นายประจักษ์ กิติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ (ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์กับนวัตกรรม) บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทให้การต้อนรับ เจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงจาก 6 หน่วยงาน จำนวน 45 คน ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวงนนทบุรี การไฟฟ้านคราหลวงเขตบางเขน, ฝ่ายอุปกรณ์งานจำหน่าย, ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า, ฝ่ายวิจัยและพัฒนา, ฝ่ายธุรกิจบริการและคุณภาพไฟฟ้า เยี่ยมชมหม้อแปลงหม้อแปลงอัฉริยะ ซับเมอร์ส (Submersiber Transformer) ชนิดจมน้ำ ที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย โดยบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ที่เป็นผู้คิดค้นและผลิต นวัตกรรมไทยที่ได้รับ รหัสที่ 07020011 ขึ้นทะเบียน ระหว่างปี 2562-2570 ระยะเวลา 8 ปี มีชื่อทางการค้าของผลงานนวัตกรรมไทย : ว่า หม้อแปลงฟ้าระบบจำหน่ายชนิดดำน้ำ (Submersible Type Distribution Transformer) รองรับมิติใหม่ของการนำสายไฟลงดินทั้งระบบ
“ปัจจุบันการนำระบบสายไฟฟ้าลงดิน มีการพัฒนาไปมาก ที่ผ่านมามีการนำระบบไฟฟ้าลงดินนั้นยังคงเหลือหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่คงอยู่เป็นดิน หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดดำน้ำ จึงเป็นนวัตกรรมที่มาตอบโจทย์ สำหรับการจำหน่ายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าใต้ดิน”
สำหรับเรื่องของไฟฟ้าแล้ว แน่นอนว่าสิ่งที่หลายคนกังวลก็คือการถูกไฟดูด หรือไฟฟ้าช็อต โดยเฉพาะเมื่ออยู่ร่วมกับน้ำจะยิ่งทำให้กระแสไฟถูกนำมาพามาหาได้ไวมากขึ้น ขณะที่หม้อแปลงซับเมอร์สซึ่งการติดตั้งจะถูกฝังลงไปใต้ดิน เมื่อเกิดน้ำท่วมจะมีปัญหาหรือไม่ ข้อนี้นายประจักษ์ อธิบายให้ฟังว่า ไทยใช้ไฟขนาด 33,000 โวลต์ โดยที่ไฟฟ้า 10,000 โวลต์ จะรั่วไหลออกมาได้เพียง 1 เซนติเมตร เพราะฉะนั้นหากคิดตามกระแสไฟฟ้าของไทย รัศมีที่เป็นอันตรายเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะมีเพียงแค่ 33 เซนติเมตรเท่านั้น
“ยิ่งอยู่ห่างก็ยิ่งถูกดูดน้อยลง ที่สำคัญน้ำมีความต้านทานมากกว่าอากาศ โดยที่อากาศจะเร็วกว่าเพราะอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งผู้ที่ถูกไฟดูดส่วนใหญ่จะเป็นโวลต์ต่ำ และเป็นการเอามือเข้าไปสัมผัส ขณะที่หม้อแปลงซับเมอร์สจะอยู่ต่ำลงไปใต้ดิน โอกาสที่จะถูกดูดจึงน้อยมาก”
ส่วนระบบสายไฟฟ้าใต้ดินเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบสายส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าไว้ใต้พื้นดิน ซึ่งได้เดินร้อยท่อฝังดินในโครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อรองรับสายเคเบิล และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำส่งไฟฟ้าโดยเฉพาะ จึงมีความปลอดภัยต่อการใช้งานสูง
นายประจักษ์ กล่าวต่อว่า หม้อแปลงดำน้ำเหมาะกับพื้นที่ที่มีจำกัดในการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าเช่น พื้นที่ทางเท้าที่แคบ พื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วม หรือพื้นที่ที่ต้องการทัศนียภาพสวยงาม ซึ่งการติดตั้งหม้อแปลงชนิดนี้สามารถทำงานในสภาวะอยู่ใต้น้ำ มีความแข็งแรงทนทาน สามารถอยู่ใต้น้ำลึกถึง 3 เมตรเหนือระดับฝาถังหม้อแปลง เมื่อเทคโนโลยีดังกล่าวเกิดขึ้นการปลูกป่าในเมืองก็ง่ายขึ้นไม่ต้องตัดต้นไม้ และทำให้อากาศรวมถึงความร่มรื่นของเมืองไทยเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ต้นไม้ได้อยู่ในเมืองมากขึ้น ส่วนน้ำที่ไหลในบ่อก็อาจจะบรรเทาเรื่องน้ำท่วม
“หม้อแปลงจมน้ำ แก้ไขปัญหาหม้อแปลงที่ติดตั้งบนเสาไฟทำให้ทัศนีย์ภาพไม่น่าดู เกะกะ การนำหม้อแปลงลงใต้ดิน จะมีประโยชน์ต่อสังคมและพี่น้องประชาชน ในด้านความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ป้องกันการเกิดอัคคีภัย และยังสร้างทัศนีย์ภาพที่สวยงามให้เมือง แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าขายในพื้นที่ให้แก่ประชาชน ที่ดินมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น”
นอกจากนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับหม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดตั้งบนเสาไฟ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ต้นไม้พาดเกี่ยว และสัตว์เลื้อยคลานทำให้เกิดอุบัติเหตุ สร้างความเสียหายจนทำให้เกิดอัคคีภัย ระบบไฟฟ้าลัดวงจรก็จะหมดไป โดยหากมีการนำหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่บนเสาลงใต้ดินจะลดความเสี่ยงด้านอัคคีภัย เกิดความปลอดภัยและไฟฟ้าเกิดความเสถียรภาพ
“การออกแบบหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายชนิดดำน้ำ มีการป้องกันการลัดวงจรจากการอยู่ใต้น้ำ โดยได้มีการทดสอบตามข้อกำหนดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งหม้อแปลงสามารถติดตั้งในห้องหม้อแปลงใต้พื้นดิน ชนิดบ่อเปียก (Wet Vault) ได้เพื่อรองรับระบบการเดินสายไฟฟ้าใต้ดิน (Underground Cable) เหมาะกับนโยบายนำสายไฟฟ้าลงดินเป็นอย่างยิ่ง”
ทั้งนี้ ทางบริษัทได้ใช้เวลาถึง 2 ปี ในการค้นคว้าและวิจัยพัฒนาหม้อแปลงไฟฟ้าจมน้ำ ร่วมกับสถาบันการศึกษาภาควิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ด้วยการนำเทคนิคและความรู้ของการออกแบบหม้อแปลง submersible จากผู้ผลิตต่างประเทศมาร่วมสร้างนวัตกรรมหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายแบบดำน้ำได้ submersible transformer

