หากถามว่าถ้าสอบ O-NET แล้วจะได้อะไร คำตอบจะมีดังนี้

การสอบ O- NET (Ordinary National Educational Test) คือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 

ที่เห็นชัด ๆ คือผู้เข้าสอบจะได้รู้ถึงความสามารถของตนเอง ว่ามีจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง โดยจำแนกตามรายวิชาและนำผลไปวางแผนพัฒนาการเรียนของตนเองได้ ส่วนโรงเรียนก็จะทราบถึงจุดเด่น และจุดอ่อนของโรงเรียน โดยจำแนกตามรายวิชา สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และรายตัวชี้วัด ซึ่งจะสามารถนำผลไปวางแผนการจัดการเรียนการสอนได้  

ในส่วนของผู้บริหารในสังกัดเขตพื้นที่ สำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และกระทรวงศึกษาธิการ จะทราบจุดเด่น และจุดอ่อน โดยจำแนกตามรายวิชา สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และรายตัวชี้วัด สามารถนำผลไปวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาการศึกษาในระดับชาติได้

ถ้านักเรียนไม่สอบ O-NET จะเสียสิทธิ์อะไรบ้าง

เริ่มจากเด็กจะไม่มีผลคะแนนสอบจาก สทศ. ซึ่งเป็นแบบทดสอบมาตรฐานที่หน่วยงานกลางจัดสอบให้  และการสอบก็ไม่เสียค่าใช้จ่าย ผลการสอบจะเป็นสิ่งที่อยู่กับตัวตลอดไป

แต่ถ้าครอบครัวนักเรียมีฐานะดี มีเงินก็อาจจะไปสอบของหน่วยงานเอกชน หรือบริษัทเอกชนที่จัดกิจกรรมต่าง และทำการทดสอบในรูปแบบต่าง ๆ ได้ แต่อาจจะไม่ได้มีกระบวนการพัฒนาข้อสอบตามมาตรฐานทางวิชาการอย่าง สทศ. ดำเนินการมาตลอดเกือบสองทศวรรษ และนักเรียนที่ครอบครัวยากจน ก็อาจจะขาดโอกาสในส่วนนี้ 

ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายการสอบ O-NET จะเป็นเด็กนักเรียน โดยเฉพาะเด็ก ป.6 และ ม.3 ซึ่งยังไม่รู้เป้าหมายของตนเอง ไม่เห็นความสำคัญและรู้ถึงประโยชน์ของการสอบ ดังนั้นถ้าจะให้การสอบ O-NET เป็นไปด้วยความสมัครใจ อาจจะทำให้เด็กบางส่วนขาดโอกาสในการเข้ารับการทดสอบได้  ขาดโอกาสในการทราบถึงความสามารถของตนเอง ดังนั้นเด็กทุกคนควรได้รับการทดสอบที่รัฐบาลจัดไว้ให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ปัจจุบันเด็กนักเรียนบางคนอาจถูกตัดโอกาส เนื่องจากเรียนไม่เก่ง ทำให้โรงเรียนอาจไม่ส่งชื่อเข้าสอบ O-NET ก็มีบ้างเช่นกัน

การดำเนินการของ สทศ. ได้พบปัญหาอย่างไรบ้าง

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เรียกชื่อย่อภาษาไทยว่า “สทศ. “ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "National  Institute of Educational Testing Service (Public  Organization)" เรียกโดยย่อว่า "NIETS" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2548 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 

การดำเนินงานของ สทศ. ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีปัญหาเชิงนโนบาย บางช่วงบางเวลาบางประการ เช่น นโยบายที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้การทดสอบ  O-NET  เป็นไปด้วยความสมัครใจ ส่วนทางโรงเรียนก็ไม่จำเป็นต้องนำผลการทดสอบไปใช้พัฒนาตัวเด็กและโรงเรียน  หรือใช้ประกอบในการพิจารณาผลงานของโรงเรียน และผู้บริหารหรือครู ขณะที่ สทศ. มีอำนาจ หน้าที่ ทำได้เพียง อยู่ในกระบวนการของการทดสอบ หรือจัดสอบ แต่ไม่มีอำนาจในเชิงนโยบาย และมาตรการบังคับให้นำผลไปใช้พัฒนาทั้งตัวนักเรียนและโรงเรียน จึงทำให้การทำงานไปไม่ถึงเป้าหมาย และไม่สมกับความคาดหวัง ทั้งของภาครัฐเอง และของประชาชน คือ การนำผลการทดสอบไปพัฒนาการศึกษาของประเทศได้  ส่วนงบประมาณที่ได้รับก็ลดลงเรื่อย ๆ และไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณในส่วนของการพัฒนางานนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางด้านการสอบ และการวัดผลการศึกษา นอกจากนี้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีจำนวนจำกัด ตลอดจนงบประมาณในส่วนของบุคลากรไม่สอดคล้องกับอัตรากำลังที่ปฏิบัติงานอยู่จริงทำให้ เจ้าหน้าที่รู้สึกไม่มั่นคง และต้องไปหางานใหม่ ถึงแม้ สทศ. จะเป็นหน่วยงานของรัฐบาลก็ตาม

คุณค่าของการสอบ O-NET
 
หากถามว่าถ้าสอบ O-NET แล้วจะได้อะไร คำตอบจะมีดังนี้

การสอบ O- NET (Ordinary National Educational Test) คือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 

