รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 26 และ 31 พฤษภาคม 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่ ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2566
กรรมการที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ (ประธาน) นายเมธี สุภาพงษ์ (รองประธาน) นางรุ่ง มัลลิกะมาส นายรพี สุจริตกุล นายสมชัย จิตสุชน นายสุภัค ศิวะรักษ์
#ภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะตลาดการเงิน
เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 และ 2.7 ในปี 2566 และ 2567 ตามลําดับ โดย เศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปมีแนวโน้มดีขึ้นจากภาคบริการเป็นสําคัญ ขณะที่เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ดีใน ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ภายหลังการเปิดประเทศ อย่างไรก็ดี ข้อมูลล่าสุดชี้ว่าเศรษฐกิจจีนชะลอลงบ้าง ด้าน เศรษฐกิจกลุ่มประเทศเอเชียได้รับผลดีจากการเปิดประเทศของจีนไม่มากนัก เนื่องจากสินค้าคงคลังใน ภาคอุตสาหกรรมของจีนยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งจีนเปลี่ยนมาพึ่งพาการผลิตภายในประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ คาด ว่าการส่งออกของกลุ่มประเทศเอเชียจะปรับดีขึ้นและฟื้นตัวได้ในครึ่งหลังของปีนี้ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกยัง เผชิญความไม่แน่นอน จากผลกระทบของการส่งผ่านนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลัก และความเสี่ยง ด้านภูมิรัฐศาสตร์โลก
ตลาดการเงินโลกสะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับดีขึ้นบ้าง หลังนักลงทุนเริ่มคลายความกังวล ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกทมี่ทิศทางที่ดีขึ้นเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวรวมทั้งประเด็นปัญหาสถาบันการเงิน ในสหรัฐฯ และยุโรปที่ไม่ได้ขยายวงเพิ่มเติม โดยนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะดําเนินนโยบาย การเงินที่เข้มงวดน้อยลงในระยะต่อไป ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับสูงขึ้นและมีเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้า บางประเทศในภูมิภาค
ภาวะการเงินไทยโดยรวมผ่อนคลายลดลง จากต้นทุนการกู้ยืมภาคเอกชนที่ปรับสูงขึ้นสอดคล้องกับอัตรา ดอกเบี้ยนโยบาย แตโ่ ดยรวมยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการระดมทุนของภาคเอกชน โดยการระดมทุนของภาคธุรกิจ โดยรวมยังขยายตัวได้ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยปรับเพิ่มขึ้นตามอัตรา ดอกเบี้ยนโยบาย โดยสําหรับพันธบัตรไทยระยะยาวส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร รัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับสูงขึ้นด้วย
ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงตาม (1) ทิศทางการดําเนินนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (2) การอ่อนค่าของเงินหยวน ซึ่งส่งผลให้เงินสกุลภูมิภาคอ่อนค่าลงตาม และ (3) ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยทั้งในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี แนวโน้มของตลาด การเงินโลกในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอน โดยต้องติดตามภาวะการเงินโลกและการดําเนินนโยบาย การเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก รวมถึงแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในระยะต่อไป
#ภาวะเศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสําคัญ โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 และ 3.8 ในปี 2566 และ 2567 ตามลําดับ จาก (1) ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวชัดเจนและต่อเนื่อง สะท้อนจากจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบทุกสัญชาติที่เพิ่มขึ้น มากกว่าคาด โดยประมาณการจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติล่าสุดในปี 2566 และ 2567 อยู่ที่ 29 และ 35.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมในเดือนมีนาคม 2566 ที่ 28 และ 35 ล้านคน ตามลําดับ และ (2) การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดี ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดแรงงาน ทั้งการจ้างงาน โดยรวมและการเพิ่มขึ้นของรายได้แรงงานโดยเฉพาะลูกจ้างในภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระตามการ ฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ภาคการส่งออกสินค้าซึ่งปรับลดลงตั้งแต่ปลายปี 2565 กําลังอยู่ในช่วง ทยอยฟื้นตัวและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ด้วยอานิสงส์จากการเปิดประเทศของจีน และการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยการส่งออกในบางหมวดสินค้าของไทยในช่วงครึ่งแรกของ ปี 2566 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีกว่าหลายประเทศในภูมิภาค เช่น หมวดสินค้าเกษตรและหมวดอุตสาหกรรม การเกษตรซึ่งส่งออกไปจีน หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งส่งออกไปสหรัฐฯ และยุโรป ในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจ ไทยมีโอกาสขยายตัวสูงกว่าที่ประเมินไว้จาก (1) จํานวนและค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อาจ เพิ่มขึ้นมากและเร็วกว่าคาด และ (2) แรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบายภาครัฐมีมากกว่าทปี่ ระเมินไว้ โดยคาด ว่าหากมีการปรับเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐจะมีผลต่อเศรษฐกิจในปี 2567
ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงด้านต่ำที่ ต้องติดตาม ได้แก่ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่อาจขยายตัวน้อยกว่าคาด และความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทย ในภาพรวม เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงด้านสูงมากกว่าความเสี่ยงด้านต่ำตลอดช่วงประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมาย โดยประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 และ 2.4 ในปี 2566 และ 2567 ตามลําดับ จากแรงกดดันด้านอุปทานที่ลดลงตามแนวโน้มค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันดีเซลในประเทศ
ทั้งนี้ผลของฐานที่สูงในปี 2565 ซึ่งมีส่วนทําให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมา จะทยอยหมดไปในช่วงครึ่งหลังของปี ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ ร้อยละ 2.0 ในปี 2566 และ 2567 สอดคล้องกับเครื่องชี้แนวโน้มเงินเฟ้อที่ปรับลดลงแต่ยังอยู่ในระดับสูง และ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานถูกขับเคลื่อนด้วยองค์ประกอบที่มีความหนืด (persistence) สูง โดยเฉพาะอาหาร สําเร็จรูปและเครื่องประกอบอาหาร (food in core) ซึ่งราคามีแนวโน้มปรับขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อมี ความเสี่ยงด้านสูง จาก (1) แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้นในบริบทที่เศรษฐกิจขยายตัว โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่อาจมากกว่าคาด รวมถึงแรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบาย ภาครัฐในระยะข้างหน้า และ (2) การส่งผ่านต้นทุนที่อาจสูงและเร็วกว่าคาด เนื่องจากผู้ประกอบการเผชิญ ภาวะต้นทุนสูงต่อเนื่องและอาจมีต้นทุนบางส่วนที่ยังไม่ได้ส่งผ่านในช่วงก่อนหน้ารวมถึงอาจมีพฤติกรรมปรับ ราคาเร็วขึ้นหากมีแรงกดดันด้านอุปทานเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี เงินเฟ้ออาจลดลงในระยะต่อไปจากมาตรการ ช่วยเหลือค่าครองชีพเพิ่มเติม หรือเศรษฐกิจโลกที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด ในภาพรวม อัตราเงินเฟ้อมีความ เสี่ยงด้านสูงมากกว่าความเสี่ยงด้านต่ำตลอดช่วงประมาณการ
#ประเด็นสําคัญที่คณะกรรมการฯ อภิปราย
คณะกรรมการฯ เห็นพ้องว่าอัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงด้านสูง และคาดว่าจะมีความหนืด (persistence) มากขึ้นกว่าในอดีต การส่งผ่านต้นทุนอาจมากขึ้นในระยะต่อไป เนื่องจากผู้ประกอบการ จะพยายามปรับเพิ่มราคาสินค้าและบริการตามกําลังซื้อของภาคครัวเรือนที่มากขึ้นจากการขยายตัวของ เศรษฐกิจและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ภาครัฐอาจดําเนินการในระยะต่อไป นอกจากนี้ ในระยะ ข้างหน้าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดอาหารสดมีความหนืดมาก ขึ้น
โดยราคาอาจสูงขึ้นบ่อยครั้งและปรับลดลงยาก อาทิ ปรากฏการณ์เอลนีโญที่อาจทําให้ปัญหาภัยแล้ง รุนแรงและยาวนานกว่าอดีต ซึ่งจะกระทบต่อราคาผักและผลไม้ อีกทั้งต้นทุนราคาอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น และจํานวนผู้เลี้ยงที่ลดลงทําให้ราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้นโดยเฉพาะสุกร ซึ่งการส่งผ่านต้นทุนที่มากขึ้นและราคา สินค้าที่เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง อาจส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์เงินเฟ้อและพฤติกรรมการตั้งราคาใน อนาคตได้
-คณะกรรมการฯ เห็นว่าพลวัตเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า ส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐ โดยเฉพาะนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่อาจทําให้ผู้ประกอบการส่งผ่านต้นทุนค่าจ้างไปยังราคาสินค้า เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำโดยอิงกับเงินเฟ้ออย่างเป็นระบบมากขึ้น (wage indexation) อาจสร้างแรงกดดันต่อค่าจ้างและราคาสินค้าในลักษณะที่เป็นวงจรต่อเนื่อง (wage-price spiral) จนมีนัย ต่อเสถียรภาพราคาในระยะยาวได้ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงดังกล่าวจะถูกจํากัดด้วยคุณลักษณะเฉพาะของ โครงสร้างตลาดแรงงานไทย ได้แก่ (1) ตลาดแรงงานไทยมีความยืดหยุ่นสูงจากอุปทานของแรงงานต่างด้าว และการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภาคเศรษฐกิจ (2) แรงงานไทยมีอํานาจการต่อรอง (bargaining power) ไม่มากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ (3) ธุรกิจไทยมีต้นทุนแรงงานเฉลี่ยเพียงร้อยละ 15 ของต้นทุนการผลิต ทั้งหมด การส่งผ่านต้นทุนแรงงานไปยังราคาจึงไม่มากนัก และ (4) ผู้มีรายได้จากค่าจ้างของไทยมีสัดส่วน เพียงร้อยละ 45 ของแรงงานทั้งหมด ต่ำกว่าสัดส่วนในประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐฯ เยอรมนี อังกฤษ ซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 90 ทําให้การปรับขึ้นค่าจ้างของไทยคาดว่าจะส่งผลต่ออุปสงค์โดยรวมและ การปรับขึ้นราคาในลักษณะที่เป็นวงจรต่อเนื่องไม่มากเท่ากรณีของต่างประเทศ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามนโยบายภาครัฐและวิเคราะห์ผลกระทบต่อเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดทั้งผลกระทบต่อค่าจ้าง ในตลาดแรงงาน พฤติกรรมการตั้งราคาของผู้ประกอบการ และการคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะปานกลาง ของสาธารณชน
-คณะกรรมการฯประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องและมีโอกาสสูงมากกว่าคาด โดยมีภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นแรงส่งสําคัญ ขณะที่การส่งออกสินค้าคาดว่าจะฟื้นตัว ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 และเห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจีนและนโยบายของรัฐบาลจีนเป็นปัจจัย สําคัญต่อการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวของไทยในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยง ด้านสูงจากจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อาจมากกว่าคาด และจากนโยบายเศรษฐกิจและมาตรการ ทางการคลังของรัฐบาลที่อาจทําให้อุปสงค์ในประเทศขยายตัวมากกว่าที่ประเมินไว้โดยเฉพาะในปี 2567 อย่างไรก็ดี แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ยังคงเป็น ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย
-คณะกรรมการฯประเมินว่าภาวะการเงินไทยผ่อนคลายลดลงตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ยังไม่เป็นอุปสรรคในการระดมทุนของภาคธุรกิจในภาพรวม โดยคณะกรรมการฯ มีความกังวลต่อฐานะ การเงินของกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs และครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยซึ่งมีหนี้ใน ระดับสูง โดยเห็นว่าควรใช้เครื่องมือนโยบายที่มุ่งแก้ปัญหาอย่างตรงจุดและยั่งยืน เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งมีประสิทธิผลมากกว่าและมีต้นทุนน้อยกว่าการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ส่งผลกว้างระดับมหภาค
-คณะกรรมการฯเห็นว่าในระยะยาวที่เศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ของไทยอย่างน้อยควรอยู่ในระดับที่เป็นบวก เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการออมและการลงทุน และเอื้อให้ เศรษฐกิจขยายตัวได้เต็มศักยภาพโดยไม่ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ที่ไม่ต่ําเกินไปจะช่วยลดพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทน (search for yield) และจํากัดความเสี่ยงใน ภาคการเงิน ซึ่งช่วยสร้างเสริมเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว ทั้งนี้ การกําหนดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมในระยะข้างหน้า จําเป็นต้องพิจารณาความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจการเงินในมิติต่าง ๆ ที่มีนัย ต่อการกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพของเศรษฐกิจและเป้าหมายเงินเฟ้ออย่างยั่งยืนด้วย
-คณะกรรมการฯเห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปและพร้อมที่จะปรับขนาดและเงื่อนเวลาของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่เปลี่ยนไป (gradual and measured policy normalization) ยังเป็นแนวทางที่เหมาะสม โดยประเมินว่าแม้อัตราเงินเฟ้อ จะปรับลดลงมา แต่แนวโน้มเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงด้านสูงจากปัจจัยทั้งด้านอุปสงค์และด้านอุปทาน รวมถึงนโยบายภาครัฐในระยะข้างหน้า การทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยลดความเสี่ยง ด้านสูงของเงินเฟ้อและยึดเหนี่ยวเงินเฟ้อคาดการณ์ และมีประสิทธิผลมากกว่าการเร่งขึ้นดอกเบี้ยหลังจาก พฤติกรรมการปรับราคาได้เปลี่ยนไปแล้ว ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามผลกระทบ ของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น โดยเฉพาะนัยต่อการฟื้นตัวของกลุ่มเปราะบางอย่างใกล้ชิด
# การดําเนินนโยบายการเงิน
คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.75 เป็น ร้อยละ 2.00 ต่อปี โดยให้มีผลทันที
คณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภค ภาคเอกชนเป็นสําคัญ ขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปรับลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูง ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงจากแรงกดดัน ด้านอุปสงค์ในบริบทที่เศรษฐกิจขยายตัว รวมทั้งการส่งผ่านต้นทุนผู้ประกอบการอาจปรับสูงขึ้นจากแรงกดดัน ด้านอุปทาน ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลายลดลง แต่ยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการระดมทุนของภาคเอกชนและ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ด้านระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ โดยความสามารถในการชําระหนี้ของ ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สําหรับผู้ประกอบการ SMEs และครัวเรือน บางส่วนทยี่ังเปราะบางคณะกรรมการฯเห็นควรดําเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่องรวมทั้งเห็น ความสําคัญของการมีมาตรการเฉพาะจุดและแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสําหรับกลุ่มเปราะบาง
ภายใต้กรอบการดําเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้ เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจ ไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงเงินเฟ้อด้านสูง จึงเห็นควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบายเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวอย่างค่อยเป็น ค่อยไป โดยพร้อมที่จะปรับขนาดและเงื่อนเวลาของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หากแนวโน้มเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อไทยเปลี่ยนไปจากที่ประเมินไว้