วันนี้ (18 ม.ค.67) นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก สามารถ เจนชัยจิตรวนิช ระบุว่า
สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศครับ วันนี้ผมสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ก็จะมาสื่อสารกับพ่อแม่พี่น้องประชาชน ผ่านรายการสามารถ 5 นาที ช่องทางเฟซบุ๊ก สามารถ เจนชัยจิตรวนิช และช่องทาง TikTok: jopstoploss หรือ Jop-samart ครับ วันนี้เราจะพูดกันถึงเรื่องที่พ่อแม่พี่น้องส่งข้อมูลมาถามผมกันเข้ามาเยอะมาก กฎหมายเรื่องเยาวชนทำผิดควรจะต้องแก้ไขหรือไม่ เพราะเคสล่าสุดที่อำเภอ อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ก็คือกรณีป้ากบหรือป้าบัวผัน คนลงมือก็คือเยาวชนอายุ 14-16 ปี ตอนนี้เรามีกฎหมายอายุไม่เกิน 15 ปี ยังไม่ต้องรับโทษ นั่นคือสิ่งที่เราถอดบทเรียนมาจากเรื่องของการกราดยิงที่ห้างพาราก้อนก็เป็นเยาวชน แล้วเวลานี้เยาวชนรายนั้นก็ได้รับการปล่อยตัวไปแล้ว รายละเอียดเรื่องนี้ผมว่า พ่อแม่พี่น้องอ่านข่าวจากข่าวได้
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเราจะทำยังไงให้สังคมนั้นปลอดภัย ก็คือต้องทบทวนกฎหมายครับ เราต้องยอมรับก่อนว่า ณ เวลานี้เด็กที่อายุ 14 ปีในปัจจุบัน กับอายุ 14 ปีในอดีต มันไม่เท่ากัน วันนี้ถ้าเราเอาคนที่อายุ 60 ปี เวลานี้ก็คือคนที่เกิดปี พ.ศ.2507 ถ้าเราย้อนกลับไปตอนที่เขาอายุ 14 ปี คนที่เกิดปีพ.ศ. 2507 ตอนนั้นก็ต้องปีพ.ศ. 2521 เราลองไปดูครับตอนปีพ.ศ. 2521 มือถือยังไม่มีเลยนะครับ บริบททางสังคมจะเป็นอีกแบบนึง ถ้าเทียบกับปัจจุบัน วันนี้มีทั้งโทรศัพท์ มีทั้งอินเตอร์เน็ท มีรถไฟฟ้า มีการเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้อย่างรวดเร็ว เป็นโลกไร้พรหมเเดนอย่างแท้จริง จะคุยกับคนที่อยู่อเมริกา จะคุยกับคนที่อยู่สวิสเซอร์แลนด์ คุยได้อย่างเรียลไทม์เห็นหน้ากัน เหมือนที่เราคุยกันอยู่ ณ เวลานี้ครับ
นายสามารถ กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดทีผมอยากจะบอกก็คือ วันนี้เองการเรียนรู้จากสังคมนั้น เด็กทำได้ง่ายมากเด็กสมัยนี้โตเร็วกว่าสมัยก่อน แต่วันนี้กฎหมายของประเทศเรายังลักลั่นอยู่ คำว่ากฎหมายเรายังลักลั่นอยู่ หมายความว่าอย่างไรคือ ถ้าวันนี้เด็กเป็นผู้เสียหาย พ่อแม่เด็กได้ประโยชน์ หมายความว่า ยกตัวอย่างเคสของคุณสมรักษ์ เด็กอายุ 17 ปี ไม่เกินอายุ 18 ปี คุณสมรักษ์สมยอมไปทำอะไรด้วย เด็กก็สมยอมแต่พ่อแม่เด็กไม่ยอม สมมุตินะครับ และมาเรียกค่าเสียหายก็เกิดขึ้นเห็นไหมครับ ว่าสุดท้ายคุณสมรักษ์ก็ต้องโทษเพราะว่ามีความสัมพันธ์กับเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี
แต่กลับกันครับ พอเด็กอายุ 14-16 ปี ไปทำร้ายคนอื่นเขา แต่พอแม่เด็กกลับไม่ต้องมารับโทษด้วย หมายถึงโทษในคดีอาญานะครับ ส่วนโทษทางแพ่งก็ไปว่ากันตามมาตราการทางแพ่ง แต่มั้งนี้หมายถึงโทษทางอาญา พ่อแม่เด็กไม่ต้องรับโทษด้วย เด็กก็ไม่ต้องรับโทษด้วย แต่กลายเป็นว่า มีการสูญเสีย มีการเดือดร้อน มีความเสียหายเกิดขึ้น นี่คือสิ่งที่ผมบอก ว่ากฎหมายกำลังลักลั่นอยู่ มันต้องทำให้กฎหมายนั้นเป็นธรรมกับสังคม ในเมื่อเวลาโดนกระทำอนาจารหรือล่วงละเมิดทางเพศ พาพ่อแม่เด็กเข้ามาเรียกค่าเสียหาย เข้ามามีส่วนได้ส่วนเสีย แต่กลับกันพอเด็กไปกระทำคนอื่น ไปฆ่าคนอื่น ไปทำร้ายคนอื่น พ่อแม่เด็กไม่ต้องรับโทษอาญา ตัวเด็กก็ไม่ต้องรับโทษอาญา นั่นคือสิ่งที่ผมคิดว่า ราควรจะต้องทบทวนกฎหมาย เพื่อให้กฎหมายนั้นมีความเป็นธรรม
อย่างที่ผมนำเรียนครับ ตั้งแต่ต้นว่าวันนี้เด็กเองเยาวชนนั้นเติบโตกว่าในอดีตเพราะว่า ด้วยข้อมูลข่าวสาร ด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้เร็วขึ้น สมัยก่อนโทรศัพท์ไม่มี ต้องเขียนจดหมายหากันก็ใช้เวลายาวนาน รถไฟฟ้าความเร็วสูงไม่มี เครื่องบินไม่มี เยอะแบบนี้ ไม่มีก็บินไม่ได้หรอกครับ วันนี้โลกเร็วแล้ว กฎหมายก็ต้องรวดเร็วตามไปด้วย ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดผมคิดว่า เรื่องนี้จะต้องเริ่มจากกระทรวงยุติธรรม ต้องมีการทบทวนกฎหมายแล้วเสนอไปยังรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาล เอาร่างที่มีการ ถกเถียงกันว่าต้องมีการเพิ่มประเด็นไหนอย่างไร เพื่อให้กฎหมายนั้นเป็นธรรมกับประชาชน ประชาชนจะได้รับความคุ้มครอง เพื่อให้รัฐบาลร่างมา แล้วเอาเข้าสู่สภา เดี๋ยวพรรคฝ่ายค้านเขาก็ร่วมครับ และก็บรรจุวาระผ่านไป นายสามารถ กล่าวต่อว่า
ยกตัวอย่างวันนี้ พ.ร.บ. อากาศสะอาดก็ผ่านไปเรียบร้อยนะครับ ผมถึงบอกว่าวันนี้เองเราต้องมีกฎหมายใหม่ ที่จะคุ้มครองประชาชน และเราต้องปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้ทันกับยุคสมัยด้วยครับ ขอบคุณครับ