การบำรุงเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะผู้มีบุตรยาก ไม่ว่าจะเตรียมตัวทำ IUI, IVF, ICSI หรือวางแผนท้องธรรมชาติ หัวใจหลักคือต้องเตรียมตัว "บำรุงก่อนตั้งครรภ์" ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน" ก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์
“ครูก้อย” นัชชา ลอยชูศักดิ์ ที่ปรึกษาผู้มีบุตรยากและผู้ก่อตั้งเพจ Babyandmom.co.th
ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก เพจที่ให้ความรู้และการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยากตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่ได้ศึกษาและรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับหลักโภชนาการในการรับประทานอาหารที่จะช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ช่วยบำรุงไข่ บำรุงมดลูก และปรับสมดุลฮอร์โมนเพื่อเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ จนได้รับความไว้วางใจจากผู้มีบุตรยากมายาวนาน
“ครูก้อย” ได้รวบรวม หลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ (Fertility Diet) หรือ เรียกว่า "คัมภีร์อาหารของครูก้อย" นั้น คือ การทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ ประกอบไปด้วยอาหารหมู่หลัก (Macronutrients) 70% และเสริมวิตามินและแร่ธาตุ (Micronutrients) 30% โดยสรุปออกมาเป็น 6 วิธีบำรุงเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก ดังนี้
1.เพิ่มโปรตีน
โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ การบำรุงไข่ให้ได้ไข่โตสวยสมบูรณ์ ไข่ตกตามปกติ และผนังมดลูกที่แข็งแรงนั้น ผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์ต้องทานโปรตีนให้เพียงพอต่อวัน คือ 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยควรเลือกทานโปรตีนจากแหล่งที่ให้โปรตีนชั้นดี ให้โปรตีนสูง และปลอดภัย โปรตีนจากสัตว์ เช่น ไข่ เนื้อปลา นมแพะ อกไก่ โปรตีนจากพืช (Plant-Based Protein) เช่น ถั่วเหลือง อัลมอนด์ งาดำ ควินัว เมล็ดฟักทอง เป็นต้น
มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of obstetrics and gynecology เมื่อปี 2008 ศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่เปลี่ยนการรับประทานโปรตีนจากสัตว์มาเป็นโปรตีนจากพืชอาจช่วยลดความเสี่ยงจากการมีบุตรยากเนื่องปัญหาเรื่องไข่ไม่ตกได้ถึง 50% ซึ่งส่งผลต่ออัตราความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว และ อัตราการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติด้วย
2.ลดคาร์บ หรือ คาร์โบไฮเดรต คนไทยนั้นทานข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ถ้าเน้นข้าวขาวเยอะไป เมื่อทานเข้าไปร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล เมื่อร่างกายเผาผลาญไม่หมด จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งการทำงานของร่างกายนั้นจะเปลี่ยนกลูโคสที่มีมากเกินไปให้กลายเป็นไขมัน มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน ซึ่ง โรคเหล่านี้ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ยากทั้งสิ้น
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อปี 2017 ศึกษาพบว่าการทานอาหารแบบลดคาร์บประเภท Refined Carb ลง (Low Carbohydrate Diets) ช่วยลดระดับอินซูลิน ส่งผลต่อ ฮอร์โมนที่สมดุล วงจรการตกไข่เป็นปกติขึ้นทำให้มีอัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่รับประทานอาหารตามปกติ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นจากงานวิจัยศึกษาพบว่าการลดคาร์บลงในการรับประทานอาหารต่อวันและเสริมโปรตีนเพิ่มขึ้นยังช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จจากการทำเด็กหลอดแก้วได้สูงถึง 83%
