วันที่ 28 มี.ค.66 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า...
PM2.5
งานวิจัยทั่วโลกพิสูจน์ให้เห็นนานแล้วว่า ฝุ่นละอองที่มากจะส่งผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ
แต่ไม่จบแค่นั้น ยังส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ในร่างกาย และเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้จำนวนมากในระยะยาว
ข้อมูลจาก European Environmental Agency ชี้ให้เห็นว่า PM2.5 ส่งผลให้เสี่ยงต่อมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร และระบบสืบพันธุ์
ยิ่งหากดูเรื่องการเสียชีวิต พบว่า 12% ของการเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนั้นเกิดจากการสัมผัสกับมลภาวะสิ่งแวดล้อม
และ 17%, 11%, และ 3% สำหรับโรคหลอดเลือดสมอง มะเร็งปอด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
การจัดการมลภาวะทางอากาศจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องจัดการในปัจจุบัน
อ้างอิง
Healthy environment, healthy lives: how the environment influences health and well-being in Europe. EEA. 2020.