ที่เห็นชัด ๆ คือผู้เข้าสอบจะได้รู้ถึงความสามารถของตนเอง ว่ามีจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง โดยจำแนกตามรายวิชาและนำผลไปวางแผนพัฒนาการเรียนของตนเองได้ ส่วนโรงเรียนก็จะทราบถึงจุดเด่น และจุดอ่อนของโรงเรียน โดยจำแนกตามรายวิชา สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และรายตัวชี้วัด ซึ่งจะสามารถนำผลไปวางแผนการจัดการเรียนการสอนได้  

ในส่วนของผู้บริหารในสังกัดเขตพื้นที่ สำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และกระทรวงศึกษาธิการ จะทราบจุดเด่น และจุดอ่อน โดยจำแนกตามรายวิชา สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และรายตัวชี้วัด สามารถนำผลไปวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาการศึกษาในระดับชาติได้

ถ้านักเรียนไม่สอบ O-NET จะเสียสิทธิ์อะไรบ้าง

เริ่มจากเด็กจะไม่มีผลคะแนนสอบจาก สทศ. ซึ่งเป็นแบบทดสอบมาตรฐานที่หน่วยงานกลางจัดสอบให้  และการสอบก็ไม่เสียค่าใช้จ่าย ผลการสอบจะเป็นสิ่งที่อยู่กับตัวตลอดไป

แต่ถ้าครอบครัวนักเรียมีฐานะดี มีเงินก็อาจจะไปสอบของหน่วยงานเอกชน หรือบริษัทเอกชนที่จัดกิจกรรมต่าง และทำการทดสอบในรูปแบบต่าง ๆ ได้ แต่อาจจะไม่ได้มีกระบวนการพัฒนาข้อสอบตามมาตรฐานทางวิชาการอย่าง สทศ. ดำเนินการมาตลอดเกือบสองทศวรรษ และนักเรียนที่ครอบครัวยากจน ก็อาจจะขาดโอกาสในส่วนนี้ 

ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายการสอบ O-NET จะเป็นเด็กนักเรียน โดยเฉพาะเด็ก ป.6 และ ม.3 ซึ่งยังไม่รู้เป้าหมายของตนเอง ไม่เห็นความสำคัญและรู้ถึงประโยชน์ของการสอบ ดังนั้นถ้าจะให้การสอบ O-NET เป็นไปด้วยความสมัครใจ อาจจะทำให้เด็กบางส่วนขาดโอกาสในการเข้ารับการทดสอบได้  ขาดโอกาสในการทราบถึงความสามารถของตนเอง ดังนั้นเด็กทุกคนควรได้รับการทดสอบที่รัฐบาลจัดไว้ให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ปัจจุบันเด็กนักเรียนบางคนอาจถูกตัดโอกาส เนื่องจากเรียนไม่เก่ง ทำให้โรงเรียนอาจไม่ส่งชื่อเข้าสอบ O-NET ก็มีบ้างเช่นกัน

การดำเนินการของ สทศ. ได้พบปัญหาอย่างไรบ้าง

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เรียกชื่อย่อภาษาไทยว่า “สทศ. “ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "National  Institute of Educational Testing Service (Public  Organization)" เรียกโดยย่อว่า "NIETS" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2548 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 

การดำเนินงานของ สทศ. ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีปัญหาเชิงนโนบาย บางช่วงบางเวลาบางประการ เช่น นโยบายที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้การทดสอบ  O-NET  เป็นไปด้วยความสมัครใจ ส่วนทางโรงเรียนก็ไม่จำเป็นต้องนำผลการทดสอบไปใช้พัฒนาตัวเด็กและโรงเรียน  หรือใช้ประกอบในการพิจารณาผลงานของโรงเรียน และผู้บริหารหรือครู ขณะที่ สทศ. มีอำนาจ หน้าที่ ทำได้เพียง อยู่ในกระบวนการของการทดสอบ หรือจัดสอบ แต่ไม่มีอำนาจในเชิงนโยบาย และมาตรการบังคับให้นำผลไปใช้พัฒนาทั้งตัวนักเรียนและโรงเรียน จึงทำให้การทำงานไปไม่ถึงเป้าหมาย และไม่สมกับความคาดหวัง ทั้งของภาครัฐเอง และของประชาชน คือ การนำผลการทดสอบไปพัฒนาการศึกษาของประเทศได้  ส่วนงบประมาณที่ได้รับก็ลดลงเรื่อย ๆ และไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณในส่วนของการพัฒนางานนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางด้านการสอบ และการวัดผลการศึกษา นอกจากนี้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีจำนวนจำกัด ตลอดจนงบประมาณในส่วนของบุคลากรไม่สอดคล้องกับอัตรากำลังที่ปฏิบัติงานอยู่จริงทำให้ เจ้าหน้าที่รู้สึกไม่มั่นคง และต้องไปหางานใหม่ ถึงแม้ สทศ. จะเป็นหน่วยงานของรัฐบาลก็ตาม

สทศ. มีการจัดสอบอะไรบ้าง
    
1) การทดสอบระดับชาติ (ผู้เข้าสอบไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น)
        -สอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ป.6, ม.3, ม.6
        -สอบระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ระดับ ปวช.3
        -สอบระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบ (N-NET) ระดับประถม ม.ต้น และ ม.ปลาย
        -สอบระดับชาติด้านพระพุทธศาสนา (B-NET) ม.ต้น กับ ม.ปลาย
        - สอบระดับชาติด้านอิสลามศึกษา (I-NET) ระดับ ตอนต้น กับตอนปลาย
     
2) งานบริการ ปัจจุบัน
          -สอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน(TEC-W)
          -สอบสมรรถนะครูด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
          -สอบวัดสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Literacy)
          -สอบวัดความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
         
ศาสตราจารย์ ดร. กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
กรรมการ สทศ.