นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานพิธีเปิด "โครงการ เปิดน้ำบึงลาดน้ำเตียน-คลองมะขามเฒ่าอู่ทอง" ณ บริเวณคลองส่งน้ำ 21 ซ้าย มะขามเฒ่า-อู่ทอง อ.อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน ข้าราชการ พนักงาน ผู้นำท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกร และพี่น้องประชาชน จาก อ.เมือง อ.อู่ทอง อ.ดอนเจดีย์ และ อ.สามชุก ร่วมพิธีเปิด "โครงการเปิดน้ำ บึงลาดน้ำเตียน-คลองมะขามเฒ่าอู่ทอง" จำนวนมาก 


ที่ผ่านมาในช่วงฤดูแล้งของทุกปี พื้นที่อำเภออู่ทอง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี มักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะบริเวณ ปลายคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง (คลอง มอ.) ซึ่งรับน้ำต้นทุนจากแม่น้ำ เจ้าพระยาผ่านคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง (คลอง มอ.) จากสภาวะฝนทิ้งช่วงที่มักเกิดขึ้นประจำ ประกอบกับสภาพคลองที่มีระยะทางค่อนข้างยาว ทำให้ปริมาณการส่งน้ำในคลอง ไม่เพียงพอต่อทำการเกษตร การอุปโภค-บริโภค การประปา ตลอดแนวคลองทั้งสองฝั่งได้รับความเดือนร้อน


นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับเกษตรกร ได้สั่งการให้กรมชลประทาน วางแนวผันน้ำจากแก้มลิงบึงลาดน้ำเตียน เพื่อบรรเทาสภาพปัญหา ดังกล่าว โดยการก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาด 0.5 ลบ.ม/วินาที จำนวน 6 เครื่อง พร้อมระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และท่อส่งน้ำขนาด 1,500 และ 1,400 มม. ส่งน้ำได้ 3 ลบ.ม./วินาที สามารถส่งน้ำไปถึงปลายคลองได้ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ


ซึ่ง"โครงการ เปิดน้ำบึงลาดน้ำเตียน-คลองมะขามเฒ่าอู่ทอง" ตามแผนการจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่
ชลประทาน เพื่อลดผลกระทบการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะบริเวณปลายคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง ซึ่งรับน้ำต้นทุนจากแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านคลองมะขามเฒ่า เนื่องจากสภาวะฝนทิ้งช่วงที่มักเกิดขึ้นประจำ ประกอบกับสภาพคลองที่มีระยะทางค่อนข้างยาว และมีการใช้น้ำเพื่อการเกษตรตลอดแนวคลองทั้งสองฝั่ง 


โดยมีเกษตรกรในพื้นที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ช่วยลดความเสียหายให้แก่ชุมชนเมืองรวมถึงพืชผลทางการเกษตร และลดผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายน้ำ โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถช่วยสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้กับผู้ใช้น้ำและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรด้วย