เมื่อเอ่ยถึงเมืองสุพรรณบุรี ที่ขึ้นชื่อลืมนามเมืองขุนช้าง-ขุนแผน และนางวันทอง ปัจจุบันรูปปัน"ขุนช้าง"ถูกอัญเชิญมาอยู่ที่ศาลากลาง ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์พันธุ์กล้วย สุพรรณบุรี ท่ามกลางอ้อมล้อมด้วยต้นกล้วยหลากหลายนา ๆ ชนิดดึงดูดใจนักท่องเที่ยวที่ใฝ่หาความรู้และศึกษาด้านวรรณคดี ประวัติศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี เป็นวิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียง อนุรักษ์พันธุ์กล้วยที่หายากในประเทศไทย ได้รวมสายพันธุ์กล้วยมากมายถึง 108 ชนิด โดยเฉพาะของสุพรรณบุรี คือ กล้วยน้ำว้ากาบขาว พันธุ์เตี้ยโคนต้นอวบลูกดก มีการแปรรูปต่างๆ ในศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี บนเนื้อที่ 18 ไร่ ยังประกอบไปด้วย วิสาหกิจชุมชน "ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วย" ได้แปรรูปกล้วย ออกจำหน่ายเป็นสินค้า Otop เช่น ผลิตจาน ชาม จากกาบหมาก และใบกล้วย เป็นต้น ด้านหน้าทางเข้า มีร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยว เปิด 08.00-19.00 น. พระธรรมพุทธมงคล (หลวงพ่อสอิ้ง) วัดป่าเลไลยก์ เอื้อเฟื้อสถานที่ และสนับสนุนให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนวัดป่าเลไลยก์ภายในสวนมีมาสคอตน่ารักๆ ให้นักท่องเที่ยวได้สนุกสนานกับการถ่ายภาพมีร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยว เปิด 08.00-19.00 น. กล้วย เป็นไม้ล้มลุก มีอายุยาวนานหลายปี สามารถขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ หรือการใช้เมล็ด ประโยชน์ของกล้วยแต่ละชนิด กล้วยน้ำว้ากล้วยน้ำว้ามีธาตุเหล็กสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง ทั้งยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี แคโรทีน ไนอาซีน และใยอาหารที่ช่วยในเรื่องการขับถ่าย กล้วยหอม มีวิตามินบี 6 บี 12 โพแทสเซียม และแมกนีเซียม มีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากการขาดสารนิโคตินได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดอาการเหวี่ยง อารมณ์หงุดหงิด และฉุนเฉียว จากการขาดบุหรี่ได้ดี กล้วยไข่ มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเบต้าแคโรทีน ช่วยลดริ้วรอย ชะลอความเสื่อมสภาพของผิว ความเสื่อมของเซลล์ มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อร้ายได้ ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของต้นกล้วย ประโยชน์ของรากและลำต้น สามารถนำลำต้นนำมาทำเป็นสมุนไพรแผนโบราณ ช่วยรักษาปัญหาผิวหนัง ผื่นแดง แผลไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก รากและลำต้นนำมาต้มแก้กระหายน้ำได้ ลำต้นสามารถนำมาทำเป็นเชือก หรือทำเส้นใยทอผ้าลำต้นอ่อน (หยวกกล้วย) สามารถนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ ประโยชน์ของใบกล้วย (ใบตอง) ใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ เช่น กระทง หรือบายศรี เป็นวัสดุธรรมชาติสำหรับรองอาหารร้อนๆ ใช้ห่ออาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ขนม ผักสด ห่อหมก และดอกไม้ เพราะใบตองสามารถทนความร้อนได้ดี จึงนิยมนำมาใช้กับอาหารประเภทต้มและนึ่งทั้งหลาย แถมยังมีกลิ่นหอมด้วย ประโยชน์ของหัวปลี ใช้เป็นเครื่องเคียงประกอบอาหารบางชนิด เช่น ผัดไทย น้ำพริกกะปิ ที่มาข้อมูล: www.honestdocs.co สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 065 619 4622 คุณอานนท์ รักผล ประธานศูนย์ฯ โทร. 081 019 4293,คุณธนัชพร (ฟ้า) เกตุคง ประธานศูนย์วิสาหกิจชุมชน โทร. 087 844 7722 เวลาทำการ: 09:00 - 19:30 "ถ้าเลือกได้ คงไม่เกิด ขุนช้าง ชายอัปลักษณ์ผู้น่ารัก ขุนแผน เก่ง หล่อ ที่สุดในสุพรรณ ขุนช้าง ขี้เหร่ รวยที่สุดในสุพรรณ ส่วนนางวันทอง สวย ที่สุดในสุพรรณ คนเรานั้นไม่มีใครสมบูรณ์แบบในตัวเองทุกอย่าง ทุกคนต้องมีปัญหาแต่ถ้าคนที่เกิดมาแล้วสมบูรณ์แบบ จะพบกับปัญหาที่แท้จริงว่า เกิดมาทำไม?"คนที่มีบุญมากสร้างกรรมดีไว้เยอะเกิดมาติดท้องแม่ 7 วันแล้วตายใช้กรรมกันไป" ด้วยเหตุนี้วรรณคดีขุนช้าง ขุนแผน ตัวเอกสามตัว เป็นที่สุดของชีวิตมนุษย์ จึงเป็นบทเรียนสอนใจว่า ไม่มีอะไรแน่นอนและสมบูรณ์แบบในตัวมันเอง "จิตมนุษย์ยากแท้ หยั่งถีง" ชีวิตคนก็เฉกเช่นกัน ชีวิตกับปัญหามาคู่กัน ขุนช้าง ร่ำรวยเงินทองที่สุด จะเลือกผู้หญิงคนไหนมาครอบครองก็ได้ไม่ยาก แต่ความรักแรกฝังใจในนางพิมพิลาไลย ไม่อาจลืม แม้จะได้นางแก่นแก้วเป็นเมียแต่ด้วยนางพิมนั้น รักชอบพอใจกับพลายแก้วไม่ได้สนใจความร่ำรวยของขุนช้าง ขุนช้าง ในบทเสภาขุนช้าง ขุนแผน จึงมีบทบาทสูงมาก ทำให้เรื่องสนุกสนาน มีทั้งบทเศร้าโศก บทตลกบทอำมหิต บทน่าสงสารสมเพชถือเป็นสีสรรของเรื่อง ขุนช้าง ผู้นี้เคยใช้ไม้ตีพลายงามลูกขุนแผนนางพิมเพื่อให้คอหักฆ่าให้ตายเพื่อนางพิมพิลาไลย จะได้หมดห่วงเป็นของตัวคนเดียวและใช้เงินทองมากมายในทางผิด เพราะเขามีปมด้อย คือหน้าตา อัปลักษณ์ น่าเกลียด แม้แต่แม่ตนก็ชัง เขาเองก็ชิงชังในรูปร่างตนเอง จึงจัดว่าเป็นผู้ชายที่น่าสงสารยิ่งนัก ผม"ม้าสีหมอก ของ ขุนแผน" มาร่วมบวงสรวงนำหุ่นขุนช้าง มาไว้ที่สวนกล้วย ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยเป็นการถาวร วันที่ 6 เมษายน 2564 ผมเข้าใจในความรักรุนแรง ของพ่อขุนช้าง อันเนื่องมาจากปมด้อยในจิตใจ ขุนช้าง ตำแหน่งนายกองช้าง สังกัดกรมอาสาหกเหล่า ช้างชอบกินกล้วย ขุนช้างท่านคงชอบที่นี่ เมื่อนางวันทองถูกประหาร ขุนช้างโกนหัวบวชหน้าศพ อุทิศให้อดีตเมียรักท่านมาอยู่ตรงนี้ที่ท่านชอบ คิดถึงนางวันทอง ผู้หญิงที่ท่านรักที่สุดตลอดไป หมายเหตุ ...ขุนช้าง ในสวนกล้วย ความพยายามเพื่อปลุกกระแสการท่องเที่ยวให้กระเตื้องมาไหว้ขอพรขุนช้างสร้างความมั่นใจในตัวเองด้วย"สีแดง"และตุ๊กตาหญิงงาม (วันทอง)