วันที่ 18 ส.ค.66 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Wiroj Lakkhanaadisorn - วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ระบุว่า..
[ เมื่อประเทศไทยมาถึงทางเลือก ที่ประชาชนต้องตัดสินใจ ]
สวัสดิการถ้วนหน้า และความมั่นคงในชีวิต VS การขอความเมตตา และการขอรับการริจาคและการสงเคราะห์
สวัสดิการประชาชน VS งบซื้ออาวุธ
สวัสดิการมาจากภาษีของประชาชน ที่ประชาชนพึงได้รับอยู่แล้ว VS สวัสดิการเป็นบุญคุณที่ประชาชนต้องสำนึก
การใช้จ่ายงบประมาณเพื่อแก้ปัญหา VS ถุงยังชีพที่เบิกมาแจกทุกปีเนื่องจากการเกิดขึ้นของปัญหาเดิมๆ
สวัสดิการประชาชน คือ Growth factor ของระบบเศรษฐกิจ VS สวัสดิการประชาชน คือ ภาระค่าใช้จ่ายของรัฐ
การศึกษาที่เติมเต็มศักยภาพให้แก่เด็ก โดยโรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย ที่เด็กกล้าที่จะตั้งคำถาม และสนุกกับการคิดสร้างสรรค์ VS การศึกษาที่เป็นกลไกในการทำให้คนคิดเหมือนๆ กัน โดยโรงเรียนมีหน้าที่ทำให้เด็กคุ้นชินกับการกดขี่
การศึกษาที่เป็นกลไกในการผลิตลูกจ้างเพื่อป้อนตลาดแรงงาน VS การศึกษาที่มุ่งทำให้ทุกๆ คนสามารถวิ่งตามความฝันของตัวเอง
การกระจุกอำนาจ และงบประมาณไว้ที่ส่วนกลาง VS การกระจายอำนาจ และงบประมาณสู่ท้องถิ่น
ความเท่าเทียม และความเสมอภาค VS การยอมรับว่าคนเราเกิดมาไม่เท่ากัน แข่งอะไรก็แข่งได้ แต่แข่งบุญแข่งวาสนาไม่ได้
ชีวิตที่มีความหวังกับอนาคต VS การยอมรับชะตากรรม และอยู่อย่างเจียมเนื้อเจียมตัว
กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน VS กองทัพที่ทำตัวเป็นรัฐซ้อนรัฐ
โอกาสในการตั้งตัวที่เท่าเทียมกัน VS ทุนผูกขาด
การกระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรม VS การที่เครือข่ายอุปถัมภ์ฮุบสัมปทานแบบกินรวบไว้ทั้งหมด
ระบบภาษีที่เป็นธรรม VS ระบบภาษีที่มีช่องว่างทางกฎหมาย ที่ให้นายทุนหลบเลี่ยงไม่จ่ายภาษีได้
การเติบโตในหน้าที่การงานอย่างเป็นธรรม VS ระบบตั๋ว ระบบฝาก และการซื้อขายตำแหน่ง
กฎหมายทันสมัย ที่คำนึงถึงประชาชนทุกกลุ่มอย่างรอบคอบรอบด้าน VS กฎหมายล้าหลัง ที่ให้อำนาจในการใช้ดุลพินิจอย่างล้นเกิน จนเอื้อต่อการรีดไถเรียกรับผลประโยชน์
รัฐโปร่งใส VS รัฐเงินทอนคอร์รัปชั่น
ระบบบ้านใหญ่ VS ประชาชนเป็นใหญ่
ราชการที่รับใช้ประชาชน VS ราชการที่เป็นมือไม้ให้นักการเมือง
นิติสงคราม VS นิติรัฐ
องค์กรอิสระ ที่เผด็จการกดปุ่มได้ VS องค์กรอิสระที่ยึดโยงกับประชาชน
สว.250 ที่มาจากเผด็จการ VS สภาเดี่ยว หรือถ้าจำเป็นต้องมี สว. สว. ก็ต้องมาจากการเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน VS รัฐธรรมนูญ 60
Soft Power ที่สอดรับกับกระแสโลก VS ความดีย์ที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมใช้ยกหาง และใช้สำเร็จความใคร่ทางศีลธรรมให้แก่ตนเอง
นวัตกรรม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เท่าทันโลก VS ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่คอยฉุดรั้งความเจริญของประเทศ
ทุนต่างชาติสีเทา ที่สามารถซื้อข้าราชการระดับสูงกลุ่มหนึ่งให้เป็นลูกสมุน จนตนเองสามารถอยู่เหนือกฎหมาย VS ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมาย
ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ VS ประชาชนเหมือนเช่าเขาอยู่
นักการเมืองเป็นเจ้านายประชาชน VS ประชาชนเป็นเจ้านายนักการเมือง
พรรคการเมืองเป็นเจ้าของประชาชน VS ประชาชนเป็นเจ้าของพรรคการเมือง
การหาเสียง คือ การให้คำมั่นต่อประชาชน ที่ต้องพยายามทำตามที่พูดให้ได้ หากไม่สามารถทำได้ ก็ต้องมีคำอธิบายที่สมเหตุสมผลต่อประชาชน VS การหาเสียง คือ การรณรงค์ให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงจากการเลือกตั้ง พอเลือกตั้งเสร็จแล้ว ประชาชนก็หมดความหมาย