ดังนั้น “ครูก้อย ” จึงแนะนำผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ควรเลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี (Complex Carb) ได้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว ธัญพืชที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธ์ (Fertility) เช่น อัลมอนด์ แฟล็กซีด และลูกเดือยให้คาร์บเชิงซ้อน และยังให้โปรตีนและกรดไขมันดี และงาดำ ซึ่งมี สาร "เซซามิน" สูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ให้สวย และทานเมล็ดฟักทองวันละละ 1 กำมือช่วยเพิ่ม Zinc บำรุงไข่ให้สุกและไข่ตกตามปกติ โปรตีนสูง ไฟเบอร์สูง ให้กรดไขมันดีและช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย
3. งดหวาน
น้ำตาล คือตัวร้ายทำลายเซลล์ รวมไปถึงเซลล์ไข่ของผู้หญิง มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2012 ศึกษาพบว่า การทานอาหารแบบเพิ่มโปรตีนและลดคาร์บลง (เนื่องจากร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล)ส่งผลให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ การทานแบบลดน้ำตาลลงนี้มีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจาก16.6% เป็น 83% เลยทีเดียว
โดย “ครูก้อย” แนะนำคนวางแผนท้องที่อยู่ในช่วงบำรุงไข่ต้องงดหวานโดยเด็ดขาด โดยหากต้องการความหวานควรเลือกทาน "น้ำผึ้งชันโรง" และ "น้ำอินทผลัม” เพราะเป็นความหวานที่มีประโยชน์ ปลอดภัย ไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
น้ำผึ้งชันโรง เป็นน้ำหวานจากตัวชันโรง เป็นแมลงตัวเล็กๆที่ไม่มีเหล็กใน ( Stingless bee) ซึ่งตัวชันโรงจะกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้เท่านั้น ไม่เหมือนผึ้งเลี้ยงที่กินน้ำตาล จึงทำให้น้ำผึ้งที่ได้มีวิตามินและสารอาหารที่หลากหลาย และให้สารต้านอนุมูลอิสระ "ฟีนอลิก" (Phenolic) สูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป 5-10 เท่า ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์ ลักษณะสีของน้ำผึ้งชันโรงและรสชาติเปรี้ยวอมหวานเกิดจากการหมักบ่มตามธรรมชาติ และยังมี "โพรไบโอติกส์" (Probiotics) และ "พรีไบโอติกส์" (Prebiotics)จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้และมดลูกอีกด้วย
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Brazilian Journal of Phamacognosy เมื่อปี 2016 ศึกษาถึงสรรพคุณของน้ำผึ้งชันโรงต่อ fertility พบว่า น้ำผึ้งชันโรงช่วยลดความเครียดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการท้องยากเพราะเมื่อเราเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียดที่ชื่อว่าคอร์ติซอลออกมาและจะขัดขวางสมดุลของฮอร์โมนเพศ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มโปรเจสเตอร์โรนหรือฮอร์โมนเพศหญิงและเพิ่มอัตราสำเร็จของการตั้งครรภ์อีกด้วย
น้ำอินทผลัม มีธาตุเหล็กและไฟเบอร์สูง ผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ควรดื่มเพื่อเพิ่มธาตุเหล็ก ป้องกันภาวะโลหิตจาง และยังเหมาะสำหรับผู้หญิงที่ใส่ตัวอ่อนเพราะช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน และช่วยลดอาการท้องผูก นอกจากนี้ยังมีฟีลกูลีนช่วยบำรุงสเปิร์ม สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ควรดื่มก่อนคลอด น้ำอินทผลัมช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง คลอดง่าย และยังช่วยกระตุ้นน้ำนม เป็นการเตรียมน้ำนมให้พร้อมสำหรับลูกน้อย
4. ทานกรดไขมันดี
ไขมันดี (HDL) หรือ ไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) หรือ โอเมก้า 3 มีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โดยร่างกายต้องใช้ไขมันดีในการผลิตฮอร์โมนเพศ หากร่างกายไม่ได้รับไขมันดีอย่างเพียงพอร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศได้น้อยลง ส่งผลให้ฮอร์โมนไม่สมดุล ซึ่งมีในปลาทะเล Fish Oil อะโวคาโด ธัญพืชจำพวก งาดำ แฟล็กซีด และอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เป็นต้น
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่า การรับประทานการรับประทานโอเมก้า 3 ช่วยให้ฮอร์โมนสมดุล การตกไข่เป็นปกติ และยังช่วยให้ไข่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวสำคัญในการทำให้มดลูกหนาตัวเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับผู้หญิงที่ต้องใช้กระบวนการทางการแพทย์ในการทำเด็กหลอดแก้ว การได้รับโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ล่วงหน้าก่อนเข้าสู่กระบวนการส่งผลต่ออัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์อีกด้วย
5. เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์
สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) หมายถึงสารที่ช่วยต่อต้านหรือกำจัดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ในร่างกาย มีงานวิจัยศึกษาถึงประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ พบว่า การทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปขัดขวางการทำลายเซลล์จากอนุมูลอิสระ ยังช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ จึงช่วยลดความเสื่อมสภาพของร่างกาย ช่วยคงความอ่อนเยาว์ และมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น โดยอาหารที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม มะนาว มะกรูด ผักผลไม้ เช่น ผักเคล ผักโขม กะหล่ำม่วง มะเขือเทศ บีทรูท แครอท ทับทิม ธัญพืช เช่น ถั่วต่างๆ งาดำ ควินัว แฟล็กซีด
จากการศึกษาพบกว่า น้ำมะกรูดคั้นสด อุดมไปด้วย มีวิตามินซีสูง ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) และสารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทีน (Quercetin) สูงที่สุด
“ไบโอฟลาโวนอยด์” หรือ “วิตามินพี” เป็นวิตามินที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมวิตามินซี และยังช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และเส้นเลือดฝอย โดยเฉพาะบริเวณมดลูกที่มีเส้นเลือดหล่อเลี้ยงจำนวนมาก ทำให้มดลูกแข็งแรง เพราะมีเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวง่ายขึ้น และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะที่มดลูก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการแท้งในระยะเริ่มต้น และ “ไบโอฟลาโวนอยด์” ยังไปเสริมการทำงานของวิตามินซีที่ช่วยเรื่องการเพิ่มระดับฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในการตั้งครรภ์
สอดคล้องกับงานวิจัยจาก The University of Texas ที่ศึกษาพบว่าผู้หญิง 53% ที่ทานอาหารวิตามินซี และไบโอฟลาโวนอยด์สูงจะมีช่วงลูเตียลเฟส (Luteal Phase) ยาวขึ้น ลูเตียลเฟส คือระยะหลังการตกไข่ที่ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น ร่างกายจะสร้างมดลูกให้หนาขึ้นพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน หากช่วงระยะเวลานี้สั้นโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนก็ลดลง
อีกทั้งในน้ำมะกรูดคั้นสดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ "เควอซิทีน" สูงที่สุด โดยการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณ “สารเควอซิทิน”ในผักผลไม้รสเปรี้ยวชนิดต่างๆ พบว่าในมะกรูดมีสารเควอซิทินสูงที่สุดถึง 43±9 มิลลิกรัม ต่อมะกรูด 100 กรัม ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเควอซิทีนมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงเซลล์ไข่ ป้องกันเซลล์ไข่จากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ทำให้ไข่สวยสมบูรณ์ เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์
ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Oncotarget เมื่อปี 2017 ศึกษาพบว่า สารเควอซิทินช่วยลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ไข่ โดยปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระ “Quercetin” ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของเซลล์ไข่ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะการเลี้ยงไข่ที่ 24 ชั่วโมง จะเห็นว่าหากไม่มี “สารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทิน” ไข่จะฝ่อเสียเกือบ 80% แต่ในกรณีที่มีเควอซิทินเพียง 10 ไมโครโมลาร์ จะช่วยลดความเสียหายได้เกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในความสำเร็จจนถึงระดับบลาสโตซีสต์ได้อีกเท่าตัว
