รางวัลแห่งความสำเร็จนี้ ได้จากงานแสดงนวัตกรรม ที่ เยอรมนี  The International Trade Fair-
Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2023)  โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้นำทีมนักวิจัยหลาย 10 ชีวิตพร้อมด้วยนวัตกรรมจากงานวิจัยไปจัดแสดง หนึ่งในนั้นคือ เครื่องป้องกันเชื้อรา ที่คิดค้นและปรับปรุงโดย ทีมนักวิจัยจากสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ด้วยการใช้เทคนิค ไบโพลาร์ ไออ้อน ซึ่งปรับปรุงมาจากเครื่องกำจัดไวรัสโควิด และฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ใช้แรงลมเป็นตัวกระจายประจุ ให้ฟุ้งกระจายในเรือนเพราะชำ ที่เกษตรกรใช้ปลูกกาแฟและดอกเบญจมาศ ในพื้นที่โครงการหลวง ซึ่งจากการทดสอบนานนับปี พบว่า สามารถลดปัญหาเชื้อราที่เกิดขึ้นกับโรคพืชอย่างได้ผล นี่ทำให้นักวิจัยจากนานาชาติ ที่เข้าประกวดงานนวัตกรรม ที่เยอรมนียอมรับและ มอบเหรียญนวัตกรรมระดับเหรียญเงินให้กับทีมนักวิจัย
นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ บอกว่า หลายคนอาจจะ งง ว่ามันไปด้วยกันได้ไง ระหว่างการทำโดรนแปรอักษรกับงานนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดเชื้อราในโรคพืช   นั่นเป็นเพราะเรามองว่า ในเครื่องบินหนึ่งลำ มันไม่ใช่แค่เรื่องบนฟ้า แต่ยังมี วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ไปประยุกต์ได้อีกหลายอย่าง จนออกมาเป็นเครื่องฟอกอากาศช่วงโควิด19 ต่อยอดมาเป็นเครื่องป้องกันเชื้อราเพื่อใช้ทางเกษตร ทั้งที่หลายคนยังไม่มั่นใจในประสิทธิภาพในตอนแรกๆ แต่ท้ายที่สุดก็ได้ รับการยอมรับเป็นวงกว้างถึงความมีเหตุมีผลในการใช้เทคโนโลยีจัดการกับไวรัส
และใบประกาศจากยุโรป ที่ระบุมอบให้ ​​​​​​​สมาคม
“กีฬา”เครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ( RCSA ) สมาคมกีฬา หนึ่งเดียวจากไทย คือ รางวัลที่การันตี ไปอีกขั้น ว่าเราเป็นมากกว่ากีฬา แม้เราไม่ได้อยู่ใน ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ โอลิมปิก แต่เราก็หาทางสร้างชื่อในแบบที่คาดไม่ถึง นั่นคือ “ช่วยสังคม” เป็นสิ่งที่เราร่วมสร้างกันมาตลอด 15 ปี ​​​​​​​ ​​​​​​​