ปัจจุบันผู้หญิงมีแนวโน้มแต่งงานช้ากว่าเดิม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จูงใจให้ผู้หญิงให้ความสนใจในบทบาทใหม่ๆในสังคมมากขึ้น ต้องการที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับสูงๆ รวมถึงต้องการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน จึงทำให้แต่งงานช้า เมื่อถึงเวลาที่พร้อมจะมีลูก อยากท้องแต่กลับไม่ท้องสักที โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะมีบุตรยากสูงขึ้น “ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” ผู้ก่อตั้งเพจ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/ ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก เพจที่ให้ความรู้และการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยากตามหลักวิทยาศาสตร์ เผยว่า ปัจจุบันผู้หญิงมีบุตรยากมีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงวัย 35 ปีขึ้นไปถือเป็นช่วงขาลงของวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งการตั้งครรภ์ได้นั้น นอกจากคุณภาพสเปิร์มของสามีดีแล้ว สำหรับผู้หญิง มีปัจจัยหลักอยู่ 3 ประการ คือ 1.คุณภาพของไข่ โดยไข่ควรมีขนาดโตตามเกณฑ์ 18-20 มิล. ณ วันไข่ตก หรือ วันนัดเก็บไข่สำหรับทำ ICSI ผิวไข่เรียบเนียนเปลือกไข่ไม่หนาเกินไป และมี Polar body ที่เป็นตัวชี้ว่า "ไข่สุก” และไข่ไม่ฝ่อสลายง่าย ก่อนจะเกิดการปฏิสนธิ 2.ผนังมดลูกที่พร้อมตามเกณฑ์ โดยมีผนังมดลูกหนา 8-10 มิล. เรียง 3 ชั้นสวย ผิวเรียบใสเป็นวุ้น ไม่หนาทึบ เห็นเส้นกลางชัดเจน (Triple Lines) มดลูกอุ่น เลือดไหลเวียนดี ไม่มีสารพิษตกค้าง พร้อมสำหรับการฝั่งตัวของตัวอ่อน 3.มีฮอร์โมนที่สมดุล โดยการตรวจฮอร์โมนเป็นสิ่งสำคัญที่แพทย์จะนำผลมาพิจารณาการเลือกวิธีการรักษา การให้ยา หรือประเมินความสำเร็จในการรักษาได้ในเบื้องต้น ซึ่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องได้แก่ • AMH บอกจำนวนฟองไข่ตั้งต้น • E2 หรือ เอสตราไดออล ฮอร์โมนเพศหญิง บอกถึงความเจริญเติบโตของไข่ ไข่สุก • FSH บอกความเสื่อมของรังไข่ ประสิทธิภาพของรังไข่ • LH ฮอร์โมนการตกไข่ • TSH ฮอร์โมนไทรอยด์ หากพบฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติจะส่งผลต่อความสมดุลของการสร้างฮอร์โมนเพศ • PRL ฮอร์โมนน้ำนม หากมีค่าสูงจะกดวงจรการตกไข่ ทำให้ไข่ไม่ตก แต่อย่างไรก็ตามระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงมีความซับซ้อนที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติได้ในหลายประการที่ล้วนส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก เช่น ปัญหาเรื่องรังไข่ ความผิดปกติของรอบเดือน ท่อนำไข่อุดตัน เนื้องอกมดลูก ซีสต์รังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับผู้มีบุตรยากทั้งในและต่างประเทศ “ครูก้อย” ได้รวบรวม หลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ (Fertility Diet) หรือ เรียกว่า "คัมภีร์อาหารเตรียมตั้งครรภ์” ของครูก้อย ที่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่มีปัญหามีบุตรยากในเพจ BabyAndMom.co.th มายาวนาน และประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์สูงขึ้น โดยแบ่งหลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ เป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1.การทานอาหารตามหลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ (Macronutrients) 70% ให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ 2.เสริมด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำหรับเตรียมตั้งครรภ์ (Micronutrients) 30% ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.การทานอาหารตามหลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ (Macronutrients) 70% การทานอาหารที่ครบ 5 หมู่ ได้ "สารอาหาร" ครบถ้วนตามหลักโภชนาการส่งเสริมต่อภาวะเจริญพันธุ์ ช่วยเพิ่มคุณภาพของเซลล์ไข่ สเปิร์ม ปรับสมดุลฮอร์โมนช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงระบบสืบพันธุ์ เมื่อร่างกายสมบูรณ์พร้อม เซลล์ไข่มีคุณภาพ สเปิร์มแข็งแรง ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มากขึ้น จากงานวิจัยที่ศึกษาถึง "ผลจากการทานอาหารต่อภาวะเจริญพันธุ์" ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Public Health, Population, Reproductive and Sexual Health เมื่อปี 2018 ศึกษาพบว่า การรับประทานอาหารส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของทั้งหญิงและชาย โดยการหลีกเลี่ยงการทานไขมันอิ่มตัว (ไขมันทรานส์ ) เน้นทานพวกธัญพืชไม่ขัดสี ผักผลไม้ และ โปรตีนจากปลา ส่งผลต่อดีต่อภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิงและส่งผลให้สเปิร์มมีคุณภาพมากขึ้นในผู้ชาย ในขณะที่แอลกอฮอล์ คาเฟอีน