สกู๊ปพิเศษ.."ธนาคารขยะ"โครงการนำร่องชุมชนบ้านก้านเหลืองหมู่ 3 ต.ผักไหม อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์" ชมคนด้วยวาจา... มีค่ายิ่งกว่ามอบไข่มุกให้เป็นของขวัญ ทำร้ายคนด้วยวาจา.สาหัสยิ่งกว่าทิ่มแทงด้วยหอกดาบ
ปัญหา"ขยะ" นับวันมีปริมาณเพิ่มขึ้นจำนวนมากตามประชากรของพื้นที่พักอาศัยหากไม่มีการกำจัดขยะให้ถูกต้องและเหมาะสม ความสกปรกต่างๆจะตามมาทันที ขยะที่กองทับถมกันมานานย่อมก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ กระทบต่อ ระบบนิเวศวิทยา และการสูดดมหายใจในกลิ่นที่ไม่พึ่งปราถนา ต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยทั้งทางตรงและทางอ้อม"
เทศบาลตำบลผักไหม ได้แต่งคณะที่ปรึกษา และคณะกรรมการบริหารจัดการธนาคารขยะ ระดับหมู่บ้าน/ชุมชนบ้านก้านเหลืองหมู่ 3 ต.ผักไหม อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ลงมติเห็นด้วยกับแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559-2564 ตามที่กระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเสนอต่อ พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยบูรณาการร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนปฏิบัติการ ประเทศไทยไร้ขยะ ตามแนวทางประชารัฐ โดยใช้หลักการ 3 rs คือ 1.การใช้น้อย 2.ใช้ซ้ำ 3.นำกลับมาใช้ใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยในสภาพรวมของประเทศไทยลดลงถึงร้อยละ 5 เปอร์เซ็นต์
กระทรวงมหาดไทย จัดทำแนวทางการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนจังหวัดสะอาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการลด และคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดภายใต้หลักการ 3 rs และหลักการประชารัฐ
เพื่อให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนจังหวัดสะอาดบรรลุ วัตถุประสงค์และเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ "บ้านก้านเหลือง" ซึ่งผ่านการอบรมโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของชุมชนในการคัดแยกขยะ "ที่ต้นทาง" และเป็นชุมชนต้นแบบ พร้อมจัดตั้งธนาคารขยะ เพื่อให้ชุมชน และ ครัวเรือนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการธนาคารขยะของ "บ้านก้านเหลือง"ภายใต้การดูแลของเทศบาลตำบลผักไหม โดยมีคณะที่ปรึกษาประกอบด้วยนายกเทศมนตรี,รองนายกเทศมนตรี,ปลัดเทศบาลหัว,หน้าสำนักปลัด,นักวิชาการสาธารณสุข,นักพัฒนาชุมชน และคณะกรรมการบริหารจัดการ"ธนาคารขยะ"
โดยมี "นายอภิวัฒน์ จันทสิทธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานกรรมการ" มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการธนาคารขยะ ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับธนาคารขยะบ้านก้านเหลือง ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน 2553 และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธนาคารขยะ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ การปฏิบัติงานด้านการจัดการขยะมูลฝอย 1 แก้ไขปัญหาขยะและขับเคลื่อนปัญหาทุกอย่างในเขตหมู่บ้านชุมชนระดับครัวเรือน 2 ขอความร่วมมือจากประชาชนในการใช้ภาชนะสิ่งของหรือ อาหารให้ใช้ปิ่นโตกล่องใส่อาหารแทนในการใช้พลาสติกโฟม 3 รณรงค์ลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือยเช่นการใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้กระดาษทิชชู่ 4.คัดแยกขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนำไปขายได้เช่นแก้วกระดาษพลาสติกโลหะ และ อโลหะ 5.ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะครัวเรือน/ตลาดสด เช่นเศษอาหาร เศษผัก เศษเนื้อ เศษผล ไม้ซากสัตว์และมูลสัตว์นำมาทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เกษตรกร หรือปฏิบัติงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า ตามนโยบายดังกล่าว ได้เน้นย้ำด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบ และก่อให้เกิดความเสียหาย กับ สังคมโดยรวม ทั้งเกิดผลเสียหายกับประชาชน โดยเฉพาะ "ขยะ" การกำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิธีและสุขลักษณะ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น น้ำเน่าเสียสู่แม่น้ำลำคลอง เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน จึงต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมขอความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน
ธนาคารขยะบ้านก้านเหลือง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26- 27 สิงหาคม 2563 ได้รับการสนับหนุนตามโครงการ"ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชนในการคัดแยกขยะที่"ต้นทาง" จากเทศบาลตำบลผักไหม เป็นเงินจำนวน 70,000 บาท ในการอบรมให้ความรู้และศึกษาดูงาน ที่จังหวัดเชียงใหม่ (ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงในการจัดตั้งธนาคารขยะ บ้านก้านเหลืองในเวลาต่อมา)
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 นายอภิวัฒน์ จันทร์ประสิทธิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 (คนใหม่) พร้อมแกนนำชุมชน ร่วมประชุมปรึกษาหารือเพื่อจัดตั้งธนาคารขยะของหมู่บ้านขึ้น จึงนำเข้าสู่วาระการประชุมหมู่บ้าน (เป็นการประชุมประชาคมหมู่บ้าน) เพื่อขอความเห็นชอบ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งธนาคารขยะ พร้อมจัดระเบียบข้อบังคับ ธนาคารขยะ"บ้านก้านเหลือง" ตามคำสั่งเทศบาลที่ 610/2563 ลงวันที่ 19 ต.ค.63 ดำเนินการต่อเนื่อง โดยกำหนดให้มีการรับซื้อขยะจากสมาชิกทุกวันที่ 3 ของเดือน ปัจจุบันสมาชิกมีทั้งสิ้นจำนวน 97 ราย การจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก"ธนาคารขยะ" โดยมีเงินช่วยเหลือฌาปนกิจสงเคราะห์ ให้กับสมาชิกที่เสียชีวิต โดยเฉพาะมื่อปี 2563 จำนวน 2 ราย
นอกจากนี้ได้นำเงินของ"ธนาคารขยะ"ไปเปิดบัญชีกับธนาคารออมสิน ประเภทออมทรัพย์-เพื่อฝากเงิน-บิกเงินตามวัตถุประสงค์ของธนาคาร และกำหนดการปันผลปลายปี
นายอภิวัฒน์ กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานชาวบ้านยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของธนาคารขยะทำให้มีการต่อต้านในช่วงแรก สำหรับการทำบัญชีงบดุลของธนาคารขยะยังขาดความรู้ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำบัญชีย่อยเพื่อความสมบูรณ์ของงบการเงิน ปัจจุบันธนาคารขยะเหลืองยังขาดงบประมาณสนับสนุนในเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ รวมถึงหน่วยงานที่ปรึกษาหรือภาคีเครือข่ายยังไม่หมดบาทเข้ามาช่วยเหลืออย่างเต็มที่แม่นว่าคณะกรรมการเองยังขาดความรู้และความเข้าใจในความสามัคคีทำให้การทำงานย่อมมีอุปสรรคอยู่บ้างแต่ก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี หากประชาชนในพื้นที่ร่วมมือกันทำการคัดแยกขยะ แล้วนำไปส่งที่ ธนาคารขยะโดยจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจรับและทำการคัดแยกอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับผู้ที่กระทำความผิดนำสิ่งของไปวางไว้บริเวณถนน ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 มาตรา 32 จึงทำการเปรียบเทียบปรับ ตามใบเสร็จรับเงินเทศบาลตำบลโชคชัย เลขที่ RCPT-00713/65 ลง 24 ม.ค. 65 จำนวน 500 บาท หากพบบ่อกำจัดขยะที่ทำไม่ถูกต้อง ชุมชนเดือดร้อน สามารถโทรมาแจ้งขอมูลได้ที่สายด่วน 1136