วันที่ 17ธ.ค.66 เวลา 11.00 น.ที่วัดบ้านปอแดง ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร นายองค์การ ชัยบุตร สภาชิกสภาผู้แทนราษฎร(บัญชีรายชื่อ)พรรคก้าวไกล ลงพื้นที่รับหนังสือร้องเรียนขอให้ติดตามแก้ไขปัญหาการออกโฉนดที่ดิน กรณีรัฐบาลประกาศเป็นป่าถาวรทับที่ดินประชาชนกว่า 417 แปลง โดยมีนายศุภวิชญ์ บุญทศ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร เขต 3 (มหาชนะชัย)นางสมจิตร สมซื่อ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่2 นายพงษ์ศักดิ์ กลางนา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่10 ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย และชาวบ้านกว่า70 คนเข้าร่วม
นายศุภวิชญ์ เปิดเผยว่าด้วยชาวบ้านปอแดง หมู่ที่ 2และ10 ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ได้มีประชาชนเข้าอยู่อาศัยก่อตั้งหมู่บ้านปอแดงแห่งนี้ ก่อนที่รัฐบาลประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 บังคับใช้ โดยประชาชนที่อยู่อาศัยได้แผ้วถางเพื่อสร้างที่ทำกินในพื้นที่จำนวนมากและมีใบ สค.1และนส.3 มาก่อนปี 2504 ก่อนมีประกาศฉบับดังกล่าวบังคับใช้ จากนั้นราชการประกาศให้ประชาชนที่มีที่ทำกินอยู่ก่อนประกาศกฏหมายที่ดินฯบังคับใช้ให้ไปแจ้งการครอบครอง (สค.1)ต่อนายอำเภอ ซึ่งชาวบ้านมี สค.1 จำนวน 127 แปลง และได้ออก น.ส.3 แล้วจำนวน 290 แปลง รวมทั้งหมด 417 แปลง ตามบัญชีขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย (แบบท้องถิ่น) และชาวบ้านได้จ่ายค่ารังวัดไปแล้วแปลงละ 2,250 บาท และได้รังวัดเสร็จทุกแปลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ซึ่งบัญชีออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายแบบท้องถิ่นทั้งหมด255 คน จำนวน 416 แปลง มีเอกสารหลักฐานอยู่กับเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดยโสธร สาขามหาชนะชัย นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านอีกบางส่วนยังไม่ได้ไปแจ้งการครอบครอง สค.1 จนถึงปัจจุบันชาวบ้านยังไม่ได้ออกโฉนดแม้แต่แปลงเดียว ทำให้ขาดโอกาสในการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างสมบรูณ์
ส่วนประเด็นที่เป็นปัญหาคือ 1.รัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทยได้เสนอเป็นมติครม.ประกาศให้พื้นที่ชาวบ้านเป็นเขตป่าถาวร(ป่าหอพระคุณ)ในปี
พ.ศ.2504 ซึ่งประกาศภายหลังที่ประชาชนได้สิทธิครอบครอง สค.1 และ น.ส.3ในที่ดินมาก่อนประกาศเป็นเขตป่า มีจำนวน 417 แปลง/255 คน โดยสค.1มีตั้งแต่ปี2498 แต่เขตป่าถาวรประกาศปี 2504 ส่งผลให้ทับสิทธิชาวบ้านไม่วามารถออกโฉนดได้ และชาวบ้านต้องปฏิบัติตามกฏกระทรวงฉบับที่ 43 ข้อ16 ข้อ7(2) ข้อ10(2-3) ข้อ12 และข้อ15 แต่เจ้าหนักงานที่ดินมาทำการรังวัดมาตั้งแต่ปี2555 ถึงวันนี้ก็เป็นเวลามา 11 ปี
2.ชาวบ้านได้ฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลปกครอง ซึ่งศาลได้ตัดสินให้ชนะคดี โดยให้กรมที่ดินทำสัญญายอมประมาณ 90 สำนวน แต่ชาวบ้านที่ได้ทำสัญญาจนถึงวันนี้ยังไม่ได้โฉนดแม้แต่แปลงเดียว
3.ชาวบ้านเสนอให้จำแนกที่ดินที่หน่วยงานราชการใช้จริงออกเช่นศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดยโสธร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร ซึ่งเป็นสถานที่ราชการออก ส่วนพื้นที่เหลือขอให้ประการยกเลิกเขตป่าถาวรเพื่อง่ายต่อการออกโฉนดหรือเดินสำรวจออกโฉนดต่อไป
นายองค์การฯ กล่าวอีกว่าตนจะนำปัญหาดังกล่าวไปพูดในสภา พร้อมทั้งนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการการที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎรและส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป