จากกรณีเมื่อวันที่ 3 ม.ค.67 ที่ผ่านมา ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Wannarrong Sa-ard ได้โพสต์ปลาออร์ฟิช พร้อมระบุข้อความว่า "ปลาอะไรคะ ติดเรือขึ้นมาค่ะ (เรือ ก.เทพเจริญพร 15) ละงู สตูล"

วันที่ 4 ม.ค.67 รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก"อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฐ์"   โดยแชร์ภาพ ปลาออร์ฟิช จากผู้ใช้เฟซบุ๊ก Chayajit Deekrachang พร้อมระบุว่า  "ภาพชัดๆ ของปลา "ออร์ฟิช" ที่เรืออวนดำ จับมาได้จากทะเลอันดามัน นอกชายฝั่งจังหวัดสตูลนะครับ ... กำลังจะถูกส่งเข้ามากรุงเทพฯ และน่าจะไปจัดเก็บที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ครับ

เน้นอีกครั้งว่า ตัวนี้ติดอวนล้อมปลากลางน้ำทะเล ในฝั่งทะเลอันดามันครับ ไม่เกี่ยวอะไรกับแผ่นดินไหว สึนามิที่ญี่ปุ่น

และที่บอกว่า การเจอปลาออร์ฟิชแปลว่าจะเกิดแผ่นดินไหวนั้น ก็เป็นแค่ความเชื่อตามๆ กันมาครับ (จริงๆ ส่วนใหญ่ที่เจอมันขึ้นมาผิวน้ำ ก็เพราะมันป่วยหรือใกล้ตาย)

คาดว่าครั้งนี้ที่มันมาใกล้ทางฝั่งไทย เพราะน้ำทะเลมหาสมุทรอินเดียมีการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำเกิดขึ้นครับ เรียกว่า ปรากฎการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) ทำให้มหาสมุทรอินเดียบริเวณเขตศูนย์สูตร มีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลเย็นผิดปกติ"

 

 

ขอบคุณ 

- เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฐ์

- เฟซบุ๊ก Wannarrong Sa-ard

- เฟซบุ๊ก Chayajit Deekrachang

 

#ปลาออร์ฟิช #เตือนภัยพิบัติ #แผ่นดินไหว