บริษัท หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว จากัด ก่อตั้งขึ้นในปี 1960 ตั้งแต่ยุคที่ อินเตอร์เน็ต (Internet) ยังไม่ถูกคิดค้นหรือเป็นที่รู้จัก และตั้งแต่นั้นมาบริษัทฯ เราได้สั่งสมประสบการณ์มากกว่า 60 ปีในอุตสาหกรรมสื่อ จนนาบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใต้ ชื่อ“บริษัท ตงฮั้ว คอมมูนิเคชั่นส์ จากัด (มหาชน)” และเปลี่ยนเป็นชื่อ บริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง จากัด (มหาชน) นับจนถึงปัจจุบันเกือบ 30 ปี โดยบริษัท ฯ เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทหนังสือพิมพ์จีน และเติบโตจนกลายเป็นหนังสือพิมพ์จีนชั้นนาของประเทศไทย ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด สืบเนื่องจากการนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ เราเป็นหนังสือพิมพ์หลากสีแห่งแรกในประเทศไทยและเป็นบริษัทหนังสือพิมพ์จีนแห่งแรกที่นาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เล็งเห็นการพัฒนาของเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนมากมาย รวมไปถึงความล้มเหลวของธุรกิจที่ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลา แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนร่วมและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงอุตสาหกรรมของสื่อในรูปแบบต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ เชื่อว่า นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น
ตลอดสองสามปีที่ผ่านมา ทางทีมงานได้เฝ้าติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ของอุตสาหกรรมสื่อ (Media) ในหลากหลายรูปแบบ จากการวิจัยอย่างละเอียด เราสรุปได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานของสื่อที่มีอยู่ในปัจจุบันถูกออกแบบให้มีผลเสียกับผู้บริโภ อย่างเห็นได้ชัด (corrupted by design) ซึ่งผลเสียเหล่านี้ควรที่จะถูกแก้ไขและเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีกว่า เพื่อสร้างสังคมของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น การระบาดใหญ่ของ Covid-19 ยิ่งทาให้สังคมโดยภาพรวมตระหนักถึงความด้อยประสิทธิภาพของสื่ออย่างชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบของการนาเสนอข่าวปลอม ข้อมูลเท็จและการถูกเซ็นเซอร์หรือห้ามแสดงความคิดเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคมจากรัฐบาล จากปัญหาที่มองเห็นทางทมี งานไดร้ ว่ มกนั วิเคราะห์ และคดิ ค้นวิธีในการแก้ปัญหา เพราะเราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ควรถูกแก้ไขโดยเร็วที่สุดการเปลี่ยนแปลงกาลังจะเริ่มต้น ณ. จุดนี้ ทางบริษัทฯ และทีมงาน มีความรู้สึกตื่นเต้นที่จะประกาศว่า Tong Hua Daily News กาลังรีแบรนด์เป็น Tong Hua Media Lab เพื่อสะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัท ฯ ในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดใหม่ในการนาเสนอสื่อให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นด้วย “คุณค่า” และ” วิสัยทัศน์” ที่ชัดเจนของเรา
คำว่า Media (สื่อ) หมายถึงอะไร แต่ละบุคคลตีความหมายของสื่อไปในรูปแบบต่าง ๆ บางคนใช้สื่อเพื่ออธิบาย หนังสือพิมพ์ วิทยุ และ โทรทัศน์ สื่อในรูปแบบเหล่านี้เรียกรวมๆ ได้ว่า การสื่อสารมวลชน (Mass media) บางคนตีความสื่อในรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลเช่น เทป (tapes) ซีดี (CDs) เป็นต้น แต่ความจริงแล้ว “Media (สื่อ)” เป็นพหูพจน์ของคาว่า “Medium (ตัวกลาง)” ในภาษาละตินหมายถึง ตัวกลางซึ่งหมายถึงตัวเชื่อมต่อระหว่างของสองสิ่ง สาหรับเราสื่อหมายถึงช่องทางการสื่อสารที่ใช้ในการจัดเก็บและส่งต่อข้อมูลระหว่างผู้คน แต่ในอนาคตอีกไม่ช้าเมื่อแมชชีน (machine)มีความฉลาดในการเรียนรู้มากขึ้น สื่อจะกลายเป็นตัวกลางที่ช่วยในการสื่อสารและโต้ตอบกับแมชชีน
คำว่า Lab (ห้องทดลอง) ได้ถูกนามารวมในชื่อเพื่อเน้นย้าถึงแนวทางที่เน้นการวิจัยและพัฒนา เราจะไม่เป็นเพียงบริษัทหนังสือพิมพ์อีกต่อไป แต่เราจะเป็นห้องปฏิบัติการเพื่อทาการวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาของสื่อในยุคปัจจุบันผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัย บริษัทฯ เรามุ่งมั่นเป็นอย่างมากที่จะทาให้วิสัยทัศน์ของการสร้างสื่อยุคอนาคตของเราให้เกิดขึ้นจริงได้ โดยมุ่งเน้นและให้ความสาคัญกับการวิจัยและพัฒนาสื่อที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. Semantic (การมีความหมาย): ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่แล้วคือแมชชีน ดังนั้นสื่อจึงไม่ควรที่จะถูกออกแบบมาเพื่อผู้คนเท่านั้น ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตควรที่จะถูกออกแบบและมีโครงสร้างในลักษณะที่แมชชีนสามารถเรียนรู้ได้เช่นกัน
2. Decentralized (การกระจายอานาจ): การถูกควบคุมของสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ควรที่จะถูกกระจายออก — Power tends to corrupt and absolute power corrupts absolutely.
