ในยุคของสมาร์ทโฟนที่เราอยู่ในเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กับโปรแกรมประยุกต์เข้าด้วยกัน ที่ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารได้ได้สะดวกมากขึ้น
ผศ.อุไรวรรณ ชาญชลยุทธ อ.ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสาร คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ตะวันออก เขตพื้นที่จักรพงษภูวนารถ กล่าวว่า ปัจจุบันสมาร์ทโฟนบทบาทเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันเรามากขึ้น ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า จนถึงเข้านอนตอนกลางคืน เช่น นาฬิกาปลุก ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ถ่ายภาพ ค้นหาข้อมูล เก็บข้อมูล ธุรกรรมการเงิน รวมถึงการใช้ในการทำงานด้านอื่น ๆ จนเรียกได้ว่า "ไม่สามารถขาดสมาร์ทโฟน" ได้เลย ซึ่งหากมองในด้านดีสมาร์ทโฟน ถือเป็นปัจจัยในการพัฒนา และอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี แต่ในอีกมุมหนึ่งหากเราใช้ชีวิตกับสมาร์ทโฟนมากเกิดไปก็จะโทษได้เช่นกัน โดยเฉพาะ "เด็ก-เยาวชน"
ทั้งนี้จากข้อมูลทางการแพทย์ของ "อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร" กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธบดี มหาวิทยามหิดล กล่าวไว้ว่า สมาร์มโฟน ได้ส่งผลกระทบมากมายที่หลายคนไม่รู้ภัยที่ส่งผลเสียในด้านสายตา ตาแห้ง กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก หรือจอรับตาที่ผิดปกติ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ปวดคอ บ่าไหล่ แขน นิ้วล็อค สมองตอบสนองกับการเล่นสมาร์ทโฟน กระตุ้นให้สมองเกิดความสุข ทำให้เกิดโรคติดสุข อยากเล่นมากขึ้นเรื่อยๆ สมาธิสั้นลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้เกิดโรคอ้วน เพราะไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มีปัญหาด้านอารมณ์ เพราะไม่ค่อยเข้าสังคม อาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า มีปัญหาการนอน แสงสีฟ้าจากเครื่องมือสื่อสาร ส่งผลต่อการหลั่งเมลาโทนิน ทำให้นอนไม่หลับ โรคหูไม่ได้ยินเสียง ไม่เพียงแต่สมาร์ทโฟนเท่านั้นที่เป็นตัวปัญหา แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์และแท็บเล็ตก็ส่งผลเสียไม่แพ้กัน ยิ่งหลายคนทำงานกับหน้าจอทั้งวัน นอกเหนือเวลางานยังติดหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตอีก เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งแชททั้งแชร์
ผศ.อุไรวรรณ กล่าวต่อว่า การใช้งานสมาร์ทโฟน การเราใช้งานในทางที่ "ดี และเหมาะสม" ก็จะส่งผลดีต่อการพัฒนาศึกยภาพของบุคคล เพราะเราต้องการจะทราบอะไร เพียงแค่คลิก ข้อมูลที่เราต้องการก็จะปรากฏออกมา แต่ถ้าเราหมกมุ่นมากเกิดไป "โทษ" ของมันก็จะส่งผลต่อสภาพร่างกาย และอารมณ์ และเพื่อเป็นลดการใช้งานสมาร์ทโฟนหันมาทำกิจกรรม เช่น การออกกำลังกาย การกำหนดแบ่งเวลาในการใช้สมาร์ทโฟนให้กับเด็ก จัดเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เป็นต้น