ประกันสุขภาพในปัจจุบันมีให้เลือกอยู่หลากหลายแผน จนบางทีก็อาจจะทำให้ใครบางคนสับสนได้เมื่อต้องเลือกซื้อ
ซึ่งวันนี้เราจมาพาดูกันว่า จริง ๆ แล้วประกันสุขภาพ ที่แบ่งตามหลักทั่วไปนั้นมีกี่ประเภท และมีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้คนที่สนใจในการวางแผนอนาคตทางการเงินในยามฉุกเฉิน ได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นก่อนเลือกซื้อ
ประเภทประกันสุขภาพ
จริงแล้ว ๆ ประกันสุขภาพสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือประกันสุขภาพกลุ่ม และ ประกันสุขภาพส่วนบุคคล โดยทั้งสองแบบก็มีความต่างกันชัด ๆ โดยอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ดังนี้
- ประกันสุขภาพกลุ่ม เป็นแผนประกันที่บริษัทหรือองค์กรทำให้กับพนักงานหรือบุคลากรภายในองค์กร เพื่อมอบเป็นสวัสดิการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล และหลักประกันให้กับพนักงานที่ทำงานให้กับองค์กรนั้น ๆ ภายใต้กรมธรรม์เดียวกัน ซึ่งความคุ้มครองจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความประสงค์องค์กรนั้น ๆ เช่น อาจให้ความคุ้มครองเฉพาะค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่ายา เป็นต้น หรืออาจให้ความคุ้มครองเพิ่มเติม เช่น ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ค่าทันตกรรม ค่ารักษาพยาบาลอุบัติเหตุ เป็นต้น
- ประกันสุขภาพส่วนบุคคล เป็นแผนประกันเพื่อสุขภาพที่บุคคลทั่วไปทำเพื่อคุ้มครองตนเองและครอบครัว สามารถเลือกความคุ้มครองและวงเงินได้ตามความต้องการ เช่น อาจเลือกให้ความคุ้มครองเฉพาะค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน หรืออาจเลือกให้ความคุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ค่าทันตกรรม ค่ารักษาพยาบาลอุบัติเหตุ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกเพิ่มสัญญาเพิ่มเติมอื่นๆ ได้ตามความต้องการ เช่น สัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายได้ สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้ายแรง เป็นต้น
ลักษณะของความคุ้มครอง
- ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD) ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เช่น ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่ายา เป็นต้น
- ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เช่น ค่าแพทย์ ค่ายา ค่าบริการอื่นๆ เป็นต้น
- ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (Critical Illness) ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
- ประกันอุบัติเหตุ (PA) ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าชดเชยรายได้ เป็นต้น
- ประกันชดเชยรายได้ ให้ความคุ้มครองรายได้ที่ขาดหายไปเมื่อผู้เอาประกันภัยไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ
ปัจจัยในการเลือกซื้อประกันสุขภาพ
- งบประมาณ ค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับความคุ้มครองและวงเงินที่เลือกซื้อ
- ความต้องการ ควรพิจารณาความคุ้มครองที่จำเป็นสำหรับตนเองและครอบครัว
- เงื่อนไข ควรศึกษาเงื่อนไขและข้อยกเว้นของกรมธรรม์อย่างละเอียด
สรุปได้ว่า ประกันสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ แบบกลุ่ม และส่วนบุคคล ซึ่งสามารถเลือกความคุ้มครองและวงเงินได้ตามความต้องการ การเลือกซื้อประกันเพื่อสุขภาพจึงควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น งบประมาณ ความต้องการ และเงื่อนไขของกรมธรรม์ เพื่อให้ได้แผนที่ตอบโจทย์ที่สุดนั่นเอง