“พัชราวาท” มอบนโยบายจัดทำคำของบฯ 68 กำชับให้สอดรับนโยบายรัฐบาล เน้นแก้ปัญหาและส่งผลดีกับประชาชน ทั้งระยะสั้นระยะยาว
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมเพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และตัวแทนจากสำนักงบประมาณ เข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง
พล.ต.อ.พัชรวาท ได้มอบนโยบายว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่สําคัญยิ่งในการดําเนินงาน ตามนโยบายของรัฐบาล เรื่อง การจัดทํา งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ประกอบด้วย 4 นโยบายหลัก 1.สร้างรายได้ 2.ลดรายจ่าย 3.ขยายโอกาส 4.บริหารแผ่นดิน กระทรวงฯ มีหน้าที่ รักษา และพัฒนาทรัพยากร อันทรงคุณค่าของประเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้อง ประชาชน ดังนั้น ขอมอบนโยบายให้จัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. 2568 โดยให้มีเกณฑ์ ในการลําดับความสําคัญโครงการที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์จริงในกรอบระยะเวลาดําเนินการ ตั้งแต่ระยะสั้น ไปจนถึงระยาว ให้สอดคล้อง ตามนโยบาย ของรัฐบาล
1. ด้านสิ่งแวดล้อม การแก้ไข ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ขนาดเล็ก PM2.5 ให้ทํางาน เชิงรุกสื่อสารทุกช่องทางเพื่อให้ประชาชนเข้าใจบูรณาการกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมให้ทําหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุน ทางวิชาการและประสานความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงาน ที่กํากับผู้ประกอบการที่ก่อให้เกิดมลพิษ เช่น กระทรวง อุตสาหกรรม,กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
2. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ให้ความสําคัญกับการอนุรักษ์ ป้องกัน และฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและการป้องกัน ปราบปรามการบุกรุก ทําลาย ทรัพยากรป่าไม้ ให้เร่งรัด การแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์และป่าชายเลน ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทํากินให้พี่น้องประชาชน การแก้ไขปัญหา ช้างป่าและสัตว์ป่า เช่น ลิง และกระทิงที่ส่งผลกระทบ และสร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้ความสําคัญกับการเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบให้ความสําคัญ กับเศรษฐกิจภาคทะเลด้วยการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนหญ้าทะเล และสัตว์ทะเลหายาก รวมถึงการป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาธรณีพิบัติภัยให้พัฒนาระบบ เครื่องมือ และการแจ้งเตือนภัยพิบัติ ทั้งในเรื่องดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก และสร้าง ความตระหนัก ความร่วมมือจากประชาชน ให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัย แหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติ อุทยานธรณี ให้ดูแลและพัฒนา อย่างเหมาะสมเพื่อเป็นฐานพัฒนาเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศ สําหรับสวนสัตว์ และสวน พฤกษศาสตร์ ให้ยกระดับ เทียบเท่ามาตรฐานสากล
3. ด้านการบริหารจัดการน้ำ พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำผิวดินและการจัดการ น้ำบาดาลเพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้เพียงพอ ต่อความต้องการทั้งภาคเกษตรอุตสาหกรรม และบริการรวมถึงการจัดทําระบบกระจายน้ำให้ครอบคลุม และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนให้จัดหาเครื่องจักรกลต่าง ๆ ให้เพียงพอเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง
4. ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต้องมีวิธีการโครงการกิจกรรมในรูปแบบใหม่ๆ ที่สื่อสารให้ประชาชนเห็นความสําคัญของปัญหา และเข้ามามีส่วนร่วมในการ ดําเนินงาน โครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ดําเนินการต้องเกิดผลลัพธ์ ทั้งทางด้านการปรับตัวการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการเก็บกักเพื่อนําไปสู่เป้าหมายการเป็นกลาง ทางคาร์บอนในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065
5. ด้านการบริหารจัดการ ให้พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีการสื่อสารสร้างความเข้าใจกับประชาชนมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นประชาชนและเยาวชน