ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ 75 ปี แต่ในปี 2568 อายุของคนไทยโดยประมาณจะอยู่ที่ 85 ปี ยิ่งอายุยาวนานขึ้น การดูแลตัวเองในยุคปัจจุบันยิ่งต้องมีรายละเอียดมากขึ้น ตามยุคสมัยที่เปลี่ยน อาหารการกิน ที่มีความแปรรูปมากขึ้น ส่งผลต่อความอักเสบต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ เส้นเลือดสมองตีบ ตามมาเท่าตัว  อาหารจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดในยุคอนาคต ที่จะป้องกันหรือก่อโรค 

พญ.กอบกุลยา จึงประเสริฐศรี ผู้อำนวยการ ศูนย์ Premier Life Center โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวถึงการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุว่า ปัจจุบันผู้สูงอายุไทย มีชีวิตยืนยาวมากขึ้นจากวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีในการรักษา แต่ต้องสู้กับอาหารที่เปลี่ยนรูปแบบไป ซึ่งอาหารแปรรูปต่างๆ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย เป็นต้นเหตุของโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น การเลือกอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ห่างไกลโรคภัยในผู้สูงวัยดังนี้

กินน้อยแก่ช้า กินมากแก่ไว เมื่ออายุมากขึ้น การใช้พลังงานของร่างกายจะไม่ได้ต้องการอาหารเยอะมาก แต่สามารถมีพลังงานได้เพียงพอ สังเกตได้จาก ผู้สูงอายุที่อายุยืนเป็นร้อยปีขึ้นไปมีรูปร่างไม่ใหญ่ น้ำหนักอยู่ในเกณท์ดี ไม่อ้วน ถ้าหากเรากินให้น้อยลง หรือทำ (IF) Intermittent Fasting จะทำให้ร่างกายเกิดกระบวนการ Autophagy คือ เกิดการเก็บกินเซลล์ที่ตายแล้ว เซลล์ที่ไม่ดี ( Cell Death ) จะทำให้สุขภาพดีอายุยืนยาวขึ้น

น้ำตาลคือยาพิษ ยิ่งกินยิ่งแก่ เป็นคำเปรียบเปรยให้เข้าใจง่าย ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์นั้น น้ำตาลเมื่อเข้าสู่เซลล์ในปริมาณที่มากเกินพอดี จะเกิดกระบวนการ Advance Glycation End Products ( AGEs ) นั่นก็คือน้ำตาลโมเลกุลเหนียวจะไปเกาะตามเซลล์ต่างๆ ไปเกาะโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกาย หรือคอลลาเจน ทำให้ผิวเหี่ยวง่าย และสามารถเกาะโปรตีนสำคัญของสมอง เกิดความเสี่ยงสมองเสื่อมเป็นอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน


                 
เลือกกินแป้ง แป้งที่ดีคือแป้งไม่ขัดใย และข้าวไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มัน เผือก ฟักทอง ธัญพืชต่าง แครอต ซึ่งกลุ่มนี้คือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ( Complex Carbohydrate ) ค่อยๆให้พลังงานะหว่างวันและอยู่ท้อง
                  
เลี่ยงผลไม้น้ำตาลสูง ผลไม้จะช่วยให้วิตามินและแร่ธาตุ ก็จริงแต่ควรเลือกผลไม้ที่ไม่หวานเกินไป เพราะผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ( High Glycemic index ) เช่น อินทผลัม (GI 103) แตงโม สับปะรด (GI 66) มะม่วง(GI 56)  ส่งผลให้มีภาวะการอักเสบในร่างกาย ( Inflamation ) 

ควรเลือกผลไม้ชนิดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ไม่หวานมาก ( Low Glycemic Index ) เช่น อโวคาโด (GI 15) เชอร์รี่(GI 22)   แอปเปิล (GI 38)  สตรอว์เบอร์รี่ (GI 40) 
   
 เลือกกินผักผลไม้หลากสี เลือกกิน ผัก ผลไม้ ที่หลากสี เพราะผลไม้ต่างสีกันจะได้สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และวิตามิน ที่แตกต่างกัน อาทิ มะเขือม่วง สีม่วงให้สาร Anthocyanin เป็นตัวปกป้องเม็ดสีผิว ผิวจะแข็งแรง สีแดงจากมะเขือเทศจะได้ Lycopene โดยมะเขือเทศต้องผ่านความร้อนถึงจะมีไลโคปีนออกมา ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย อีกทั้ง Carotenoid ได้จาก ผักสีเหลือง แคร์รอต ฟักทอง สุดท้ายนี้ Alpha-carotene ได้จากผักสีเขียว


                   
โปรตีนที่ดี คือ โปรตีนจาก ปลา ไข่ ถั่วเห็ด สาหร่าย สำหรับไข่ไก่ หากรับประทาน ให้ถูกวิธีเป็นต้ม นึ่ง ลวก ไม่ทอดผัดน้ำมันเยอะ ก็จะไม่กระทบกับคลอเรสเตอรอลสูง  
                  
 ไม่ควรกินอาหารซ้ำๆ เพราะเราจะได้ นิวเทรียนท์ หรือสารอาหารเดิมๆ ได้วิตามินซ้ำ สารอาหารไม่พอเพียง
                
 เลือกกินไขมันดี ได้จาก อโวคาโด Olive oil และถั่วต่างๆ     
              
กินอาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เพื่อให้เซลล์ทำงานได้ง่ายขึ้น คือ ผักใบเขียว
เลี่ยงอาหารแปรรูป ฮอทดอก ไส้กรอก เบคอน อาหารในกลุ่ม Ultra Process Food นี้ รวมถึงสารทดแทนความหวาน ความเสี่ยงของการทานอาหารจำพวกนี้ มีผลเสี่ยงโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล ถึง 49 %