ประเทศไทย ประสบปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำทะเล จากการทำประมงเกินกำลังการผลิตและการทำประมงที่ผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing (Illegal Unreported and Unregulated Fishing) อีกทั้งในประกาศแจ้งเตือนของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป เห็นว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน UNCLOS ๑๙๘๒ รวมทั้งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกของ TheIndianOceanTunaCommission(IOTC)ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีในการปรับปรุงกฎหมายให้มีความชัดเจนในประเด็น ดังต่อไปนี้
(๑) ขอบเขตและวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กฎหมาย ยังขาดความชัดเจนเกี่ยวกับการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) และไม่มีการกำหนดการทำการประมงอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรง
(๒) ขอบเขตของกฎหมายมุ่งเน้นเฉพาะการกระทำความผิดในเขตน่านน้ำไทยและเขตเศรฐกิจจำเพาะ ยังขาดการบังคับใช้กับการกระทำความผิดกับเรือที่ไม่มีสัญชาติไทย เรือไร้สัญชาติ และการกระทำความผิดของคนสัญชาติไทยที่ไม่ได้ใช้เรือประมงไทยแต่มีส่วนร่วม สนับสนุน หรือได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการกระทำความผิด โดยเฉพาะกรณีที่การการทำความผิดเกิดในน่านน้ำสากลหรือในทะเลหลวง
(๓) มาตรการอนุรักษ์และบำรุงรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำ ยังขาดการนำหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการกำหนดมาตรการบริหารจัดการตามที่กำหนดไว้ใน Article ๖๑ ถึง ๖๔ ของ UNCLOS ๑๙๘๒ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี และยังขาดมาตรการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลหลวง ตามที่กำหนดไว้ใน Article ๑๑๖ ถึง Article ๑๑๙ ของ UNCLOS ๑๙๘๒
(๔) กรอบกฎหมายในการกำหนดมาตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำการประมงยังขาดความชัดเจนและไม่เพียงพอที่จะป้องกัน ระงับ และยับยั้งการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(๕) ขาดระบบการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อสร้างความมั่นใจว่าการทำการประมงตั้งแต่การจับปลาจนไปถึงผู้บริโภคได้มาจากการทำการประมงที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๖) บทกำหนดโทษยังไม่ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงในการกระทำความผิดและไม่สอดคล้องกับ Article ๗๓ ของ UNCLOS ๑๙๘๒
(๗) ยังขาดกลไกในการให้ความร่วมมือกับรัฐอื่นและองค์กรจัดการประมงระดับอนุภูมิภาคหรือระดับภูมิภาคตามที่กำหนดไว้ใน Article ๖๒ Article ๖๓ Article ๑๑๖ และ Article ๑๑๗ ของ UNCLOS ๑๙๘๒
ที่ผ่านมารัฐบาลไทยภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหาการประมง IUU ของไทยเป็นวาระแห่งชาติ และดำเนินการปฏิรูปการประมงในทุกมิติ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2558 เป็นต้นมา ปรากฎเป็นรูปธรรมที่แสดงถึงพัฒนาการของไทยที่ผ่านมาโดย รัฐบาลไทยจัดตั้ง “ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย” หรือ ศปมผ. เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการแก้ปัญหา ออกพระราชกำหนดการประมงที่มีความทันสมัยและสอดคล้องกับกฎระเบียบระหว่างประเทศสำรวจกองเรือประมงและทบทวนการอนุญาตทำการประมงทั้งระบบ รวมถึงเริ่มจัดทำและใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติ หรือNPOA-IUU และแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย หรือ FMP (Marine Fisheries M และมาตราการอื่นๆ
โดยในการนี้รัฐบาลไทยได้มีการแก้ไขปัญหา การพัฒนาปรับปรุง อย่างเป็นระบบ และอย่างมีประสิทธิภาพ ตามกฎ ระเบียบ และกติกาสากล โดยมีทั้งหมด 6 ด้าน
ด้านแรก – กรอบกฎหมาย ด้านที่สอง – การบริหารจัดการประมง ด้านที่สาม – ด้านการบริหารจัดการกองเรือ ด้านที่สี่ - การติดตาม ควบคุมและเฝ้าระวัง ด้านที่ห้า – การตรวจสอบย้อนกลับ ด้านที่หก – การบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งทั้ง 6 ด้าน ประเทศไทยได้มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU) จนมีผลเป็นรูปธรรมอย่างครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน ซึ่งไทยสามารถแสดงความรับผิดชอบและบทบาททั้งในฐานะรัฐเจ้าของธง รัฐชายฝั่ง รัฐเจ้าของท่า และรัฐตลาด ในระดับมาตราฐานสากล ส่งผลให้สหภาพยุโรปปลดใบเหลืองให้ไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จที่ไทยได้ยกระดับของการทำประมงเชิงพานิชย์ทั้งในและนอกน่านน้ำ เข้าสู่มาตราฐานสากลซึ่งเป้าหมายหลัก
