วันที่ 4 มีนาคม 2566 ที่ สมาคมสตรีไทยสากล ดร.จิดาภา แต่สกุล  นายกสมาคมสตรีไทยสากลแห่งชาติกล่าว่า วันที่ 6 มีนาคมเป็นวันสถาปนาสตรีไทยสากล โดยปีนี้สมาคมสตรีไทยสากล ได้จัดโครงการสถาปนา วันสตรีสากลซึ่งในปีนี้ได้รวมพลังสตรีสากลทั่วประเทศ จัดหาบุคลต้นแบบ ครอบครัวต้นแบบ ผู้ทำคุณประโยชน์ ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รางวัลฟัฒนาสังคมจิตอาสา ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และ คุณสมบัติบุคคลต้นแบบ ประจำจังหวัด ละ 1 รางวัล เขตละ 1 รางวัล และรางวัลอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับ รางวัล เทฟิสตรีไทยสากล ประจำจังหวัด 1 รางวัลมอบมงกุฎ สายสะพาย ใบเกียรติบัตร เดินแฟชั่นโชว์ ดินเนอร์อาหารว่าง ในซุ้มสมาคมสตรีไทยสากล และพูดคุยแลกเปลี่ยนการเรียนรู้อื่นๆ
กำหนดการจัดงานในวันจันทร์ ที่ 6 มีนาคม 2566
ณ หอประชุมคุรุสภา ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ
ภายในงานจัดให้มีการแสดงชุดพิเศษ และเดินแฟชั่นโชว์ผ้าไทยหลากวิจิตร พร้อมมอบรางวัล รวม 50 รางวัล และรับชมรำพระแม่ธรณี จากนั้นแต่งตั้งเทพีธรณีวสุนธรา พร้อมมอบรางวัลพระแม่ธรณี

ดร.จิดาภา  กล่าวว่าคณะกรรมการ และคณะที่ปรึกษาทุกท่าน ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทสตรี คำนึงถึงสิทธิความเท่าเทียม และเสรีภาพคามเสมอภาค อย่างมีนัยสำคัญเสมอมาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นว่าปัจจุบัน ได้จัดตั้งสมาคมสาขาประจำจังหวัด และเขตของกรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาส ให้กลุ่มสตรีที่มี
ความประสงค์ อาสาเข้ามาเป็นตัวแทนของสตรีในพื้นที่ ส่งผ่านการช่วยเหลือการสนับสนุนหรือการร่วมกันทำงาน เพื่อยกระดับบทบาทสตรี
ไทยให้เข้าสู่สตรีสากล และสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของสมาคมสตรีไทยก็คือ พระแม่ธรณีบีบมวยผมหรือพระศรีวสุนทรา เป็นเทพีแห่งแผ่น
ดินที่เราเรียกกันว่าพระแม่ธรณีที่มีบุญคุณกับเราทุกคน ที่ได้อาศัยอยู่กินกันทุกวันนี้ พระแม่ธรณีบีบมวยผม เป็นตราสัญลักษณ์ของสมาคมฯรางวัลพระแม่ธรณีจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้ที่ได้ประกอบคุณงามความดีจนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนแล้ว 
โดยผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองแล้ว ในปี 2565 - 2566 สมาคมได้มี
การขยายงานจากส่วนกลาง ลงไปสู่ส่วนภูมิภาคและในพื้นที่ของกรุงเทพฯ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ โดยมีการแต่งตั้งผู้บริหารสาขาเพิ่มอีกหลายสาขาและมีตัวแทนกลุ่มสตรีที่เข้ากณฑ์ จะได้เข้ารับรางวัลพระ
แม่ธรณีจำนวนหลายท่าน และได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการให้เข้ารับรางวัลพระแม่ธรณี ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

ดร.จิดาภา  กล่าวอีกว่าองค์กรสตรีสากลมีความเป็นมา กลุ่มสตรีจำนวนหนึ่งได้ออกมาเรียกร้องสิทธิความชอบธรรมและความเท่าเทียมในสังคม จากการที่สตรีต้องตกอยู่ใต้อำนาจของผู้ชาย
ไร่ซึ่งสิทธิเสรีภาพอย่างที่ควร จะได้รับการถูกกดขี่ข่มเหงและการเอารัดเอาเปรียบได้กลายเป็นพลังผลักดันจนเกิดการลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้อง
สิทธิความเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี โดยมีผู้ทำที่ได้รับการตอบรับ เธอคือ คลาร่า เซทกิ้น
การลุกขึ้นสู้ของกลุ่มสตรีนั้นประวัติศาสตร์ได้บันทึกการต่อสู้ไว้เป็นที่ประจักษ์หลายครั้งหลายหนหลายสถานที่ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่มีคุณค่า
แหลมคมทั้งสิ้น จวบจนถึงปี ค.ศ.1910 ตรงกับ พ.ศ.2453 ได้มีการเสนอให้วันที่ 8 มี.ค.เป็นวันสตรีสากลเพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ของกลุ่มสตรี ที่ใช้เวลาการต่อสู้มามากกว่า 2 ศตวรรษ ประเทศต่างๆส่วนใหญ่ให้การยอมรับบทบาทสตรีแล้ว องค์กรต่างๆในระบบของสหประชาชาติก็มีหน้าที่พิทักษ์สิทธิสตรี ได้จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิสตรีเป็นองค์กรภายใต้คณะมนตรี เศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่กำหนด
แนวทางการยกระดับสถานภาพสตรีทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองวัฒนธรรมและการศึกษา
จากการต่อสู้ของกลุ่มสตรีจำนวนมากก็ปรากฎนามของสตรีที่มีชื่อ คลาร่า เซทกิ้น เธอได้ถูกขนานนามว่าเป็นมารดาแห่งการเคลื่อนไหวเป็นแม่ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากลของโลกวันที่ 8 มี.ค.ของทุกปี คือวัน
สตรีสากลที่สตรีทั้งโลกควรให้ความสำคัญ และก็เฉกเช่นเดียวกันกับกลุ่มสตรีในประเทศไทยก็ให้ความสำคัญเช่นเดียวกับสตรีทั่วโลก จึงเป็นที่มา
ของสมาคมสตรีไทยสากลนั้นเอง