เสร็จสิ้นการเลือก "ประธานสภาผู้แทนราษฎร" และรองประธานฯไปเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป จะเป็นการโหวตเลือก "นายกรัฐมนตรี" โดย "พรรคก้าวไกล" ที่ชนะเลือกตั้งและมีเสียงข้างมาก จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และมีสิทธิเสนอชื่อ "นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์" หัวหน้าพรรคฯ เป็นนายกฯ คนที่ 30 ของประเทศไทย
- สำหรับขั้นตอนการเลือก "นายกรัฐมนตรี" คนที่ 30 มีดังนี้
1.เริ่มจากที่ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" หรือ ส.ส. เสนอชื่อบุคคลเป็นนายกฯ จากบัญชีรายชื่อแคนดิเดตของพรรคที่มี จำนวน ส.ส. ตั้งแต่ 25 คนขึ้นไป
2.สำหรับการเสนอชื่อแคนดิเดตของพรรค ต้องมี ส.ส. รับรอง ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ โดยสามารถเสนอชื่อให้เลือกได้มากกว่า 1 คน
3.ในการเลือกนายกฯให้กระทำเป็นการเปิดเผย โดยเลขาธิการสภาฯ จะเรียกชื่อสมาชิก ส.ส. และสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ตามลำดับอักษรเป็นรายบุคคล และให้ออกเสียงโดยการกล่าวชื่อบุคคลที่เห็นชอบ
4.ในที่ประชุมซึ่งมี ส.ส. 500 เสียง และส.ว. 250 เสียง รวมกันเป็น 750 เสียง ผู้ที่ได้คะแนน 376 เสียงขึ้นไป จะได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯ
5.ถ้าปรากฎว่า หากลงคะแนนแล้วไม่มีใครได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่ง ก็จะวนโหวตต่อไปจนกว่าจะมีผู้ได้คะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
อย่างไรก็ตาม หากนับจากจำนวน ส.ส.แต่ละพรรคที่ชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.66 ที่ผ่านมา เกิน 25 คนขึ้นไป สามารถเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ในบัญชีของพรรคการเมืองได้ มีทั้งหมด 8 คน จาก 5 พรรคการเมือง มีดังนี้
1.พรรคก้าวไกล 1 คน
2.พรรคเพื่อไทย 3 คน
3.พรรคภูมิใจไทย 1 คน
4.พรรคพลังประชารัฐ 1 คน
5.พรรครวมไทยสร้างชาติ 1 คน
ทั้งนี้ "รัฐธรรมนูญ 2560" ฉบับปัจจุบันก็ไม่ได้กำหนดกรอบเวลาในการเลือกนายกฯไว้อย่างชัดเจน แต่ใน "รัฐธรรมนูญ 2550" กำหนดเวลาไว้ 30 วัน หากพ้น 30 วัน ยังไม่มีใครได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่งให้ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นนายกฯ
#นายกคนที่30 #นายกรัฐมนตรีคนที่30 #โหวตเลือกนายก #พิธาลิ้มเจริญรัตน์ #ก้าวไกล #เพื่อไทย