วันที่ 17 เมษายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ในทุกปีเทศกาลสงกรานต์ในจังหวัดแพร่ จะมีการเล่นน้ำสงกรานต์ที่ยาวนานที่สุดในภาคเหนือ คือส่งท้ายมหาสงกรานต์ในวันที่ 17 เมษายนของทุกปี แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 ทำให้งดจัดงานประเพณีสงกรานต์ไป 3 ปีติดต่อกัน ในปีนี้จังหวัดแพร่ และเทศบาลเมืองแพร่ ได้กลับมาจัดงาน ดอกลมแล้งบานสงกรานต์เมืองแพร่นุ่งหม้อห้อมแต้งามตา เป็นปีแรกหลังสถานการณ์โควิดเบาบางลง โดยการเล่นสงกรานต์เมืองแพร่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 13 เมษาบนเป็นต้นไป และสิ้นสุดในวันที่ 17 เมษายน ถือเป็นการเล่นน้ำสงกรานต์ที่ยาวนานที่สุดในภาคเหนือ
ซึ่งส่งผลดีให้กับจังหวัดแพร่ เนื่องจากในจังหวัดภาคเหนือ จะเล่นน้ำสงกรานต์สิ้นสุดแค่วันที่ 15 เมษายน เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางกลับ ก็จะแวะมาเล่นน้ำสงกรานต์ส่งท้ายที่จังหวัดแพร่ในทุกปี ในปีนี้จัดยิ่งใหญ่กว่าเดิม ชดเชยที่หยุดมา 3ปี ขบวนแห่ยิ่งใหญ่ มีผู้เข้าประกวดนางสงกรานต์ นั่งขบวนแห่ไปตามถนนเจริญเมือง และขบวนแห่ไปสิ้นสุดที่กาดสามวัย หน้าศาลากลางจังหวัดแพร่ โดยผู้ที่เข้ามาเล่นน้ำสงกรานต์ในถนนเส้นนี้จะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าหม้อห้อม แบบดั้งเดิม และ หม้อห้อมมัดย้อม ตลอดสองข้างทางเมื่อเสร็จสิ้นขบวนแห่ ก็มีการเล่นน้ำสาดน้ำตลอดสองข้างทาง ซึ่งเป็นประเพณี และธรรมเนียมของการเล่นสงกรานต์เมืองแพร่ ที่ติดต่อกันมานาน เรียก ว่า ถนนสายหม้อห้อม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่มีการจัดงานเทศกาลสงกรานต์ดอกลมแล้งบานสงกรานต์เมืองแพร่ นุ่งหม้อห้อมแต้งามตา เป็นปีแรกหลังจาก ไม่ได้จัดมา3 ปี เศรษฐกิจในจังหวัดแพร่กระเตื้องขึ้นอย่างมาก จากการจองห้องพัก โรงแรม ร้านอาหาร และ ห้างท้องถิ่น อีกทั้งในวันนี้ ยังคงอยู่ในห้วงของการรดน้ำดำหัวผู้ที่เคารพนับถือ
ขณะที่ กลุ่มสมาชิกสภาจังหวัดแพร่เขตอำเภอต่างๆ ได้ร่วมกันไปรดน้ำดำหัว ดร.วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ที่บ้านพัก ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ ซึงถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง ทุกเทศกาลสงกรานต์