ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ก่อนการรับสมัครการเลือกตั้ง โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,215 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 27 - 30 เมษายน 2566 นั้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ เผยว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หลังการรับสมัครการเลือกตั้ง การแก้ไขตามรัฐธรรมนูญปี 2560 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน 500 คน โดยเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน รวมถึงการกำหนดใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 และจะมีการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 ประชาชนมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งผ่านสื่อประเภทใด บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ที่ไม่ใช่หมายเลขเดียวกันจะทำให้เกิดความสับสนของประชาชนในการลงคะแนนเสียงหรือไม่ ความคิดเห็นในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีคุณสมบัติแบบใด เลือกพรรคการเมืองจากปัจจัยใด และอยากให้มีการให้ความสำคัญต่อนโยบายด้านใด ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก่อนการรับสมัครการเลือกตั้ง มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าจะไปเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 94.5 และได้รับข้อมูลข่าวสารของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ พรรคการเมือง ผ่านสื่อ ติกต็อก (Tiktok) เป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 58.4 อันดับที่สองคือ ป้ายหาเสียง ร้อยละ 45.9 อันดับที่สามคือ โทรทัศน์ ร้อยละ 39.7 อันดับที่สี่คือ เฟซบุ๊ค (Facebook) ร้อยละ 34 และอันดับที่ห้าคือ ทวิตเตอร์ (Twitter) ร้อยละ 31.1
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าท่านตัดสินใจในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคการเมืองเดียวกัน ร้อยละ 89.6 และคิดว่าบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบบัญชีรายชื่อ และบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ที่ไม่ใช่หมายเลขเดียวกันจะทำให้เกิดความสับสนของประชาชนในการลงคะแนนเสียง ร้อยละ 70.3
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่านโยบายที่อยากให้พรรคการเมืองให้ความสำคัญมากที่สุด อันดับหนึ่งคือ ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 46.4 อันดับที่สองคือ ด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต ร้อยละ 26.5 อันดับที่สามคือ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 6.3 อันดับที่สี่คือ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 5.1 และอันดับที่ห้าคือ ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 4.7
อยากได้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต ที่มีคุณสมบัติแบบใด อันดับหนึ่งคือ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 37.6 อันดับที่สองคือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีประวัติการศึกษาและการทำงานอย่างมากมาย ร้อยละ 20.7 อันดับที่สามคือ ผู้ที่มีความเสียสละเพื่อสังคม ทำงานเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 18.1 อันดับที่สี่คือ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่และทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 14.6 และอันดับที่ห้าคือ ผู้ที่เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร / ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ร้อยละ 7.3
และอยากได้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ที่มีคุณสมบัติแบบใด อันดับหนึ่งคือ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 38 อันดับที่สองคือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีประวัติการศึกษาและการทำงานอย่างมากมาย ร้อยละ 27.3 อันดับที่สามคือ ผู้ที่มีความเสียสละเพื่อสังคม ทำงานเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 24.1อันดับที่สี่คือ ผู้ที่เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ร้อยละ 9.6 และอันดับที่ห้าคือ ผู้ที่เป็นลูกหลาน ตระกูลนักการเมือง ร้อยละ 0.7
และคิดว่าปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งครั้งนี้มากที่สุด อันดับหนึ่งคือ นโยบายของพรรคการเมือง ร้อยละ 46.4 อันดับที่สองคือ การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 20.4 อันดับที่สามคือ พรรคการเมือง ร้อยละ 16.9 อันดับที่สี่คือ ตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 13.7 และอันดับที่ห้าคือ ไม่แน่ใจ / ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 2.6
คิดว่าตัดสินใจเลือกผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต อันดับหนึ่งคือ พรรคก้าวไกล ร้อยละ 37 อันดับที่สองคือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 33.5 อันดับที่สามคือ พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 17.6 อันดับที่สี่คือ พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 2.5 และอันดับที่ห้าคือ พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.4
คิดว่าตัดสินใจเลือกผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ อันดับหนึ่งคือ พรรคก้าวไกล ร้อยละ 37.1 อันดับที่สองคือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 32.1 อันดับที่สามคือ พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 18 อันดับที่สี่คือ พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 2.5 และอันดับที่ห้าคือ พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 2.4
และคิดว่าบุคคลใดเหมาะสมกับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมากที่สุด อันดับหนึ่งคือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 35.6 อันดับที่สองคือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 19.1 อันดับที่สามคือ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 16.9 อันดับที่สี่คือ นายเศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 16.8 และอันดับที่ห้าคือ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ร้อยละ 3.1