ของหวาน(น้ำตาล) และไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) คือตัวร้ายที่ทำให้มีบุตรยาก (Infertility)เพราะทำให้เซลล์เสื่อมและแก่ โดยครูก้อยสรุปหลักโภชนาการตามงานวิจัยสำหรับคนอยากท้อง เป็นสูตรสำเร็จ 5 Keys to Success มา ดังนี้ 1.1 เน้นโปรตีนจากพืช (Plant-Based Protein) โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ การบำรุงไข่ให้ได้ไข่โตสวยสมบูรณ์ ไข่ตกตามปกติ และผนังมดลูกที่แข็งแรงนั้น ผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์ต้องทานโปรตีนให้เพียงพอต่อวัน คือ 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยแหล่งโปรตีนจากพืช (Plant-Based Protein) ชั้นดีที่ผู้หญิงอยากท้องควรหามารับประทานเพิ่มในมื้ออาหารได้แก่ เช่น ถั่วเหลือง อัลมอนด์ งาดำ ควินัว เมล็ดฟักทอง เป็นต้น 1.2 ลดคาร์บ : ลดคาร์บขัดสี แป้งขาว ข้าวขาว เลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี (Complex Carb) ได้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว ธัญพืชที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธ์ (Fertility) เช่น อัลมอนด์ แฟล็กซีด และลูกเดือยให้คาร์บเชิงซ้อน และยังให้โปรตีนและกรดไขมันดี และงาดำ ซึ่งมี สาร "เซซามิน" สูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ให้สวย และทานเมล็ดฟักทองวันละละ 1 กำมือช่วยเพิ่ม Zinc บำรุงไข่ให้สุกและไข่ตกตามปกติ โปรตีนสูง ไฟเบอร์สูง ให้กรดไขมันดีและช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย 1.3 งดหวานเด็ดขาด การมีระดับกลูโคสในเลือดสูงทำให้การหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขหรือ อะดรีนาลีนลดลง เมื่อร่างกายมีความเครียดจะมีผลให้ให้ฮอร์โมนไม่สมดุล ซึ่งจะส่งผลต่อการที่ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวงจรการมีประจำเดือน เมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติจึงส่งผลต่อการมีบุตรยาก การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุในการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS หากเกิดภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ขึ้นและที่ร้ายไปกว่านั้นมันสามารถทำลายเซลล์ไข่ได้เลย น้ำตาลส่งผลต่อโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความเสื่อมของสเปิร์มและเซลล์ไข่ ก่อนวัยอันควร มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2012 ศึกษาพบว่า การทานอาหารแบบเพิ่มโปรตีนและลดคาร์บลง ส่งผลให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ การทานแบบลดน้ำตาลลงนี้มีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจาก16.6% เป็น 83% เลยทีเดียว 1.4 ทานกรดไขมันดี (High Density Lipoprotein : HDL) จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่า การรับประทานการรับประทานโอเมก้า 3 ช่วยให้ฮอร์โมนสมดุล การตกไข่เป็นปกติ และยังช่วยให้ไข่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวสำคัญในการทำให้มดลูกหนาตัวเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับผู้มีบุตรยากที่เข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ในการทำเด็กหลอดแก้ว การได้รับโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ล่วงหน้าก่อนเข้าสู่กระบวนการส่งผลต่ออัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์อีกด้วย ซึ่งไขมันดีพบใน น้ำมันมะกอก ปลาแซลมอน อโวคาโด งาดำ แฟล็กซีด เมล็ดฟักทอง และ น้ำมันปลา (Fish oil) เป็นต้น 1.5 เน้นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) สารที่ช่วยต่อต้านหรือกำจัดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ในร่างกาย มีงานวิจัยศึกษาถึงประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ พบว่า การทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปขัดขวางการทำลายเซลล์จากอนุมูลอิสระ ยังช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ รวมถึงเซลล์สืบพันธ์และเซลล์ไข่ ฉะนั้นผู้หญิงวัย 35 ปีขึ้นไปจะต้องได้รับสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เพียงพอเพื่อช่วยชะลอความแก่ของเซลล์ ซึ่งอาหารที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม มะนาว มะกรูด ผักผลไม้ เช่น ผักเคล ผักโขม กะหล่ำม่วง มะเขือเทศ บีทรูท แครอท ทับทิม และธัญพืช เช่น ถั่วต่างๆ งาดำ ควินัว แฟล็กซีด มีอีกหนึ่งการศึกษาที่น่าสนใจพบกว่า น้ำมะกรูดคั้นสด อุดมไปด้วย มีวิตามินซีสูง ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) และสารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทีน (Quercetin) สูงที่สุด มีงานวิจัยจาก The University of Texas ศึกษาพบว่าผู้หญิง 53% ที่ทานอาหารวิตามินซี และไบโอฟลาโวนอยด์สูงจะมีช่วงลูเตียลเฟส (Luteal Phase) ยาวขึ้น ลูเตียลเฟส คือระยะหลังการตกไข่ที่ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น ร่างกายจะสร้างมดลูกให้หนาขึ้นพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน หากช่วงระยะเวลานี้สั้นโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนก็ลดลง 2.