เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมประชานารถ เขตพื้นที่จักรพงษภูวนารถ สาขาการจัดการกีฬา คณะศิลปศาสตร์ จัดโครงการเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ "แนวทางการจัดการแข่งขันกีฬาและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model)" โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ นายกสมาคมกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ และ ดร.ฐณวุฒ ชุติพงศ์เดช นักวิชาการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมเสวนา ในการดำเนินรายการครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณาธิป จิระสัญญาณสกุล คณบดีคณะศิลปศาสตร์ และรักษาราชการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เป็นผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณาธิป จิระสัญญาณสกุล คณบดีคณะศิลปศาสตร์ และรักษาราชการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก กล่าวว่า BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยเปลี่ยนข้อได้เปรียบที่ไทยมีจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็นความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้น BCG Model จะเป็นกลไกที่มีศักยภาพสูงในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศอย่างทั่วถึง สามารถกระจายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันสามารถสร้างให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในบางสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพ จึงได้กำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน BCG Model ดังนี้ • มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมเป้าหมาย BCG • ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการเพิ่มรายได้เกษตรกรและชุมชน • ยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทยขึ้นเป็นผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพและส่วนประกอบอาหารมูลค่าสูง Top 5 ของโลก • อุตสาหกรรมชีวภาพ การผลิตยา เครื่องมือแพทย์ วัสดุชีวภาพ มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพส่งออก เป็นแหล่งจ้างงานทักษะสูงและรายได้สูง • ระบบบริหารจัดการท่องเที่ยว นำไปสู่ Top 3 ของเอเชียแปซิฟิก (จัดโดย Travel & Tourism Competitiveness Index, World Economic Forum) • ลดการใช้ทรัพยากรลงจากปัจจุบัน