ศ.นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กระบุว่า....
กลอุบาย ของบริษัทสารพิษที่จะเอาตัวรอดจากการถูกตราหน้าว่าทำให้คนตาย จากการได้สารพิษ คนป่วย ด้วยโรคเรื้อรัง โรคสมองเสื่อม พาร์กินสัน มะเร็ง ก็คือ -ถามว่าพิสูจน์ได้อย่างไรว่าตายจากตัวนั้นตัวนี้? ความจริงตายจากทุกตัวรวมกันก็ยังได้ และยิ่งรุนแรงหนักขึ้นไปอีก เพราะสารเคมีพิษแล้วนี้ ออกฤทธิ์กันคนละตำแหน่งของกลไกในมนุษย์ และยิ่งเป็นการเสริมพิษ ซึ่งกันและกัน กลไกของมนุษย์นั้นมีทั้งเพื่อป้องกันบรรเทาพิษ และขับเคลื่อนพิษไปทำลายนอกจากนั้นมีกลไกในการช่วยกระพือให้พิษ ที่ได้รับไปนั้น ออกฤทธิ์รุนแรงขึ้น สารเคมีพิษเหล่านี้ เป็นปฏิปักษ์ต่อกลไกบรรเทาพิษ และส่งเสริมให้พิษแรงขึ้น สารเคมีพิษ ตั้งแต่ พาราควอท และสารฆ่าแมลง สามารถระบุกลไกเหล่านี้ได้ ทั้งนี้อยู่ในตำราทางการแพทย์ด้วยซ้ำตั้งแต่ปี 2012 - การได้พิษเหล่านี้เป็นเวลานานเป็นเดือนเป็นปีก็ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสะสมและเป็นกระบวนการและมีกลไกทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม พาร์กินสัน ได้หลายวิธีจากการที่ผ่านเข้าทางอาหารลงไปในลำไส้ จะกระตุ้นการสร้างโปรตีนที่สามารถเข้าสมองผ่านทางเส้นประสาทได้โดยตรง - จากการซึมเข้าทางเยื่อบุ ผิวหนังอ่อนและเข้าทางการหายใจ จะสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดและจากกลไกที่ทำให้เกิดการอักเสบจะเปิดผนังกั้นของหลอดเลือดในสมองและทะลุเข้าสมองได้โดยตรง - ดังนั้นกลไกพิษที่เกิดขึ้น จะเป็นได้ตั้งแต่การทำลายโดยตรงและการทำลายโดยอ้อมและในกรณีของโรคเรื้อรัง จะเป็นการกำหนดให้สมองมีการสร้างโปรตีนบิดเกรียวที่เป็นพิษต่อ - การศึกษาในประเทศไทยเองจากท่านศาสตราจารย์กวี รัตนบรรณกูล ยืนยันผลกระทบของสารเคมีฆ่าแมลงถ้าใช้มากกว่าหนึ่งตัวร่วมกันแม้แต่ละตัวจะมีปริมาณน้อยแต่พิษและผลกระทบที่ได้ จะรุนแรงมากกว่าการใช้แต่ละตัว ในประเทศไทยมีการอนุญาตให้ใช้สารเคมีฆ่าแมลงได้ 280 ชนิดและสามารถตรวจในอาหารพืชผักผลไม้ได้เพียง 10% และโดยปรกติไม่ได้ใช้สารเคมีฆ่าแมลงตัวเดียว นั่นก็คือถ้าตรวจแล้วว่าไม่พบไม่ได้หมายความว่าไม่มี - สารเคมีฆ่าแมลงเหล่านี้เมื่อทำการตรวจถึงแม้จะตรวจไม่ได้ครบ 280 ชนิดคือตรวจหาได้ประมาณ 50% ยังพบว่าตัวยาพืชผักผลไม้มีสารเคมีฆ่าแมลงมากกว่าครึ่ง และไม่ว่าล้างด้วยวิธีใดไก็ตามสามารถล้างออกได้เพียง 30 ถึง 60% เท่านั้น