โดย ต้องการให้ประมงพื้นบ้าน ยังคงสามารถมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ไม่ได้รับผลกระมงหรือเดือดร้อน ส่วนประมงพานิชย์ ก็มีการจัดระบบ เข้าสู่มาตรฐานสากล ที่นานาชาติให้การยอมรับ ซึ่งสิ่งที่จะสานต่อคือการรณรงค์ให้มีการทำประมงแบบยั่งยืน และจากผลการประชุมเมื่อเดือนเมษายน 62 ที่ผ่านมา กรมประมงได้จัดการประชุม The ASEAN Meeting on Combating IUU Fishing in Partnership with the EU มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน องค์กรระหว่างประเทศด้านการประมง และผู้แทนจากสหภาพยุโรป (อียู) 70 ราย หารือพร้อมทั้งเร่งผลักดันการจัดตั้ง ASEAN IUU Fishing Task Force เพื่อแสดงถึงจุดยืนร่วมกันที่จะมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายให้หมดไปจากภูมิภาค
นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาเครื่องมือ ระบบ เทคโนโลยีในการสืบสวนสอบสวน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งการดำเนินการของ Task Force จะสามารถพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพในการติดตามควบคุมและเฝ้าระวังการกระทำผิด IUU ให้แก่หน่วยงานประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อพัฒนาการต่อต้านการประมง IUU ในประเทศและในภูมิภาค
ในประเด็นแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายให้หมดไปจากภูมิภาคทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมประมงได้ปฏิบัติการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผบช.กมค./ประธานอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ศูนย์บัญชาการการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ได้ลงพื้นที่พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจชุด SAT (Spacial Arrest Team) ปฏิบัติการร่วมกับกรมประมงในการจับกุมเรือประมงที่กระทำความผิดจำนวน 96 ลำ ที่จังหวัดระนอง
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ เปิดเผยว่า ตามนโนบายของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ติดตามกำกับดูแลเกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมาย และโดยการสั่งการของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้เข้มงวดกวดขันการทำประมงผิดกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับจุดยืนของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายให้หมดไปจากภูมิภาค ประกอบกับมีการร้องเรียนจากชาวประมง ว่ามีการลักลอบนพสัตว์น้ำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย ทำให้กระทบต่อราคาสินค้าสัตว์น้ำในประเทศไทย ตนในฐานะเป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ได้ดำเนินการร่วมกับกรมประมงในการตรวจสอบติดตามและบังคับใช้กฎหมายการทำประมงผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
โดยระหว่างเดือน มิถุนายน-.กรกฎาคม 62 ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจชุด SAT (Spacial Arrest Team) พร้อมเจ้าหน้าที่กรมประมง ประกอบด้วย เรือตรวจกรมประมงและเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์น้ำระนอง หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะสุรินทร์ พังงา ร่วมกันจับกุมผู้ต้องหาที่ทำการประมงผิดกฎหมายที่จังหวัดระนองได้สามารถแบ่งกลุ่มประเภทการกระทำความผิดได้ เป็น 2 กลุ่มดังนี้
เรือกลุ่มที่ 1 จำนวน 7 ลำ ในพื้นที่จ.ระนอง ความผิดฐานปลอมแปลงปิดบังหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายประจ้าเรือประมง หรือทะเบียนเรือประมง อันเป็นความผิดตาม พระราชกำหนดประมง พ.ศ.2558 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มาตรา 165 และฐานร่วมกันน้าเข้าสัตว์น้าหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ อันเป็นความผิดตาม พระราชกำหนดการประมงฯ มาตรา 92 มาตรา 95 และมาตรา 96 ประกอบมาตรา 158 ลงโทษปรับห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่นำเข้า สถานที่เกิดเหตุบริเวณแพ พี เจ ที่อยู่ 92/20 หมู่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2562 เวลาประมาณ 19.10 น.และควบคุมตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลางนำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองระนอง ดำเนินคดีตามกฎหมาย
