ควรถูกจับและลงโทษ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านมาตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในขณะนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.92 ระบุว่า การปราบปราม (จับกุมผู้ค้า/สกัดกั้นตามแนวชายแดน/ยึดทรัพย์สินผู้ค้ายาเสพติด) รองลงมา ร้อยละ 14.89 ระบุว่า การส่งเสริม (ให้หมู่บ้าน/ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด) ร้อยละ 11.30 ระบุว่า การป้องกัน (การสร้างความตระหนักและป้องกันในกลุ่มเด็กและเยาวชน) ร้อยละ 6.18 ระบุว่า การบำบัดรักษา (บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด/ติดตามดูแลช่วยเหลือ/ให้โอกาส) ร้อยละ 3.82 ระบุว่า การป้องปราม (ในสถานบันเทิง) ร้อยละ 3.51 ระบุว่า การบำบัดผู้ติดยาเสพติดที่มีอาการจิตเวช และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับมาตรการที่ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดมากที่สุด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.28 ระบุว่า การป้องกัน (เอาใจใส่ดูแลเด็ก/เยาวชนในครอบครัว ในหมู่บ้าน/ชุมชน) รองลงมา ร้อยละ 33.28 ระบุว่า ปราบปรามยาเสพติด (แจ้งเบาะแส/ให้ข้อมูลข่าวสาร) ร้อยละ 11.45 ระบุว่า การบำบัดรักษา (นำผู้เสพ/ผู้ติดเข้ารับการบำบัดรักษา ช่วยติดตามดูแล ช่วยเหลือ ให้โอกาส) และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อจำนวนผู้ใช้กัญชาและกระท่อมในทางที่ผิดเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการปลดกัญชาและกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 78.09 ระบุว่า การใช้กัญชาและกระท่อมในทางที่ผิด มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 13.97 ระบุว่า การใช้กัญชาและกระท่อมในทางที่ผิด มีจำนวนมากเหมือนเดิม ร้อยละ 3.82 ระบุว่า การใช้กัญชาและกระท่อมในทางที่ผิด มีจำนวน ลดน้อยลง ร้อยละ 2.75 ระบุว่า การใช้กัญชาและกระท่อมในทางที่ผิด มีจำนวนน้อยเหมือนเดิม และร้อยละ 1.37 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความพึงพอใจในผลการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลในช่วง 3 เดือน ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.02 ระบุว่า ไม่พึงพอใจเลย รองลงมา ร้อยละ 31.98 ระบุว่า ไม่ค่อยพึงพอใจ ร้อยละ 22.44 ระบุว่า ค่อนข้างพึงพอใจ ร้อยละ 6.64 ระบุว่า พึงพอใจมาก และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.34 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.82 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.19 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.06 สมรส และร้อยละ 2.75 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 24.89 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.42 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.71 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.87 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.11 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.77 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.57 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.69 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.06 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.42 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 21.53 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.96 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.12 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.09 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.40 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 8.85 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.59 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.12 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.83 ไม่ระบุรายได้
#นิด้าโพล #ยาเสพติด #กัญชา