21 ตุลาคม 2562 นครซิดนีย์ – ดร. แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการองค์กรและความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการยกย่องสำหรับความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับแรงงานทาสยุคใหม่ ในงาน Anti-Slavery Australia Freedom Awards ดร. แดเรี่ยน ได้รับรางวัล Freedom Award ประจำปี 2562 ในงานประกาศรางวัลที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ “สำหรับความพยายามอย่างมุ่งมั่นในเรื่องการจัดหาแรงงานอย่างมีจริยธรรมและสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมอาหารทะเล” ดร.แดเรี่ยนกล่าวว่า “ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลนี้ เพราะเป็นประเด็นนี้ที่ดิฉันให้ความสำคัญ ทุ่มเทและสนใจอย่างมาก แรงงานทาสยุคใหม่ต้องหมดไปจากทุกอุตสาหกรรม ทั้งนี้ดิฉันมีความภูมิใจและขอบคุณสำหรับกับความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของไทยยูเนี่ยนที่จะจัดการกับประเด็นนี้ในทุกส่วนของการทำธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั้งหมด” ดร. แดเรี่ยนยังเรียกร้องให้ยกย่องบริษัทต่างๆ ที่แสดงถึงความโปร่งใสในการดำเนินงานทุกส่วนในห่วงโซ่อุปทานของพวกเขา “ถ้าปัญหาแรงงานทาสยุคใหม่ในห่วงโซ่อุปทานยังไม่มีความโปร่งใส ประเด็นนี้ก็ยังคงมีอยู่ต่อไป” McBain was among several recipients of the 2019 Freedom Award, which also included Outland Denim founder James Bartle, former federal MP Chris Crewther and Mans Carlsson-Sweeny, Head of Environmental, Social and Governance Research at Ausbil. Joanne Pugsley from Anti-Slavery Australia, received the Anti-Slavery Australia Award. ดร. แดเรี่ยนและผู้ที่ได้รับรางวัล Freedom Award ประจำปี 2562 ได้แก่ มร.เจมส์ บาร์เทิล ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Outland Denim มร.คริส ครูเทอร์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ มร.แมนส์ คาร์ลสัน-สวีนีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อม สังคม และ การวิจัยในหลักธรรมาภิบาล ของบริษัทจัดการกองทุน Ausbil รวมถึงโจแอน พักส์ลีย์ จากกลุ่มต่อต้านการค้าแรงงานทาส ออสเตรเลีย ซึ่งได้รับรางวัล Anti-Slavery Australia Award ภายหลังไม่นานหลังจากเข้ามาทำงานที่ไทยยูเนี่ยนในปี 2558 ดร. แดเรี่ยนก็ได้เผชิญหน้ากับภารกิจท้าทายเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย ซึ่งวิกฤตเหล่านี้คือ ตัวเร่งสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม หลังจากนั้น ดร. แดเรี่ยน ได้มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของไทยยูเนี่ยน และได้มีการออกกลยุทธ์ความยั่งยืน ที่เรียกว่า SeaChange® ซึ่งเป็นพันธกิจและแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการดำเนินงานที่ยั่งยืนและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมอาหารทะเลให้ดีขึ้น ตั้งแต่การทำกลยุทธ์ SeaChange® และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมา ได้มีผลกระทบอย่างมากต่อการจัดการปัญหาแรงงานทาสยุคใหม่ในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล ดร. แดเรี่ยน และ ทีมงานไทยยูเนี่ยน ได้ดำเนินงานในทุกส่วนของอุตสาหกรรมอาหารทะเล โดยเริ่มตั้งแต่เรือประมงและโรงงานผลิต ไปจนถึงผู้นำเข้าและผู้ค้าปลีก รวมถึงนำความมุ่งมั่นและพันธสัญญาต่างๆ ไปสู่เวทีโลก เช่น ยูเอ็น และการประชุมผู้นำเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) รางวัล Anti-Slavery Australia Freedom จัดขึ้นทุกสองปี โดยเริ่มขึ้นเมื่อปี 2554 และถูกใช้เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแรงงานทาสและการค้ามนุษย์ ขณะเดียวกันก็เฉลิมฉลองให้กับบุคคลที่มีความสามารถเชิงบวก และองค์กรที่ดำเนินการในการจัดการกับประเด็นเหล่านั้น