วันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันช้างไทย” ที่ริเริ่มขึ้นมาเพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองไทยตั้งแต่อดีต เพราะเป็นขุนพลที่ร่วมรบอยู่ในสมรภูมิจนมีชัยชนะ และออกศึกเคียงคู่พระมหากษัตริย์ นำเอกราชรวมชาติไทยเป็นปึกแผ่น จนมีการใช้ภาพช้างเผือกบนธงชาติไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ อีกทั้งช้างมีความเฉลียวฉลาด และมีพละกำลังมหาศาล จึงได้รับการใช้เป็นพาหนะในการคมนาคม ขนส่งของ และอุตสาหกรรมป่าไม้ ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ประชาชนชาวไทยรัก หวงแหน ให้ความช่วยเหลือ ดูแลช้างมาอย่างต่อเนื่อง ตราบถึงยุคดิจิทัล ที่เทคโนโลยีได้ก้าวมามีบทบาทสำคัญ กลุ่มทรู ในฐานะภาคเอกชนไทยที่ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างคุณค่าแก่สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จึงได้นำศักยภาพนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมสานต่อการอนุรักษ์ช้างไทย ใน 3 รูปแบบดังนี้ 1. อัจฉริยภาพทรู 5G กับการช่วยเหลือช้างเจ็บป่วย : นำเทคโนโลยีอัจฉริยะทรู 5G พัฒนาต้นแบบรถพยาบาลช้างอัจฉริยะ ที่จะส่งสัญญาณภาพความละเอียดสูงผ่านกล้องมอนิเตอร์ที่ติดในรถพยาบาลช้าง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อช่วยติดตามอาการของช้าง และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามคำแนะนำแบบเรียลไทม์ของสัตวแพทย์ระหว่างการเดินทางไปโรงพยาบาล ช่วยให้การรักษาช้างทันท่วงทีมากขึ้น รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์ Tracking เพื่อตรวจสอบเส้นทางรถพยาบาลซึ่งจะแสดงผลผ่านสมาร์ทโฟน 5G และคอมพิวเตอร์ 2. ระบบคลาวด์ IoT และแอปพลิเคชัน ที่ช่วยแก้ปัญหาระหว่างคนกับช้างป่า “โครงการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า” (Elephant Smart Early Warning System) ที่ ทรู ร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย (WWF) เปิดศูนย์เฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า โดยเพิ่มความสามารถของ camera trap ด้วยการนำซิมการ์ดทรูมูฟ เอช ติดตั้งในกล้อง เพื่อบันทึกภาพช้างป่า รวมถึงความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ขณะเดินผ่านกล้อง และส่งภาพต่อไปยังระบบประมวลผลกลาง (Dashboard) ผ่านสัญญาณเครือข่ายทรูมูฟ เอช หรือหากมีผู้พบเห็นช้างป่ากำลังบุกรุกก็สามารถแจ้งผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อส่งข้อมูลไปที่ห้องควบคุม ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและ ส่งข้อมูลแจ้งให้เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเข้าผลักดันช้างกลับเข้าป่าได้ทันเวลา ก่อนที่จะออกไปบุกรุกสร้างความเสียหายกับพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชน ซึ่งข้อมูลต่างๆจะถูกจัดเก็บในระบบคลาวด์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้นำร่อง ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในปี 2562 โดยทรู ได้สนับสนุนทั้งระบบคลาวด์, แอปพลิเคชัน Smart Adventure, กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติพร้อมซิมจากทรูมูฟ เอช 25 ชุด, เสาสัญญาณ 2 จุด, สมาร์ทโฟน True Smart Adventure 16 เครื่อง พร้อมแอร์ไทม์, อาคารศูนย์ปฏิบัติการและระบบคอมพิวเตอร์ และกรมธรรม์คุ้มครองอุบัติเหตุให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการผลักดันช้างป่ากว่า 70 คน ซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้าร่วมสนับสนุนโครงการนี้ ช่วยผลักดันช้างให้กลับเข้าป่าได้เกือบ 100% พร้อมนำไปขยายผลในอีกหลายพื้นที่ของประเทศ อาทิ โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในภาคตะวันออก เป็นต้น ซึ่งจะจุดประกายให้เกิดการอนุรักษ์ป่า เพื่อให้ช้างอยู่ร่วมกับคนอย่างสมดุลและสันติต่อไป 3. แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อเปิดรับบริจาคระดมเงินทุนสนับสนุนช่วยเหลือช้าง ผ่านระบบทรูมูฟ เอช หรือ ทรูมันนี่ วอลเล็ท และร่วมประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆในเครือ และล่าสุด จัดแคมเปญ “มีนา มีช้าง” ร่วมบริจาคช่วยช้าง เนื่องในวันช้างไทยปี 2564 กับ 2 โครงการดังนี้ - Eco for Elephant ร่วมกับมูลนิธิดับเบิ้ลยูดับเบิ้ลยูเอฟ สร้างแหล่งอาหารให้ช้างป่าที่กุยบุรี ผ่านระบบทรูมูฟ เอช โดยกด *948*8888*10#โทรออก เพื่อบริจาค 10 บาท หรือกด *948*8888*100#โทรออก เพื่อบริจาค 100 บาท หรือบริจาคผ่านทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้ทุกเครือข่าย - Save Elephant Foundation สนับสนุนอาหารช้างที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กว่า 1,000 เชือก ผ่านระบบทรูมูฟ เอช โดยกด *948*7171*10#โทรออก เพื่อบริจาค 10 บาท หรือกด *948*7171*100#โทรออก เพื่อบริจาค 100 บาท หรือบริจาคผ่านทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้ทุกเครือข่าย