วันที่ 23 มิ.ย.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายรุ่งเพชร ศรีสุวรรณ เจ้าหน้าที่แผนกอาสามัคร มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง รับแจ้งจากพลเมือดีว่ามีสุนักขเพศเมียถูกเชือกรัดที่บริเวณท้อง มีอาการเน่าเปื่อยส่งกลิ่นเหม็น อยู่ที่บริ้วณรั๊ว ม.จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
จึงเข้าทำการช่วยเหลือแต่สุนักข์ที่ได้รับบาดเจ็บและอยู่ในอาการทีดุ ทำให้ไม่สามารถเข้าจับตัวเพื่อทำการช่วยเหลือได้ จึงประสานหน่วยงานสมาคมพิทักษ์สัตว์ คลีนิค มายิงยาสลบ เพื่อทำการช่วยเหลือสุนัข ออกมาเป็นที่เรียบร้อยพร้อมแกะเชือกออก ก่อนนำส่งรักษาที่สมาคมศูนย์พิทักษ์ศักดิ์คลินิกรามคำแหง มีนบุรี
จากนั้น นางศิริกุลโอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิปอเต็กตึ้ง มอบให้เจ้าหน้าที่แผนกอาสามัคร มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำอาหารถุงมามอบให้ ม.จุฬาวังน้อย อ.วังน้อย จ.พระนครศรียุธยา เพื่อใช้ในการช่วยเหลือสนับสนุนสุนัขดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงายงานว่า สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระดับต่ำกว่า และมนุษย์มีสิทธิจะกระทำการใดใดก็ได้ตามอำเภอใจต่อสัตว์ จากการวิวัฒนาการทางแนวคิดที่ได้แบ่งแยกสังคมมนุษย์และธรรมชาติออกจากกัน แต่เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเปลี่ยน
แต่ยังมีพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 โดยกำหนดไว้ชัดเจนว่า “มาตรา 20 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร” และ “มาตรา 22 เจ้าของสัตว์ต้องดําเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ของตนให้เหมาะสม…” โดยมีการนิยามการกระทำต่างๆ ที่เข้าข่ายทารุณกรรม รวมถึงวิธีการและหลักเกณฑ์ในการจัดสวัสดิภาพของสัตว์ในมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง อยู่ใต้นิยามที่ครอบคลุมสัตว์ ที่คาบเกี่ยวสัมพันธ์กับมนุษย์โดยตรง เช่น สัตว์เลี้ยง รวมถึงข้อกำหนดก็ยังเป็นแนวคิดที่มุ่งไปที่การกำหนดกระทำโดยตรงของมนุษย์ที่ละเมิดสิทธิของสัตว์ เช่น ห้ามมิให้ปล่อยปละละเลยสัตว์เลี้ยง หรือห้ามมีให้มีการฆ่าสัตว์โดยทารุณ นอกเหนือไปจากเหตุที่ได้ยกเว้นไว้ในกฎหมาย