วันที่ 19 พ.ย.66 พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊ก พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ระบุว่า...

ที่ดินจุฬาฯ + จอมพล ป. VS ที่ดินสภากาชาด และ ที่ดินอุเทนถวาย ตอนที่๑

เรื่องที่ดินจุฬาคงสรุปได้สั้นๆว่า อธิการบดีฝรั่งของจุฬาฯ ทูลขอในหลวง

รัชกาลที่ 8 พระราชทานที่ดินให้จุฬาฯ และขอยกเลิกหนี้สินที่ค้างอยู่ด้วย ในหลวงรัชกาลที่ ๘ จึงได้พระราชทานที่ดินให้จุฬาฯ จริง แต่พระองค์น่าจะไม่ทรงทราบถึงรายละเอียด ว่ามีหน่วยงานไหนใช้ประโยชน์อยู่ในที่ดินผืนนั้นบ้าง เพราะ (1) พระองค์ยังทรงเป็นยุวกษัตริย์อยู่ และ(2) รายละเอียด เหล่านี้เป็นหน้าที่ของทางราชเลขาธิการ ( พ.ต.สเหวก นิรันดร) และ จอมพล ป. นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า บุคคลทั้งสอง มีความใกล้ชิดกันมาก แต่จะได้มีการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบหรือไม่ว่า การจะออกโฉนดที่ดินให้จุฬาฯ ควรมีขอบเขตแค่ไหน และทำไมถึงรวมที่ดินของสถานเสาวภา วิทยาลัยอุเทนถวาย และ สนามกีฬาแห่งชาติ เข้าไปด้วย

จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยมากทีเดียวครับ

ส่วนการออก พรบ.โอนที่ดินให้จุฬา สามารถกระทำได้เร็วขึ้น เพราะพอดีจอมพล ป.เข้ามาเป็นอธิการบดี ซึ่งทำให้เกิดมีข้อสงสัยทางประวัติศาสตร์ขึ้น ว่า หลังจากจุฬาฯได้ที่ดินไปแล้ว ใครได้เช่าช่วงไปบ้าง ในราคาเท่าไร เพราะ จอมพล ป. เป็นอธิการบดีติดต่อกันหลายสมัย

ในขณะเดียวกันกับที่ขุนนิรันดร ก็อยู่ในตำแหน่งราชเลขาธิการควบคู่ไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ได้มีบุคคลหลายคนออกมาพูดว่าที่ดินจุฬาฯนั้น จอมพล ป. เป็นผู้ออก พรบ.ยกที่ดินให้ เพราะขณะนั้นมีอำนาจคุมทั้งพระคลังข้างที่ คุมประธานคณะผู้สำเร็จราชการ รวมทั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และยังเป็นอธิการบดีจุฬาเองอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ในยุคนั้น จอมพล ป.มีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จจริงๆ ไม่มีใครเถียง

แต่ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับพื้นดินกลางเมือง ขนาดพันไร่นั้นทาง

จอมพล ป.ไม่กล้าทำอย่างเด็ดขาด ถ้า ในหลวง ร.8 ไม่ทรงพระราชทานให้ เพราะ ในขณะนั้น ราษฎร กำลังเรียกร้องให้ยุวกษัตริย์ เสด็จนิวัติพระนครอย่างมากมายแล้ว ยังเคยมีกรณีตัวอย่าง แบบนี้เกิดขึ้นมาแล้ว ที่พวกคณะราษฎร์ จำนวนหนึ่งเอาที่ดินพระคลังข้างที่ในทำเลดีๆไปเร่ขายถูกๆ แต่ก็ถูกนำเรื่องไปอภิปรายในสภา ประชาชนออกมาวิจารณ์อย่างรุนแรง จนเป็นผลทำให้พระยาพหลฯ นายกฯ ในขณะนั้น และประธานคณะผู้สำเร็จราชการ ต้องลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งเหตุการณ์คราวนั้น จอมพล ป. ก็เอาที่ดินไปด้วย 5 แปลง แต่คืนทันก่อนอภิปราย จึงลาออกจากตำแหน่ง รมว.กห ด้วย แต่ก็ต้องออกมาแถลงแก้ตัวพัลวันไปหมด (อนึ่ง นายปรีดี นายควง หลวงธำรงค์ และ คณะราษฏร อีกหลายคนไม่ได้เข้าไปมีส่วนซื้อที่ดินด้วย) ดังนั้นถ้า ร.8 ไม่ทรงอนุญาตจริง จอมพล ป.คงไม่กล้าทำแน่ๆ ครับ เรื่องนี้มันมีปัญหาขึ้นมา ตรงที่ทำไมรัฐบาลไม่เอามาจัดการแยกหน่วยงานที่ยังใช้ที่ทรัพย์สินออกไปเสียก่อน หรือ น่าจะมัวแต่ดีใจกันอยู่ เพราะที่ดินตั้งพันกว่าไร่ จะนำ

มาอนุมัติให้หาผลประโยชน์ได้ ก็มีแค่อธิการบดีแค่คนเดียว มันน่าสนุกอยู่ไหมละครับ

เรื่องนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่ทางจุฬาฯไม่ควรจะเก็บไว้เฉยๆ เอามาเปิดเผยกันชัดๆไปเลย หรือทางอุเทนถวาย ซึ่งมีส่วนได้ส่านเสียโดยตรงกับทางกับจุฬาฯน่าจะหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาถามทางจุฬาฯก็น่าจะดีที่สุด