วันที่ 28 มี.ค.ที่กระทรวงศึกษาธิการ นายอาทร บุญคุ้มครอง เครือข่ายพัฒนาคุณภาพผู้ที่ได้รับผลกระทบตาม (ว 13 ) ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ทบทวนพิจารณารับรองคุณสมบัติผู้เข้ารับการประเมินหลังไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งเครือข่ายพัฒนาคุณภาพผู้ได้รับผลกระทบตาม (ว 13) ประกอบด้วยครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งประเทศกว่า 1,933 ราย และสมาชิก 100 นาย ทั่วประเทศ รวมพลังเดินหน้าเรียกร้องคืนสิทธิการรับรองคุณสมบัติเข้ารับการประเมินตามเกณฑ์และวิธีการ (ว 13) ในการเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการพิจารณารับรองคุณสมบัติเข้ารับการประเมินจากมติคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ว 13/2556 ทั้งนี้เมื่อปี 2559 มีครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ได้เสนอขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญเชิงประจักษ์ จำนวน 5337 ราย ผลการพิจารณาได้รับการรับรองคุณสมบัติเข้ารับการประเมิน จำนวน 400 รายเศษ เป็นผู้ขอเลื่อนวิทยฐานะที่เสนอรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป (รางวัลตรง) ทั้งสิ้นส่วนผลงานดีเด่นที่ส่วนราชการเห็นว่ามีคุณภาพเทียบเคียงได้กับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป(ผลงานเทียบเทียบเคียง) ไม่ได้รับการรับรองแต่อย่างใด เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 ก.ค.ศ.ออกมติให้ผู้ไม่ได้รับรองคุณสมบัติที่ขอเลื่อนวิทยฐานะ ในปีดังกล่าว ขอทบทวนมติ ก.ค.ศ.ได้หากเห็นว่า ก.ค.ศ. คลาดเคลื่อน โดยมีผู้ขอทบทวนมติ ก.ค.ศ. จำนวน 1933 ราย ซึ่งขณะนี้ ก.ค.ศ.ได้พิจารณาและรับรองคุณสมบัติเข้ารับการประเมินเพียง 163 ราย ที่เป็นรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป (รางวัลตรง) ทั้งหมด กรณีผลงานเทียบเคียงที่ก.ค.ศ. เคยรับรองคุณสมบัติเข้ารับการประเมินและอนุมัติมาแล้ว จำนวน 53 ผลงาน ซึ่ง ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา เสนอขอผลงานเทียบเคียงเดียวกันแต่ไม่ได้รับการรับรองคุณสมบัติ จึงไม่ได้รับความเป็นธรรม และเชื่อว่า ก.ค.ศ. ละเมิดหลักเกณฑ์และวิธีการ ว 13/2556 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งศาลปกครองพิษณุโลกได้ออกคำพิพากษากรณี นายบรรเทิง ทานะขันธ์ ยื่นฟ้อง ก.ค.ศ. ไม่รับรองผลงานเทียบเคียง ลำดับที่ 1 และ 2 โดยให้เหตุผลว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้มีมติไม่รับรองเป็นรางวัลสูงสุดระดับชาติแต่ผู้ฟ้องคดีนำมาเสนอเป็นผลงานเทียบเคียงจึงไม่สามารถเทียบเคียงได้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ศาลพิพากษาให้เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้อง ก่อนหน้านี้เครือข่ายร้องขอความเป็นธรรมต่อเลขาธิการ ก.ค.ศ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร โดยขอให้ ก.ค.ศ. ชลอการพิจารณาการขอทบทวนไว้เป็นการชั่วคราว และเสนอตั้งคณะกรรมภาคีที่มีผู้ได้รับผลกระทบจากการขอทบทวนมติ ก.ค.ศ. เพื่อพิจารณาแก้ปัญหา แต่ ก.ค.ศ. ไม่ชลอการพิจารณา และไม่หาแนวทางแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด กลับดำเนินการพิจารณาการขอทบทวนมติ ก.ค.ศ. และไม่แก้ปัญหา อุปสรรคความไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด พิจารณาวันๆ ละประมาณ 200 ราย ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ขาดความเป็นธรรม ผิดปกติ ไม่ให้ความเสมอภาคผลงานเทียบเคียงที่ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากร เสนอขอทบทวน ด้วยการชี้แจงองค์ประกอบตามข้อ 13 ของผลงานเทียบเคียง 4 องค์ประกอบอย่างชัดเจนแล้ว สนับสนุนเอกสาร หลักฐาน ผลการพิจารณาของ ก.ค.ศ. ผู้ขอทบทวนมติ ก.ค.ศ. รางวัลสูงสุดระดับชาติอีกจำนวนหนึ่ง และคำขอทบทวนที่มีผลงานเทียบเคียงด้วยจำนวนประมาณ 1600 ราย ไม่ได้รับการรับรองคุณสมบัติเข้ารับการประเมินเลยสักราย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบั่นทอนขวัญ กำลังใจ เพิ่มความเครียด ความวิตกกังวล ต่อผู้เสนอขอทบทวนมติ ก.ค.ศ. ที่รอคอยด้วยความหวังมาเป็นเวลานานร่วม 6ปี กลับไม่ได้รับการรับรองคุณสมบัติเข้ารับการประเมินแต่อย่างใด วันนี้จึงมาอ่านแถลงการณ์ และข้อเรียกร้องต่อ รมว.ศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิ ได้มอบหมายให้ตัวแทนมารับเรื่องและสั่งการให้ ก.ค.ศ หรือหยุดการประกาศผลคุณสมบัติ ผู้เข้ารับการประเมิน การขอทบทวนมติ กคศ.ไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาและรอคำสั่งศาลปกครองสูงสุดกรณีที่มีการฟ้องกยทไปแล้ว 2.ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลกระทบจากการพิจารณาคุณสมบัติ ดังกล่าว โดยให้มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ได้รับผลกระทบร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย 3.ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอมติ ก.ค.ศ.เพื่อเห็นชอบเยียวยา อนุโลมรับรองคุณสมบัติผู้เข้ารับการประเมินเฉพาะผลงานดีเด่นที่เคยรับรองและอนุมัติมาแล้วจำนวน 53 รายการ และผลงานดีเด่นอื่นที่ชี้แจงองค์ประกอบตามข้อ 13 โดยยึดตามแนวทางคำพิพากษาศาลปกครองพิษณุโลก โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งตัวแทนรัฐมนตรีลงมารับขึ้นไปพูดคุยปัญหา เบื้องต้นโดยรับปากจะนำขัอเรียกร้องยื่นให้รัฐมนตรีเผื่อดำนินการต่อไป