ผู้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรวิทยาการผู้นำไทย-จีน รุ่นที่ 5 ศึกษาดูงานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สักการะหลวงปู่ไต้ฮง และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการก่อตั้ง ภารกิจการช่วยเหลือผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยาก ไปจนถึงประวัติศาสตร์ของคนจีนที่มีบทบาทและสืบทอดเชื้อสายมาจนถึงปัจจุบัน
ผู้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรวิทยาการผู้นำไทย-จีน หรือ วทจ.รุ่นที่ 5 ศึกษาดูงาน ณมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สักการะหลวงปู่ไต้ฮง หรือ ไต้ฮงกง ซึ่งเป็นองค์ดั้งเดิมที่อัญเชิญมาจากจีนเมื่อ 110 ปีที่แล้ว เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ หรือ หอประวัติ และดูงานภารกิจของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และชมการสาธิตการกู้ชีพ กู้ภัย โดยมี คุณอรัญ เอี่ยมสุรีย์ กรรมการมูลนิธิปอเต็กตึ้ง และผู้อำนวยการสถาบันและประธานหลักสูตร วทจ.บรรยายถึงประวัติความเป็นมาและภารกิจของมูลนิธิป่อเต็กตึ้ง ว่า มูลนิธิป่อเต็กตึ้งเกิดขึ้นในปี2453 เป็นช่วงคาบเกี่ยวรอยต่อระหว่างปลายรัชกาลที่ 5 กับต้นรัชกาลที่ 6 เกิดโรคระบาดในสังคมไทยและมีคนเสียชีวิตจำนวนมาก บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ได้มีพ่อค้าจีน 12 คนนำโดย นายฮง เตชะวนิช หรือหยี่กอฮง หรือบรรดาศักดิ์ พระอนุวัตราชนิยม เป็นคนรวบรวมคนจีน 12 คนขึ้นมา ตั้งเป็นคณะเก็บศพไต้ฮงกง ผ่านมา 20 กว่าปี กิจการของคณะเก็บศพเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ และมีงานที่หลากหลาย จึงตั้งเป็นมูลนิธิขึ้นมาในปี 2480 โดยมีนายเหียกงเอี่ยม หรือ นายเอี่ยม เอี่ยมสุรีย์ คุณปู่หรืออากงของคุณอรัญ เป็นประธานคนแรก คุณอุเทน เตชะไพบูลย์ เป็นรองประธานและเลขาธิการมูลนิธิ หลังจากที่นายเอี่ยมถูกยิงเสียชีวิตที่เยาวราช คุณอุเทนก็เป็นประธานคนต่อมา ทั้งการช่วยเหลือสังคม ก่อตั้งโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รวมทั้งแพทย์แผนจีน พระมหากรุณาธิคุณของราชวงศ์จักรีที่มีต่อมูลนิธิป่อเต็กตึ้ง เมื่อตั้งเป็นคณะเก็บศพในหลวงรัชกาลที่ 6 พระราชทานเงินให้ทุกปี ปีละ 2 พันบาท เทียบกับปัจจุบันประมาณแสนกว่าบาท แล้วทรงมีดำรัสว่า “ดีนะ คณะเก็บศพทำให้บ้านเมืองสะอาดขึ้น”
ปี 2489 มีกบฎเลียะพะ ซึ่งเป็นช่วงที่มีความขัดแย้งระหว่างตำรวจกับคนจีนในสำเพ็ง เยาวราช เกิดจราจลย่อยๆขึ้นมา ในหลวงรัชกาลที่ 8 กับพระอนุชาคือรัชกาลที่9 เสด็จประพาสไป เจริญกรุง สำเพ็ง เยาวราช ท่านได้เสด็จมาที่มูลนิธิป่อเต็กตึ้งและโรงพยาบาลหัวเฉียว ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงคลี่คลายด้วยดี
ปี 2522 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จมาเปิดอาคาร 22 ชั้น ทรงมีพระราชดำรัสว่าโรงพยาบาลนี้เป็นแห่งแรกที่สามารถลำเลียงผู้ป่วยทางเครื่องบินได้
ปี 2537 เสด็จมาเป็นประธานเปิดโรงพยาบาลหัวเฉียว โดยใช้เวลาอยู่ 2 ชั่วโมงและปลูกต้นโพธิ์ที่มหาวิทยาลัย ทรงมีพระราชดำรัสกับอธิการบดีและคุณอุเทนว่า“ขอให้ทำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ดีและพระราชทานเงินให้ ซึ่งเป็นเงินที่นำมาต่อยอดเป็นทุนการศึกษาต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