เรือกลุ่มที่ 2 จำนวน 89 ลำ ซึ่งกักและล็อคไว้ ณ ท่าเทียบเรือต่างๆ จว.ระนอง (ตาม พรก.การประมงฯ มาตรา 95 และ มาตรา 105(2) คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 22/2560 ข้อ 22)
ดำเนินคดีในข้อหา “เป็นผู้ควบคุมเรือลักลอบนำเรือประมงต่างประเทศเข้ามาในน่านน้ำไทยและเข้าเทียบท่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมประมง” (เป็นความผิดตาม พรบ.การเดินเรือฯ มาตรา 17 และมีโทษตาม ม.24 ประกอบประกาศกรมเจ้าท่า ฉบับที่ 51 /2561 ลง 19 มี.ค. 2561 ข้อ 9 และข้อ 11 ประกอบประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2560 ลง 9 พ.ย. 2560)
ล่าสุดปรากฎผลการดำเนินคดี ดังนี้ สภ.เมืองระนอง ข้อหา นำเข้าสัตว์น้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวน 3 คดี (ผิดตาม พรก.การประมงฯ ม.92 อัตราโทษตาม ม.158 ปรับ 5 เท่าตามมูลค่าสัตว์น้ำ ที่นำเข้า ) สั่งฟ้อง ส่งอัยการแล้วทุกคดี ข้อหา ลักลอบนำเรือประมง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 38 คดี ( ผิดตาม พรบ.การเดินเรือฯ ม.17 ,24 ประกอบประกาศกรมเจ้าท่าที่ 51/61 และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2560) เปรียบเทียบปรับผู้ควบคุมเรือ โดยเจ้าท่า ลำละ 5000 บาท ทุกคดี สภ.ปากน้ำ ระนอง ข้อหา นำเข้าสัตว์น้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 1 คดี (ผิดตาม พรก.การประมงฯ ม.92 อัตราโทษตาม ม.158 ปรับ 5 เท่าตามมูลค่าสัตว์น้ำ ที่นำเข้า)สั่งฟ้อง ส่งอัยการแล้ว ข้อหา ปิดบังเครื่องหมายประจำเรือประมงหรือทะเบียนเรือประมง จำนวน 5 คดี (ผิดตาม พรก.การประมงฯ ม.165 อัตราโทษปรับตามขนาดตันกรอสเรือ สูงสุด 30 ล้านบาท) นั้น
มีการแจ้งข้อหาเพิ่มว่า “ลักลอบนำเรือประมง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต” ได้ทำการเปรียบเทียบผู้ควบคุมเรือโดยเจ้าท่า ลำละ 5000 บาท โดยยังกักเรือไว้ เพื่อดำเนินคดีในกรณีปิดบังทะเบียนเรือต่อไป ข้อหา ลักลอบนำเรือประมง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 49 คดี ( ผิดตาม พรบ.การเดินเรือฯ ม.17 ,24 ประกอบประกาศกรมเจ้าท่าที่ 51/61 และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2560) เปรียบเทียบปรับผู้ควบคุมเรือ โดยเจ้าท่า ลำละ 5000 บาท ทุกคดี กรมประมงไทย สอบถามข้อมูล 90 ลำ ที่ไม่มีทะเบียน ไปยังกรมประมงเมียนมาร์ นั้น ทางกรมประมงเมียนมาร์ แจ้งว่าเรือ 36 ลำ มี Licence เรือ 54 ลำ ไม่มี Licence และไม่มีในฐานข้อมูลกรมประมงเมียนมาร์ ทางกรมประมงไทย จึงสอบถามเพิ่มเติมว่า เรือทั้ง 54 ลำ ที่ระบุว่า Non Licence หมายถึง ไม่ได้จดทะเบียนหรือไม่มีใบอนุญาตทำการประมง หรือมีจดทะเบียน กับหน่วยงานอื่นๆหรือไม่ (รอทางการเมียนมาร์ยืนยันกำหนดการหารือกับกรมประมงไทย)
จากการปฏิบัติภารกิจกวาดล้างจับกุมการทำประมงผิดกฎหมายในครั้งนี้ พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผบช.กมค./ประธานอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ศูนย์บัญชาการการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ยังกล่าวด้วยว่า “ปฏิบัติการกวาดล้างจับกุมการทำประมงผิดกฎหมายแสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจและศักยภาพของประเทศไทยระหว่างดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน รวมทั้งแสดงจุดยืนของภูมิภาคอาเซียนที่จะปลอดการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Free) ให้หมดไปจากภูมิภาค” โดยที่ผ่านมาจากการเข้มงวดกวดขันของเจ้าหน้าที่ตำรวจและกรมประมงในการควบคุมการทำประมงผิดกฎหมายทำให้สถิติการเกิดคดีการทำประมงผิดกฎหมายมีการลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2559 มี 3,270 คดี ปี 2560 มี 958 คดี ปี 61 มี 574 คดี ปี 62 จนถึงปัจจุบัน 333 คดี
ล่าสุด จากการทำประมงผิดกฎหมาย เมื่อเดือน พ.ค.62 ที่ ผ่านมาศาลสั่งปรับเรือโชคชัยนาวี พร้อมยึดเรือสินค้าบนเรือ มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท นอกจากนั้นที่ผ่านไม่นานนี้มายังมีการบังคับใช้กฎหมายกับชาวประมงที่ลักลอบจับปลาโลมา ตามพระราชกำหนดประมง การปฏิบัติที่ต่อเนื่องและจริงจังแสดงให้เห็นถึงจุดยืนของไทยในการขจัดทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Free) ให้หมดไปจากภูมิภาค