เสริมด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำหรับเตรียมตั้งครรภ์ (Micronutrients) 30% การรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวอาจทำให้เราได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในแต่ละวัน เพราะสารอาหาร หรือ วิตามินบางชนิด ร่างกายสามารถดูดซึมได้น้อยในรูปแบบของอาหาร และเราไม่สามารถมั่นใจได้ว่าในอาหารแต่ละมื้อเราได้รับวิตามินที่เพียงพอตามปริมาณที่ร่างกายต้องการได้รับหรือไม่ จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Medicine Insight Women’s Health เมื่อปี 2019 ศึกษาพบว่า การทานวิตามินเสริมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสตรีเตรียมตั้งครรภ์ การได้รับวิตามินและแร่ธาตุไม่เพียงพอเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีลูกยาก การทานวิตามินเสริมนั้นต้องทานล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุเพียงพอพร้อมที่สุดเพื่อส่งผลต่อการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ การได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอนอกจากจะส่งผลให้ผู้หญิง "มีลูกง่ายขึ้น" แล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิด ส่งผลต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ (oocyte quality and maturation) เพิ่มอัตราการปฏิสนธิ ( fertilization) เพิ่มอัตราการฝังตัวของตัวอ่อนที่มีประสิทธิภาพ (implantation) เสริมการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่สมบูรณ์ (embryo development) ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของภาวะเจริญพันธุ์ โดยวิตามินเตรียมตั้งครรภ์ที่จำเป็นควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือนได้แก่ 2.1 โฟลิก (Folic) องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ผู้หญิงวางแผนตั้งครรภ์ได้รับกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมต่อวัน ป้องกันทารกพิการแต่กำเนิด ช่วยในการสร้างตัวอ่อนที่สมบูรณ์ ป้องกันและลดความผิดปกติของระบบประสาท ภาวะไม่มีเนื้อสมอง และป้องกันภาวะไขสันหลังไม่ปิด ซ่อมแซมพันธุกรรม และควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ บำรุงเม็ดเลือดให้สมบูรณ์ เพราะโฟลิกช่วยเสริมการสร้างธาตุเหล็ก ป้องกันภาวะโลหิตจางอันเป็นสาเหตุที่ทำให้การตกไข่ผิดปกติ 2.2 วิตามินและแร่ธาตุรวม (Multivitamin & Minerals) ช่วยสร้างความสมบูรณ์ของเซลล์ไข่ บำรุงเลือด ปรับสมดุลฮอร์โมน ช่วยปรับสมดุลให้วงจรการตกไข่ให้เป็นอย่างเป็นธรรมชาติ 2.3 โคเอ็นไซม์ คิว10 (Coenzyme Q10) ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับไมโตคอนเดรียซึ่งทำหน้าที่สร้างพลังงานให้กับเซลล์ไข่ เพื่อความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์ ลดการถูกทำลายของเซลล์จากสารอนุมูลอิสระในระบบสืบพันธุ์ ชะลอการฟื้นฟูความเสื่อถอยของเซลล์ 2.4 น้ำมันปลา (Fish Oil) ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ ส่งผลให้วงจรการตกไข่เป็นปกติ เพิ่มมูกตกไข่ บำรุงเซลล์ไข่ให้มีคุณภาพ สมบูรณ์พร้อมปฏิสนธิลดการอักเสบในร่างกายอันเป็นสาเหตุแห่งความเสื่อมของเซลล์ ให้โอเมก้า3 และ DHA ซึ่งช่วยเสริมสร้างการเจริญโตและพัฒนาสมอง ระบบประสาทและสายตาของทารกในครรภ์ ดังนั้น หากคุณอยากท้องและกำลังเผชิญกับปัญหามีบุตรยาก ควรเลือกทานอาหารตามหลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ เสริมด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำหรับเตรียมตั้งครรภ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน โดยครูก้อยแนะนำหลัก อาหาร 70% วิตามิน 30% ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อเตรียมความพร้อมทางร่างกายให้ได้ไข่ที่มีคุณภาพไข่ เตรียมผนังมดลูก และปรับสมดุลออร์โมนก่อนตั้งครรภ์ เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะมีครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง เหมือนที่ผู้มีบุตรยากหลายๆ คนที่ติดตามครูก้อยผ่านทางเพจ babyandmom.co.th และประสบความสำเร็จตั้งครรภ์จำนวนมาก โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ และด้วยวิตามินเตรียมตั้งครรภ์ได้ที่ https://www.babyandmom.co.th/product/ovaall/ หรือปรึกษาเรื่องการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการทางแพทย์ได้ที่ไลน์แอด @babyandmom.co.th "ครูก้อย" นัชชา ลอยชูศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย