ในช่วง WFH แบบนี้ เชื่อว่าใครหลายคนต้องกำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพอยู่อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น โรคออฟฟิศซินโดรม ปวดเมื่อยตามร่างกายในส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณหลัง คอ บ่า ไหล่ และส่วนอื่น ๆ เพราะชั่วโมงการทำงานในแต่ละวันนั้นยาวนานมากถึง 8 ชั่วโมง หรือบางคนอาจจะทำ OT เพิ่มเติมอีก โดยไม่ได้ลุกเดิน หรือเปลี่ยนท่านั่ง ทำให้เริ่มมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกได้ ดังนั้นการหาอุปกรณ์เสริมอย่างเก้าอี้ทำงานที่ช่วยให้การนั่งทำงานถูกสรีระมากขึ้นนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างมาก วันนี้เราจึงได้รวบรวม 3 วิธีเลือกซื้อเก้าอี้ทำงานอย่างไรให้เหมาะสม และเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณ ว่าแล้วก็ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า ขนาดของเก้าอี้ และฟังก์ชันการใช้งาน ก่อนเลือกซื้อเก้าอี้สักตัวเราควรคำนึงถึงขนาดของเก้าอี้เป็นอันดับแรก เนื่องจากเก้าอี้มีหลายขนาดให้เลือก การเลือกขนาดให้เหมาะสมกับร่างกาย และรูปแบบการใช้งานเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งเก้าอี้ทำงานที่ดีควรสามารถปรับระดับได้ ไม่ว่าจะสูง หรือต่ำ และออกแบบมาเพื่อการนั่งทำงานโดยเฉพาะ เพื่อให้เข้ากับสรีระของตัวเองและอำนวยความสะดวกในขณะนั่งทำงานได้มากยิ่งขึ้น รูปแบบของเก้าอี้ รูปแบบของเก้าอี้ทำงานที่ดีและเหมาะแก่มนุษย์ออฟฟิศควรจะมีลักษณะเป็นแบบ S-Curve เพื่อช่วยรองรับกับกระดูกสันหลังเวลานั่งทำงาน เพราะข้อดีของการเลือกใช้เก้าอี้รูปแบบนี้คือ เก้าอี้จะโค้งไปตามกระดูกแผ่นหลังของผู้นั่ง ช่วยลดอาการปวดหลัง และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้ เหมาะอย่างยิ่งแก่ผู้ที่ต้องนั่งทำงานในท่าเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน โดยผู้ใช้อาจหลีกเลี่ยงการใช้เก้าอี้ที่มีเบาะนิ่มและมีความยืดหยุ่นสูง เพราะอาจทำให้กระดูกผิดรูปได้ คุณภาพและวัสดุที่นำมาผลิต ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้เก้าอี้ทำงานที่ดีอันดับสุดท้ายที่เราควรรู้ไว้เลยก็คือ การพิจารณาจากคุณภาพและวัสดุที่นำมาผลิต เพื่อให้สามารถใช้งานได้นาน ๆ เพราะของที่มีราคาถูกอาจไม่ใช่ของดีเสมอไป ซึ่งวัสดุที่ดีและเหมาะแก่การนั่งทำงานต้องทำมาจาก Memory Foam หรือที่เรียกว่าฟองน้ำ เพราะคุณสมบัติของฟองน้ำลักษณะนี้จะช่วยป้องกันการกดทับของเส้นเลือดบริเวณขาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย ทั้งหมดนี้ก็เป็น 3 วิธีเลือกซื้อเก้าอี้ทำงานอย่างไรให้เหมาะสมกับมนุษย์ออฟฟิศ หากช่วงนี้คุณทำงานที่บ้านแล้วมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และกำลังมองหาเก้าอี้ตัวใหม่ก็สามารถลองนำคำแนะนำที่เรานำมารวบรวมข้างต้นมาประกอบก่อนตัดสินใจซื้อเก้าอี้ได้