ปี 2548 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเปิด คลินิคการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว และเปิดชั้น 8 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 นี้ เป็นศูนย์ฟื้นฟูอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคระบบประสาท ซึ่งในแต่ละปีมีคนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 350,000คน เสียชีวิตปีละ 35,000 คน ทุกๆ 4 นาทีจะมีคนเป็นอัมพาต 1 คน ถ้าเยียวยาเร็วจะมีโอกาสหายเร็วขึ้น ซึ่งที่นี่รักษาด้วยการฝังเข็ม ด้วยศาสตร์พิเศษของจีนและเป็นนวัตกรรมของที่นี่ ซึ่งจะมีการช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รักษาฟรีด้วย มีการสงเคราะห์ งานทิ้งกระจาดให้ผู้ล่วงลับ และนำมาบริจาคให้กับคนยากไร้ ,งานสุสานฌาปนกิจ ,ขับเคลื่อนศูนย์อบรมการปฐมพยาบาลฉุกเฉินเบื้องต้น ,ศูนย์วิทยุกรุงเทพสายด่วน 1418 ,จุดกู้ชีพกู้ภัย 7 จุด ที่ผ่านมาเคยมีปัญหาที่อาสามัครแย่งเก็บศพกันเพราะมีเรื่องรายได้ จึงรู้สึกไม่สบายใจ และได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ว่าคนเป็นอาสาสมัครได้ต้องเป็นคนที่เลี้ยงตัวเองได้แล้ว ไม่เช่นนั้นจะเข้ามาเป็นอาสาสมัครทำไม เราจึงควรมีการคัดเลือกคนที่จะเป็นอาสา ป่อเต็กตึ้งจึงไม่มีอาสาสมัครในต่างจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพและปริมณฑล เพื่อช่วยสนับสนุนอาสาสมัครจากที่อื่นในแต่ละจังหวัด
ศ.(พิเศษ)วิบูลย์ ตั้งกิตติภาภรณ์ ประธานบริษัท ที่ปรึกษากฎหมายฟาร์อีสต์ จำกัดบรรยายเรื่อง สืบสานตำนานลอดลายมังกรในสยาม โดยมีขอบเขตเนื้อหาการบรรยายเกี่ยวกับ คนไทสยามมาจากไหน การผงาดขึ้นของมังกรในถิ่นสยามบทบาทของลูกหลานพันธุ์มังกรในสยาม โดยเล่าถึงตำนาน พงศาวดาร และบันทึกจริง ว่า คนไทสยามมาจากไหน,มังกรผ่านอาณาจักรทวาราวดี ,มังกรลุกประชิดอาณาจักรสุวรรณภูมิและสุโขทัย ,มังกรล่องเรือมายังกรุงศรีอยุธยา,มังกรผงาดขึ้นที่กรุงธนบุรี,มังกรร่ายรำเหนือนภากรุงรัตนโกสินทร์,ลูกหลานพันธุ์มังกรในสยามสุดท้ายมรดกตกทอดจากพันธุ์มังกรพลัดถิ่น โดยหยิบยกงานวิจัยที่เคยทำเรื่องแม่น้ำโขง ที่เชื่อมโยงเผ่าพันธุ์ของกลุ่มคนในยุคต่างๆ ไปจนถึงช่วงเวลาที่คนจีนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เรื่อยมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งมีทุกราชวงศ์ล้วนมีเชื้อสายจีน ลูกหลานพันธุ์มังกรในสยาม อาทิ เจ้าพระยานิกรบดินทร์หรือเจ้าสัวโต ,พระยาอนุวัฒน์ราชนิยม ผู้ก่อตั้งมูลนิธิป่อเต๊กตึ๊ง ,หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ,ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ,เหียกวงเอี่ยม บุรุษแห่งตำนานวีรชนจีนโพ้นทะเล ต้นตระกูลเอี่ยมสุรีย์ เป็นต้น
พระยาอนุวัฒน์ราชนิยม ต้นตระกูลเตชะวนิช หรือหยี่กอฮง ได้รับพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่ 6 ว่า เตชะวนิช หรือแซ่แต้ ในสมัยนั้นคนจีนด้วยกันพูดว่า“ยามเกิดมีหยี่กอฮง ยามตายมีไต่ฮงกง แค่นี้พอแล้ว” เป็นคำพูดที่ติดปากคนแต้จิ๋วในยุครัชกาลที่ 6 ปัจจุบันบ้านของหยีกอฮง คือ สน.พลับพลาชัย
ส่วนเหียกวงเอี่ยม ในปี 1936 ได้เป็นประธานหอการค้าไทย-จีนเพราะเคลื่อนไหวช่วยเหลือประเทศจีนต่อต้านญี่ปุ่น เป็นคนเดียวที่อยู่ในศิลาจารึกที่ซีอาน จำเป็นต้องพลีชีพเพื่อชาติ ขยายการต่อต้านญี่ปุ่นเพื่อกู้ชาติ ภายหลังถูกลอบสังหาร เสียชีวิตคำกล่าวกับภรรยาก่อนสิ้นลมหายใจ คือ “แม้ฉันจะตายไม่ต้องเสียใจ จีนจะต้องชนแน่นอน” ภรรยาของท่านปัจจุบันคือ คุณย่าของคุณอรัญ เอี่ยมสุรีย์ ซึ่งท่านได้เขียนข้อความถึงสามีเช่นกันว่า “ท่านพลีชีพเพื่อชาติ ฉันต้องอยู่เพื่อบ้าน อาลัยสามีแต่ต้องเลี้ยงดูลูก ชีวิตนี้ต้องจำทนอยู่ต่อไป” เป็นการเขียนเพื่อเตือนตัวเอง