วันที่ 17 ธ.ค 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงความเคลื่อนไหวของวุฒิสภา เกี่ยสวกับประเด็นการตอบคำถามการรับฟังความเห็นเบื้องต้นของ สว. เกี่ยวกับแนวทางการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ซึ่งคณะอนุกรรมการรับฟังความเห็น ในกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ ได้จัดส่งคำถามดังกล่าวให้ ดำเนินการตอบ ในระหว่างวันที่ 18 - 19 ธ.ค.นี้ ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) ได้หารือเบื้องต้นว่าจะให้ สว. ใหัความร่วมมือแสดงความเห็นตอบคำถามอย่างอิสระ
โดยนายวันชัย สอนศิริ สว. ในฐานะเลขานุการวิปวุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ว่าสำหรับคำถามประชามตินั้น เจ้าหน้าที่จะแจกให้สว. ที่บริเวณหน้าห้องประชุม ในวันที่ 18 ธ.ค. นี้ เพื่อให้ สว.ได้แสดงความเห็น ทั้งนี้ในที่ประชุมวิปวุฒิสภาได้หารือว่าจะให้สว.ให้ความร่วมือตอบแบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 18 - 19 ธ.ค. จากนั้นจะรวบรวมความเห็นของสว. ส่งคืนไปยังกรรมการประชามติ
“การให้ความเห็นถือให้เป็นอิสระของแต่ละบุคคล ใครจะเห็นด้วยหรือไม่ หรือมีความเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร ถือเป็นอิสระไม่ไปก้าวล่วง ชี้นำ หรือกดดันใดๆ ทั้งนี้ สว. เข้าใจและผ่านกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาหลายครั้ง อีกทั้งในที่ประชุมวุฒิสภาจะไม่มีการตั้งประเด็นพิจารณาหรือหารือ มีเพียงแค่ประธานในที่ประชุมจะแจ้งให้ทราบว่าจะมีเอกสารแจกเพื่อขอความเห็น ขอให้ทุกคนให้ความเห็นตามอิสระ โดยไม่มีการเปิดอภิปราย” นายวันชัย กล่าาว
นายวันชัย กล่าวว่า ในการพิจารณาประเด็นดังกล่าวทางคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ สว. เป็นประธานกมธ. ได้นัดประชุมในวันที่ 18 ธ.ค. เวลา 09.30 น. โดยมีวาระพิจารณาและประเด็นพูดคุยที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งจะให้ กมธ. ร่วมแสดงความเห็นเป็นอิสระ
เมื่อถามว่าคำถามที่ถูกส่งมามีรายละเอียดที่อาจทำให้เกิดปัญหาได้หรือไม่ นายวันชัย กล่าวว่า ตนเชื่อว่าไม่มีประเด็นให้เกิดปัญหา แม้ตามคำถามจะสอบถามถึงรายละเอียดว่าเห็นว่ามีเนื้อหาใดควรแก้ไข หรือจำนวนครั้งที่ทำประชามติ เพราะเป็นเพียงประเด็นที่นำไปประกอบการพิจารณาเท่านั้น แต่สาระต้องเป็นไปตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ กับข้อเสนอไม่ต้องทำประชามติก่อนเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้รัฐสภาพิจารณา นายวันชัย กล่าวว่า หากเป็นไปตามแนวเดิม คือ แก้ไขมาตรา 256 ว่าด้วยกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือให้มี สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ต้องทำตามการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คือ ทำประชามติก่อน เว้นแต่ไม่แก้ไขทั้งฉบับ ซึ่งตนมองว่าหากไม่แก้ไขหมวด 1 และ หมวด 2 ถือว่าไม่ใช่แก้ทั้งฉบับ แต่หากต้องหาทางออกและตีความ ควรใช้เวทีของรัฐสภาพิจารณาให้ตกผลึกร่วมกัน เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน แลเเพื่อเป็นทางออกที่ลดความขัดแย้งในการแก้รัฐธรรมนูญ
“ผมมองว่ารัฐธรรมนุญนี้หากตัดความรู้สึกว่ามาจาก คสช. ไปได้ ไม่ต้องแก้ไข แต่หากจะปรับปรุง คงมีแค่การแก้คำปรารภ ตัดคำว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และ สภานิติบัญญัติแห่งชาติออก เพราะทั้ง 2 องค์กรมาจาก คสช. และปรับแก้ไขปรับปรุงคำระบุว่า โดย สส. ที่มาจากประชาชน แค่นั้นก็จบ ส่วนรายมาตราใดที่ไม่พอใจก็ปรับปรุงร่วมกัน ง่าย เร็ว สะดวก ไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองอะไร เพราะรัฐธรรมนูญนี้หากตัดเรื่องสว. โหวตนายกฯ จะได้ประชาธิปไตยเต็มใบ ผมอยู่ในท้องเรื่อง เข้าใจเรื่องนี้ดี” นายวันชัย กล่าว
เมื่อถามว่าหากกรณีการรับผิดชอบต่อมวลชนในการมีส่วนร่วมกับการแก้ไขรัฐะรรมนูญ นายวันชัย กล่าวว่า สามารถเปิดเวทีให้ประชาชนเข้ามาแสดงความเห็นด้วย แต่ตนมองว่าหากใช้กลไกของสภาฯ ที่เป็นตัวแทนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถทำได้ เพราะส.ส.ร.นั้นไม่มีทางรู้