พบพันธุ์ไม้ใหม่ของโลกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ขอพระราชทานนามว่า "สิรินธรวัลลี" ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก ส่วนส่งเสริมการปลูกป่า ส่วนโครงการพระราชดำริ สำนักจัดการทรัพยากรปาไม้ที่ 6(อุดรธานี) กรมป่าไม้ ว่า ได้มีการค้นพบพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ โดย ดร.ชวลิต นิยมธรรมและคณะ เมื่อปี พ.ศ. 2538 และเมื่อผู้เชี่ยวชาญพรรณไม้ชาวเด็นมาร์ก ศาสตราจารย์ ไค ลาร์เซ่น (Kai Lasen) และ อาจารย์ สุพีร์ ศักดิ์สุวรรณ ลาร์เซ่น ภรรยา ทำการตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก จึงขอพระราชทานอนุญาต ใช้พระนามาภิไธของ สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ใช้ขื่อ”สิรินธรวัลลี” เพื่อเทิดพระนามของพระองค์ท่าน โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์(Scientific Name)ว่า Bouhinia SIRINDHOMIAE K.&S.S. Lasen อันหมายถึงวัลยชาติแห่งองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ท่าน ที่ได้มีพระกรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย และฃาวจังหวัดบึงกาฬมาโดยตลอด เพราะปัจจุบันนี้ดอกของพืชชนิดดังกล่าวเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดบึงกาฬ มีชื่อวงศ์ว่า(Famaly) :LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า “สิรินธรวัลลี” หรือชื่อพื้นเมืองว่าสามสิบสองประดง พืชที่นักวิขาการพรรณไม้ค้นพบใหม่ของโลก “สิรินธรวัลลี” พบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ สำหรับต้นสิรินธรวัลี หรือ Bouhinia SIRINDHOMIAE K.&S.S. Lasen มีข้อมูลเผยแพร่ทางเอกสารว่า ค้นพบตามชายป่าดิบแล้งเขตพัรธุ์รักษาสัตว์ป่า ภูวัว จังหวัดบึงกาฬและบริเวณใกล้เคียงที่ระดับความสูง 150-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งยาว 10-20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง กิ่งแก่เกลี้ยง ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ถึงเกือบกลม กว้าง 4+17 ซ.ม. ยาว 5-18 ซ.ม. ปลายใบแหลมและแยกเป็น 2 พู เว้าลึกเกือบถึงโคนใบ ฐานใบเว้ารูปหัวใจ ปลายใบพูมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กน้อย มีขนมากบริเวณเส้นกลางใบ มีดอกสีน้ำตาลแดง ออกดอกเป็นช่อกระจุกซ้อนที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก มีขนสีน้ำตาลแดง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกัน ปลายแยก ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ผิวนอกมีขนหนาแน่น กลีบดอกสีเหลืองอมส้มถึงแดง มี 5 กลีบ ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 3-5 ซ.ม.ยาว 15-18 ซ.ม. มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมหนาแน่น กลีบเลี้ยงติดแน่นที่โคนฝัก มีเมล็ดในฝัก 3-9 เมล็ด สีน้ำตาลดำ รูปกลมแบนขนาดเล็กออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม เป็นพืฃถิ่นเดียว และหายากของประเทศไทยพบตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและที่บริเวณป่าดิบแล้ง ของ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูวัว จ.บึงกาฬ เป็นพืชที่หายากทางนิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ ปัจจุบันนี้กลายเป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นของจังหวัดบึงกาฬ