นอกจากนี้อนุมูลอิสระจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์ไข่ได้มากยิ่งขึ้นในกระบวนการ “ทำเด็กหลอดแก้ว” เนื่องจากเซลล์ไข่ที่เก็บออกมา จะไม่มีของเหลวที่เรียกว่า “follicular fluid” ป้องกันอยู่เหมือนในร่างกายมนุษย์ ทำให้เซลล์ไข่ถูกทำลายและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดังนั้น ผู้หญิงที่มีบุตรยากนอกจากจะบำรุงเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์ที่สุดเพื่อจะได้มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพแล้ว ต้องป้องกันเซลล์ไข่ให้ถูกทำลายน้อยที่สุดก่อนเข้ากระบวนการทางการแพทย์ด้วยการทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
6. เสริมวิตามินบำรุง
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Medicine Insight Women's Health เมื่อปี 2019 ได้รวบรวมผลการศึกษาถึงความสำคัญของ Micronutrients ซึ่งได้แก่ "วิตามินและแร่ธาตุ" ที่จำเป็นที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์ งานวิจัยศึกษาพบว่า สาเหตุของภาวะมีบุตรยากนอกจากการทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการแล้ว การขาดวิตามินและแร่ธาตุก็เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่ง เพราะวิตามินและแร่ธาตุมีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมให้ระบบต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติและสมบูรณ์ รวมถึงระบบสืบพันธุ์ การได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอนอกจากจะส่งผลให้ผู้หญิงมีลูกง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิดอีกด้วย ซึ่งผู้หญิงวางแผนท้องควรทานวิตามินบำรุงต่อเนื่องล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ โดย ครูก้อย ขอแนะนำ โอวาออลล์ (OVA ALL) สำหรับสตรีวางแผนตั้งครรภ์ที่มีวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วนในซองเดียว ประกอบด้วย 4 เม็ด ได้แก่
•FOLIC ACID (400 mg.) ช่วยในการสร้างตัวอ่อนที่สมบูรณ์ ป้องกันและลดความผิดปกติของระบบประสาท ภาวะไม่มีเนื้อสมอง และป้องกันภาวะไขสันหลังไม่ปิด ซ่อมแซมพันธุกรรม และควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ บำรุงเม็ดเลือดให้สมบูรณ์ เพราะโฟลิกช่วยเสริมการสร้างธาตุเหล็ก ป้องกันภาวะโลหิตจางอันเป็นสาเหตุที่ทำให้การตกไข่ผิดปกติ
•Multivitamin & Minerals กว่า 20 ชนิด ช่วยปรับสมดุลให้วงจรการตกไข่ให้เป็นอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยบำรุงเซลล์ไข่ให้เจริญเติบโตสมบูรณ์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันส่งเสริมการทำงานระบบต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ ส่งเสริมการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์
•CO-Q10 เพิ่มพลังงานให้กับไมโตคอนเดรียซึ่งทำหน้าที่สร้างพลังงานให้กับเซลล์ไข่ เพื่อความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์ ลดการถูกทำลายของเซลล์จากสารอนุมูลอิสระในระบบสืบพันธุ์ ชะลอการฟื้นฟูความเสื่อถอยของเซลล์
•Fish Oil ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ ส่งผลให้วงจรการตกไข่เป็นปกติ เพิ่มมูกตกไข่ บำรุงเซลล์ไข่ให้มีคุณภาพ สมบูรณ์พร้อมปฏิสนธิลดการอักเสบในร่างกายอันเป็นสาเหตุแห่งความเสื่อมของเซลล์ ให้โอเมก้า 3 และ DHA ซึ่งช่วยเสริมสร้างการเจริญโตและพัฒนาสมอง ระบบประสาทและสายตาของทารกในครรภ์
ดังนั้นการได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอ "ก่อนการตั้งครรภ์" จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ และยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่สมบูรณ์ และนี่คือ 6 วิธีบำรุงเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก ที่ครูก้อยได้ศึกษาและรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับหลักโภชนาการ โดยเน้นอาหาร 70% วิตามิน 30% “อาหารก็ต้องกิน วิตามินก็ห้ามขาด" บำรุงก่อนเตรียมตั้งครรภ์ล่วงหน้า 3 เดือน ยิ่งบำรุงอย่างถูกต้อง ถูกวิธี และต่อเนื่อง โอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์และเป็นครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะมีมากขึ้น “ครูก้อย” นัชชา ลอยชูศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย