วันที่ 15 มี.ค.66 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ...
ฝุ่นควัน จากไหน?
ข้อมูลจาก biothai
13 มีนาคม 2566
8-9 ปีที่แล้ว เชียงใหม่เรามีปัญหาฝุ่นควันค่อนข้างรุนแรง สังคมต่างก็พากันชึ้เป้าไปที่ พ่อค้าแม่ขาย หมูปิ้ง ขาวบ้านที่เผาป่าเอาผักหวาน เห็ดถอบ รถควันดำ
ต่อมา มหาวิทยาลัยและหน่วยงานของรัฐ เข้ามาศึกษาวิจัยและเริ่มฟันธงว่าแท้จริงปัญหาหลักเกิดจากการเผาป่าปลูกข้าวโพดส่งบริษัทยักษ์
บริษัทยักษ์ก็ออกมาให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัยและประกาศจะไม่รับซื้อข้าวโพดจากไร่ที่มีการเผาป่าเพื่อปลูกข้าวโพด
งานวิจัยที่ออกมาก็หนักไปในแง่มุมวิทยาศาสตร์และผลต่อสุขภาพ แต่ไม่มีการชี้เป้าไปถึงแหล่งต้นตอที่ชัดเจน
มีข้อมูลที่ชัดเจนแล้วว่า
(1) วันที่ 9 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อน จำนวน 1,533 จุด ในขณะที่พม่ายังนำโด่งจำนวน 5,743 จุด ลาว 2,412 จุด กัมพูชา 1,622 จุด เวียดนาม 396 จุด และมาเลเซีย 33 จุด
(2) ในช่วงปี 2558-2563 พื้นที่ป่า 10.6 ล้านไร่ในประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงถูกทำลายและกลายเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพด ในจำนวนนี้ราว 5.1 ล้านไร่ อยู่ในประเทศลาวตอนบน รองลงมาคือรัฐฉานของ
เมียนมา (2.9 ล้านไร่) และภาคเหนือตอนบนของไทย (2.5 ล้านไร่)
(3) ในปี 2564 ประเทศไทยนำเข้าข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารสัตว์รวม 1.83 ล้านตัน มูลค่า 407.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีแหล่งนำเข้ามากที่สุดคือพม่า มีปริมาณนำเข้า 1.79 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 97.8% ของปริมาณการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย
(4) พื้นที่ปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่ของพม่า (56%) อยู่ในรัฐฉาน ซึ่งเป็นบริเวณติดกับพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยที่กำลังเผชิญฝุ่นพิษจนหลายจังหวัดติดอันดับพื้นที่ที่มีคุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลกไปแล้วในปัจจุบัน
(5) ผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธ์ข้าวโพดที่สำคัญในพม่าคือบริษัทยักษ์