3. Interactive (การโต้ตอบ): สื่อในยุคอนาคตควรใช้ความสามารถของการสื่อสารแบบสองทาง (two-way communication) ของอินเตอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์การสื่อสารให้ครอบคลุม ในหลากหลายประสาทสัมผัสเพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ในการเสพสื่อรูปแบบใหม่ๆ
4. Collaborative (การทาร่วมกัน): อินเตอร์เน็ตช่วยให้เราสามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกับผู้คนได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันการเป็นผู้สร้างเพียงผู้เดียวอาจไม่เพียงพอในการสร้างสื่อเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด การร่วมกันสร้างสามารถพัฒนาและสร้างสรรค์สื่อได้เร็วและมีคุณภาพมากกว่า
5. Customizable (ปรับแต่งได้): ผู้คนมีความต้องการที่แตกต่างกันอยู่เสมอ สื่อก็ควรที่จะสามารถปรับแต่งตามความต้องการของผู้คนได้เช่นกัน เพื่อตอบสนองความหลากหลายที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
6. Verifiable (ตรวจสอบได้): สื่อควรที่จะตรวจสอบได้เพื่อช่วยลดการเข้าถึงข้อมูลที่อาจผิดพลาดและช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้เสพสื่อรูปแบบต่าง ๆ
ก้าวต่อไปนับจากนี้บริษัท ฯ พร้อมจะลงทุนและสนับสนุน การดาเนินการ การวิจัยและการพัฒนา เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขและสร้างสรรค์อุตสาหกรรมสื่อที่ดีกว่าให้กับผู้บริโภค เพื่อตอบโจทย์ดังต่อไปนี้
- Decentralized Discovery: การสร้างคอนเทนต์และเสพสื่อโดยไม่ต้องพึ่งพาบริการหรือแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ (Centralized services)
- Decentralized Filtering: การออกแบบวิธีการคัดกรองข้อมูลแบบกระจายอานาจเพื่อต่อสู้กับข่าวปลอมและข้อมูลเท็จผ่าน Cryptoeconomics และ Web of Trust เพื่อสร้างสื่อที่น่าไว้วางใจและเชื่อถือได้
- Verifiable Semantic Linked Data: การออกแบบโครงสร้างการเก็บข้อมูลสื่อที่สามารถตรวจสอบได้และอยู่ในรูปแบบภาษาที่แมชชีนสามารถอ่านได้ผ่าน semantic และ cryptographic technology
- Interactive experience: การออกแบบประสบการณ์เชิงโต้ตอบสาหรับผู้ใช้งานและแมชชีน เพื่อสร้างประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และเสพคอนเทนต์
- Innovative monetization models: การสร้างรายได้ในสื่อปัจจุบัน เช่น การแสดงโฆษณาที่สร้างความราคาญ และการนาข้อมูลไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ถือเป็นการล่วงล้าสิทธิส่วนบุคคล ผู้บริโภคสื่อสมควรได้รับสิ่งที่ดีและยุติธรรมมากกว่านี้!
- Confirmation Bias: การลดการเสพสื่อแบบอคติผ่านตัวชี้วัดที่นาเสนอให้ผู้บริโภคมองสิ่งต่าง ๆ ได้รอบด้านมากยิ่งขึ้น
การรีแบรนด์ครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการส่งสัญญาณเล็กๆของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ มาร่วมกันเตรียมตัวให้พร้อมแล้วร่วมตะโกนาว่า 'Eureka' ไปด้วยกัน!